ระบบชนชั้นใหม่ของ USA ยุคโควิค เป็นเศรษฐีคือเรื่องยาก !

ปัจจัยของความสำเร็จในอเมริกายุคโควิด ไม่ใช่ความสามารถ ไม่ใช่การทำงานหนัก ไม่ใช่โชค แต่กลับเป็น “จำนวนเงินที่พ่อแม่มี” มารู้จักระบบชนชั้นในอเมริกายุคนี้ ที่แม้หลายคนจะมองว่าอเมริกาคือประเทศมหาอำนาจ เจริญรุ่งเรือง แต่ทำไมการศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่ากลับพบว่า คนอเมริกันอายุสั้นลง อิสระน้อยลง และไม่มีความสุขใน ระบบชนชั้นใหม่ของ USA ยุคโควิค เป็นเศรษฐีคือเรื่องยาก !

ดิสนีย์แลนด์ส่วนตัว

ความเหลื่อมล้ำหยั่งรากลึกอยู่ในหลักเกณฑ์การเสียภาษี ระบบการศึกษา และบริการสาธารณะที่เลวร้าย ตอนนี้พวกมันกำลังฝังตัวลงในวัฒนธรรมของเรา เมื่อก่อน ชาวอเมริกันต่างเคยสัมผัสดิสนีย์แลนด์เดียวกัน เราทุกคนสามารถซื้อตั๋วที่ดีที่สุด ในราคา 9.5 เหรียญสหรัฐ และเข้าแถวรอ 45 นาทีเพื่อเล่นไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน แต่ในตอนนี้สิทธิพิเศษต่าง ๆ ก็จะแตกต่างไปตามราคาตั๋วที่คุณจ่าย สำหรับคนที่ไม่มีเงินมากนัก ก็จะคิดราคานึง ได้กินอาหารธรรมดา ๆ เข้าแถวรอคิวนาน แต่ถ้าคุณรวยกว่านั้นหน่อยคุณจะได้ Fast Pass ที่เข้าคิวรอแค่สิบนาที หรือถ้ารวยกว่านั้นอีก คุณจะได้รับบริการแบบวีไอพี จัดเต็มทั้งไกด์นำเที่ยว อาหารในห้องพิเศษ ได้เข้าหลังเวที ลัดคิวเล่นเครื่องเล่น และผ่านเข้าออกโดยทางของพนักงานด้วย

ว่าด้วยการศึกษา

จากที่ดิสนีย์แลนด์ได้นำระบบชนชั้นมาใช้ ให้คุณลองแทนที่คำว่า “ดิสนีย์แลนด์” ด้วย “วิทยาลัย” ดู แล้วจะพบว่ามันคือเรื่องเดียวกัน… การศึกษาระดับอุดมศึกษาควรจะเป็นเครื่องยกระดับฐานะชั้นเยี่ยม เป็นยาแก้พิษการแบ่งแยกชนชั้นที่เกิดจากระบบทุนนิยม แต่การศึกษาระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นสำหรับความคล่องตัวในการยกระดับ ไปเป็น “สิ่งที่สนับสนุน” ให้เกิดระบบชนชั้นขึ้นแทน เพราะค่านิยมของสังคมอเมริกาคือลูกต้องได้เรียน การเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ถ้าไม่ได้เรียนหรือเรียนมาน้อยโอกาสในชีวิตก็จะน้อยตามลงไป แน่นอนว่าสังคมที่ร่ำรวยก็ทำให้คนรุ่นต่อไปก้าวไปข้างหน้าได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เหมือนอภิสิทธิ์ชนของพวกวีไอพีที่ได้เข้าเล่นไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียนซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้ต่อกี่รอบ

