แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา

ทำความเข้าใจกับ ภาวะสมองเสื่อม จาก “แรงอาฆาต” และ “ความทรงจำของวันพรุ่งนี้”

หากหลายคนมองว่า “โรคอัลไซเมอร์” หรือ ภาวะสมองเสื่อม คือโรคที่ทำให้เกิดความโรแมนติกได้ ในอีกทางหนึ่งโรคอัลไซเมอร์ก็สามารถทำให้คุณเป็นคนอื่น จำใครไม่ได้ รวมทั้งจำเหตุการณ์อะไรไม่ได้เลยเช่นกัน

ในนวนิยายหลายเล่มหยิบโรคอัลไซเมอร์มาบอกเล่าผ่านตัวละครในรูปแบบต่าง ๆ เช่นเรื่อง “แรงอาฆาต” นำเอา ภาวะสมองเสื่อม มาเป็นตัวตั้งคำถามว่าสรุปแล้วมายูโกะ เธอใช่ฆาตกรจริง ๆ หรือไม่

และเรื่องที่ทำให้หลายคนเสียน้ำตาทั้งเวอร์ชั่นภาพยนตร์และเวอร์ชั่นนวนิยายคือเรื่อง “ความทรงจำของวันพรุ่งนี้” ก็นำเอาโรคอัลไซเมอร์มาพูดถึงในแง่ของผู้ป่วยที่อายุ 50 ปี ที่ไม่ได้ต้องการให้ตัวเองเป็นโรคแบบนี้เลย

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร ?

จากบทความของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า โรคอัลไซเมอร์เป็นส่วนหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยโรคนี้จะส่งผลทางสมองโดยตรง ทำให้เกิดการบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งความจำ การวางแผน การตัดสินใจ การรับรู้รูปทรง สมาธิ ความสามารถในการเข้าสังคม

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง หรือเรียกว่าการฝ่อ ทำให้เกิดการกระทบกับการทำงานของสมอง ยกตัวอย่างเช่น อาการหลงลืม อาการถามซ้ำ ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำอะไรได้ และไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เช่นกัน

หากผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการจำเส้นทางไม่ได้ แม้จะเป็นเส้นทางในชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีปัญหาด้านอารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโห ประสาทหลอน เป็นต้น

ผู้ป่วยรู้ตัวหรือไม่ว่าตัวเองเป็นโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากสภาวะทางสมอง ทำให้ผู้ป่วยไม่อาจทราบได้ว่าตนเองเป็นอะไร รวมถึงพฤติกรรมอื่น ๆ  ในการใช้ชีวิตอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเข้าห้องน้ำ การเคี้ยวข้าว จนถึงการอ่านหนังสือ

ความทรงจำของวันพรุ่งนี้

ความทรงจำของวันพรุ่งนี้
ความทรงจำของวันพรุ่งนี้

            นวนิยายที่พูดถึง มาซายูกิ ชายอายุ 50 ที่พึ่งครบรอบการแต่งงาน 25 ปีและความยินดีที่ตัวเองกำลังจะได้อุ้มหลานที่เกิดจากลูกสาวของเขา มาซายูกิเริ่มมีอาการหลงลืม หลังจากนั้นเขาก็เริ่มเข้าใจถึงคำว่าโรคอัลไซเมอร์ที่กำลังกัดกินสมองของเขา แต่ในความเจ็บปวดหลังจากรู้ว่าตนเองกำลังจะต้องลืมคนรอบข้างตัวเองไปช้า ๆ เขาที่พยายามกอดความทรงจำเหล่านั้นไว้อย่างหวงแหน ที่สุดท้ายแล้วก็เป็นตัวเขาเองที่ปล่อยมือโดยลืมว่าสิ่งที่เขาคอยดูแลรักษานั้นคืออะไร

แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา

แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา
แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา

            คาชิฮาระ มายูโกะ ผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งว่าตัวเธอนั้นเป็นฆาตกร เพราะเธอได้โทรศัพท์แจ้งตำรวจเองว่าเธอได้ทำการฆ่าคน ซึ่งคนที่เธอฆ่านั้นคือชายผิวขาวซีด ดวงตาเรียวรี ริมฝีปากคล้ำ พร้อมสวมแว่นตาสีเงินอยู่ แต่เธอที่นอนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาลนั้นมีอาการสับสน เพราะเธอรู้อยู่แก่ใจว่าตัวเองในตอนนี้นั้นมีภาวะสมองเสื่อมอยู่ เพราะเหตุการณ์ที่เธอหนีตายจนประสบอุบัติเหตุ แม้ความทรงจำนั้นจะมา ๆ หาย ๆ แต่ความแค้นที่อยู่ในใจเธอนั้นก็เต็มเปี่ยมเสมอ
           แต่นั่นไม่ได้การันตีว่า เธอจะไม่ฆ่าชายสวมแว่นคนนี้ หรือเธอจะเป็นคนฆ่าจริง ๆ แล้วหากว่าเธอไม่ได้ฆ่า ใครคือผู้จัดฉาก ?

จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งสองเรื่อง ทำให้เห็นถึงด้านร้ายของโรคอัลไซเมอร์ว่ามันส่งผลอย่างไรกับผู้ป่วย และหากว่าผู้ป่วยนั้นไม่รู้ตัว จะส่งผลในแง่ไหน ทั้งจำคนในครอบครัวไม่ได้ ทั้งจำไม่ได้ว่าตนเองกำลังทำอะไร ภาวะบกพร่องทางสมองนี้ มันไม่ได้สวยงามและโรแมนติกจนสามารถเขียนเรื่องราวสุดซึ้งกินใจได้เสมอ

ความดาบสองคมของโรคภัย ที่ถูกนำเสนอออกมาแต่ละครั้งนั้น ทำให้เราเข้าใจโรคร้ายต่าง ๆ มากขึ้น หากเราเป็นคนที่ต้องดูแลคนป่วย เราจะสามารถดูแลเขาได้เต็มที่ หรือสามารถที่จะซัพพอร์ตทางอารมณ์เขาได้จริงหรือ และผู้ป่วยเองก็ทนทุกข์ทรมาณกับอาการป่วยของตัวเองมากแค่ไหน คุณสามารถหยิบ “แรงอาฆาต” และ “ความทรงจำของวันพรุ่งนี้” ขึ้นมาอ่านได้เลย

และหากคุณยังไม่มีทั้งสองเล่มสามารถเลือกซื้อได้ที่นี่

แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา
ผู้เขียน : อากิโยชิ ริคาโกะ
ผู้แปล : ฉวีวงศ์ อัศวเสนา

แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา
แรงอาฆาตจากกระจกไร้เงา

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

ความทรงจำของวันพรุ่งนี้
ผู้เขียน : โอกิวาระ ฮิโรชิ
ผู้แปล : หนึ่งฤทัย ปราดเปรียว

ความทรงจำของวันพรุ่งนี้
ความทรงจำของวันพรุ่งนี้

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า