“เมื่อปราศจากฟีดแบ็ก พนักงานย่อมขาดความสามารถ ส่วนหัวหน้าก็จะกลายเป็นเผด็จการ !” นี่คือพลังของฟีดแบ็กที่หลายคนไม่รู้ เพราะมักคิดว่าการให้หรือได้รับฟีดแบ็ก ต้องเป็นเรื่องแง่ลบเสมอ แต่จริง ๆ แล้ว ฟีดแบ็กเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันศักยภาพคนทำงานให้พัฒนาได้ง่าย ๆ เราไปดูกันว่า “พลังของฟีดแบ็กมีดีกว่าที่คุณคิด !” มากแค่ไหนกัน
คนทำงานต้องรู้ว่าสถานะของตัวเองเป็นอย่างไร
คนทำงานจำเป็นต้องรู้ว่าสถานะของตัวเองเป็นอย่างไร เพื่อชดเชยข้อบกพร่องในปัจจุบันและปรับปรุงประสิทธิภาพในอนาคต ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เพราะอย่างนี้นี่เอง หลายคนจึงไม่สามารถรับรู้ความจริงข้อนี้ได้ และปัญหาก็เริ่มต้นจากตรงนี้
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อปรับปรุงผลงานคือ การระบุรูปแบบพฤติกรรมที่คุณแสดงออกมาจนถึงตอนนี้อย่างถูกต้องแม่นยำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอะไรและต้องทำอย่างไรหากไม่รู้รูปแบบพฤติกรรมในปัจจุบันของตัวเอง จริง ๆ แล้วมีหลายครั้งที่คนรอบตัวที่เฝ้าจับตาดูเราอยู่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของเราได้ถูกต้อง ในขณะที่เรากลับไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองดี เพราะการวิเคราะห์และประเมินตัวเองจากมุมมองของผู้อื่นเป็นเรื่องยากนั่นเอง
ลองถามคนที่ทำงานใกล้ชิดกับคุณที่สุดว่า พฤติกรรมใดของคุณที่พวกเขาคิดว่ามีอิทธิพลมากที่สุดต่อการทำผลงาน แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่า เพื่อนร่วมงานจะเข้าใจพฤติกรรมของคุณชัดเจนกว่าตัวคุณเอง เพราะนอกจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมของตัวเองจะขาดความเป็นกลางแล้ว เมื่อถูกงานไล่ล่าทุกวัน เราก็ไม่ค่อยมีเวลานึกถึงพฤติกรรมตัวเองนัก
การสังเกตและการจดบันทึก คือทักษะหลักในการให้ฟีดแบ็ก
การสังเกตเป็นนิสัยที่นักธุรกิจที่เป็นผู้นำแห่งยุคมีเหมือน ๆ กัน แม้แต่อัจฉริยะในด้านต่างๆ เช่น สตีฟ จ็อบส์ ผู้มีพรสวรรค์อันยอดเยี่ยมในการมองเห็นถึงแก่นแท้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเกตอย่างจริงจัง และลีโอนาร์โด ดาวินชี ผู้ใช้ดวงตาแห่งจินตนาการมองลึกลงไปกว่าสิ่งที่ตามองเห็น การสังเกตคือพลังที่สร้างความแตกต่างแม้จะมองเห็นสิ่งเดียวกัน
ดร.อีแจย็อง ผู้เขียนหนังสือ ความลับของการจดบันทึกที่นำไปสู่ความยอดเยี่ยม ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจาก สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี (KIST) สาขาวิศวกรรมอะตอม และปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮันดง อาจารย์บอกว่า พอได้ลองคิดดูว่า “คนที่ความจำไม่ค่อยดีและไม่ค่อยมีความตั้งใจจริงจะต้องทำอย่างไร ถึงจะใช้ชีวิตที่ดีกว่าปกติได้นะ” ก็ทำให้อยากรู้ว่าเคล็ดลับของคนที่ประสบความสำเร็จที่โดดเด่นในสาขาใดสาขาหนึ่งคืออะไรกัน เคล็ดลับสู่ความเป็นเลิศที่อาจารย์อีแจย็องค้นพบผ่านการวิจัยต่างๆ ก็คือ “การจดบันทึกโน้ตและความคิดของตัวเอง”
ฟีดแบ็กเริ่มต้นจากการสังเกตพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียดแล้วจดบันทึก ถ้าไม่มีการสังเกตหรือการจดบันทึก แล้วจะให้ฟีดแบ็กเกี่ยวกับอะไร ถ้าคุณให้ฟีดแบ็กแต่เรื่องที่เกี่ยวกับผลงานหรือผลลัพธ์ของพนักงาน ก็ไม่ต่างจากโค้ชที่เวลาปกติไม่เคยโผล่หน้าไปที่สนามซ้อมเลย แต่ใช้ผลแพ้ชนะในการโทษนักกีฬาที่สนามแข่ง
การไม่ให้ฟีดแบ็ก คือต่นเหตุของการปฏิบัติงานที่ไม่สมบูรณ์
ผู้คนคิดว่าการที่พนักงานปฏิบัติงานไม่สมบูรณ์และไม่เป็นมืออาชีพ เป็นผลมาจากข้อจำกัดโดยกำเนิดของแต่ละบุคคล ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบุคคลนั้น ๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนั่นไม่ใช่ต้นเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว เพราะหลายครั้งที่ต้นเหตุมาจากการไม่ได้รับฟีดแบ็กใด ๆ จากหัวหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็ไม่ต่างอะไรกับการล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นผู้นำ
การแยกแยะปัญหาเกี่ยวกับความสามารถส่วนบุคคลกับความรู้และทักษะเป็นเรื่องสำคัญมาก ความสามารถในการทำความเข้าใจว่า ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เพื่อจะให้ฟีดแบ็กที่มีประสิทธิภาพก็ยิ่งสำคัญ
องค์กรคาดหวังการพัฒนาความสามารถของพนักงาน และส่วนใหญ่ก็กลายเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้า จึงต้องใช้ฟีดแบ็กให้เป็นประโยชน์ หัวหน้าที่ไม่ให้ฟีดแบ็กแก่พนักงานก็เหมือนผู้จัดการที่บริหารจัดการนักกีฬาโดยไม่พยายามปรับปรุงทีมให้ดีขึ้น จำไว้ว่า ความสามารถในการแข่งขันของบุคคลหรือทีมนั้นบรรลุถึงขั้นสูงสุดได้ด้วยฟีดแบ็กจากโค้ชหรือผู้จัดการทีม
พลังของฟีดแบ็กมีดีกว่าที่คุณคิด !
หนังสือ คนเก่งให้ FEEDBACK ที่แตกต่าง
เขียนโดย คิมซังบอม,โชยุนโฮ และฮาจูยอง
วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
หรือสั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่น ๆ