สิทธิพิเศษด้านความมั่นคง

เราต่างมองไม่เห็นว่าภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ลึกแค่ไหนเพราะเราเชื่อในตำนานเกี่ยวกับอเมริกาที่ว่า ความสามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จ เราวางมหาเศรษฐีไว้บนแท่นบูชา แล้วทำให้ความมั่งคั่งเป็นเครื่องบ่งบอกคุณค่า ซึ่งต้องตอบแทนด้วยความมั่งคั่งยิ่งขึ้นไปอีก อย่าอาศัยคนร่ำรวยให้หยุดกระแสนี้เลย เราชอบฟังเวลาคนพูดว่า ความสำเร็จของเราเป็นผลมาจากอัจฉริยภาพของเราเอง แต่ประสบการของแกลโลเวย์ (ผู้เขียน) ได้บอกว่า ถ้าคุณบอกคนอายุสามสิบกว่าหรือสี่สิบกว่าปีที่สวมเสื้อคอเต่าสีดำว่าพวกเขาคือ สตีฟ จ็อบส์ พวกเขามีแนวโน้มจะเชื่อคุณ

การ์ตูนล้อเลียน

มีการ์ตูนล้อเลียนกรอบหนึ่งบอกว่า คนที่รวยมากส่วนใหญ่มักเป็นคนเลว ซึ่งไม่ถูกต้องนัก คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีบางสิ่งที่คล้ายกัน นั่นคือความกล้าหาญ โชค พรสวรรค์ และความอดทนต่อความเสี่ยง แน่นอนว่าการเป็นลูกคนรวยก็เกี่ยว แต่โดยทั่วไปคนกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มคนที่ทำงานหนักที่สุดไม่ว่าจะเป็นในภาคธุรกิจใดก็เป็นไปได้ พวกเขาได้รับผลตอบแทนมากกว่า จึงมีแรงจูงใจมากขึ้น แต่สิ่งที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้หากคุณกำลังวางแผนที่จะเป็นมหาเศรษฐี (และคุณไม่มีพ่อแม่เป็นมหาเศรษฐี) คือคุณควรวางแผนที่จะทำงานต่อเนื่องไปอีก 30 ปี…

ยิ่งเรามีความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจมากเท่าไร เราก็ยิ่งเชื่อว่าคนเราแตกต่างกันโดยพื้นฐานมากเท่านั้น พฤติกรรมต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นว่าคนรวยมีคุณค่า ถูกวางไว้บนแท่นบูชา และคนอื่น ๆ ที่เหลือก็จะถูกเบียดตกออกไปอย่างเต็มใจ ด้วยความรู้สึกว่านี่คือความผิดของฉันเองที่จน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ “เราต้องมีรัฐบาลที่เข็มแข็ง” เพื่อต้านทานธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อถ่วงดุลการคิดเร็วและความเห็นแก่ตัวของเราด้วยการทำให้เราคิดช้า ๆ และคิดเพื่อชุมชนมากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องทำให้คนรวยเป็นบุคคลตัวอย่างเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เราประสบความสำเร็จ ความมั่งคั่งและความสำเร็จเป็นแรงจูงใจที่เพียงพออยู่แล้ว

องค์กรก็เป็นคน (รวย) เช่นกัน

หลักเกณฑ์การเสียภาษีเอื้อประโยชน์ให้กับชนชั้นผู้ถือหุ้น เรื่องนี้สำคัญอย่างไร สำคัญก็เพราะการสมรู้ร่วมคิดนี้ทำให้นวัตกรรมและตำแหน่งงานลดลง บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ไม่ถูกคุกคามโดยการแข่งขันที่จริงจัง และมีเงินทุนต้นทุนต่ำให้ใช้แทบไม่มีวันหมด แถมพวกเขายังเพลิดเพลินกับการใช้อำนาจของล้อตุนกำลังเพื่อสร้างความได้เปรียบในอุตสาหกรรมใดก็ตามที่พวกเขาสยายปีกเข้าไป บริษัทเหล่านี้จึงไม่เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แต่เห็นว่ามีโอกาสทำกำไรมหาศาลได้มากกว่าจากการหาทางเอารัดเอาเปรียบ

ระบบชนชั้นใหม่ของ USA ยุคโควิค เป็นเศรษฐีคือเรื่องยาก !

หนังสือ POST CORONA โอกาสของชีวิตและธุรกิจเมื่อโควิดเปลี่ยนทุกสิ่ง

เขียนโดย สก็อตต์ แกลโลเวย์ ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลแห่งยุค

หนังสือที่ อ. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แนะนำให้อ่าน

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ

หรือสั่งซื้อออนไลน์ คลิก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า