รู้จักโรคสมาธิสั้นในวัยเด็กและวิธีการรักษา

เด็ก สมาธิสั้น มีปัญหาเรื่อง สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น และอยู่ไม่นิ่ง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เด็กไฮเปอร์แอ๊คทีฟ หากเด็กๆ ที่บ้านมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ก็เข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น แต่ไม่ต้องตกใจไป โรคสมาธิสั้นในวัยเด็กมีวิธีการรักษา แต่ต้องเริ่มจากสภาพแวดล้อมรอบตัวของเด็กก่อน

 

นักฝึกพูด (Speech Therapist) มีความเห็นว่าเด็กไฮเปอร์แอ๊คทีฟต้องการวิธีเรียนรู้แบบพิเศษ เขาจะต้องวิ่งบ้างถึงจะเรียนรู้ได้ นักจิตวิทยาบางสำนักบอกว่าเด็กไฮเปอร์แอ๊คทีฟเรียนรู้ด้วยการวิ่งรอบๆ สิ่งที่เขาอยากจะเรียนรู้ ถ้าหยุดนิ่งเมื่อไหร่ เขาจะเรียนไม่ได้

 

หรือถ้าเราสามารถเปิดโอกาสให้เขาเรียนรู้ในแบบที่เขาต้องการหรือถนัดได้ เขาจะสามารถเรียนรู้และไปต่อได้ หรือที่เรียกว่า การศึกษาที่เน้นเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” แต่ในห้องเรียนในบ้านเรามีนักเรียนจำนวนมาก 40-60 คน แต่ละห้องมีครูประจำชั้น 1-2 คนเท่านั้น จึงไม่สามารถจัดการศึกษาแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางได้

 

แต่หากโรงเรียนเปิดกว้าง อนุญาตให้เด็กไฮเปอร์แอ๊คทีฟวิ่งเล่นตามสบาย เรียนรู้และสำรวจได้ตามสบาย เด็กไฮเปอร์ที่ว่านี้อาจจะดูไม่ไฮเปอร์ก็ได้ กลายเป็นเด็กซนธรรมดาๆ จากไฮเปอร์มาก ก็กลายเป็นไฮเปอร์น้อย จากไฮเปอร์น้อยก็เหลือเพียงแค่ซนเท่านั้น

 

เด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

เด็กสมาธิสั้นมักมาพบแพทย์เมื่ออายุประมาณ 6-12 ปีด้วยกลุ่มอาการ 3 กลุ่มคือ อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น พอเด็กอายุมากขึ้น อาการอยู่ไม่นิ่งมักจะดีขึ้นหรือหายไป หลงเหลือแต่อาการสมาธิสั้นและหุนหันพลันแล่น

 

 

อยู่ไม่นิ่ง คือ Hyperactivity หรือไฮเปอร์แอ๊คทีฟ

เด็กมักจะเคลื่อนไหวอยู่เสมอทั้งยาวตื่นหรือยามง่วง การเคลื่อนไหวอยู่เสมอของเด็กๆ จะไร้จุดหมายและก่อนความเสียหาย เมื่ออายุมากขึ้นอาการเหล่านี้จะลดลง เหลือแต่อาการกระสับกระส่าย นั่งไม่นิ่ง ขยับร่างกายและแขนขาบ่อยแม้จะนั่งอยู่เฉยๆ

 

อาการสมาธิสั้น คือ Attention Deficit

จะเห็นได้ชัดในสภาพแวดล้อมที่น่าเบื่อ มีเรื่องชวนว่อกแว่ก คำบรรยายของเด็กเหล่านี้คือ “ความจำไม่ดี วุ่นวาย ทำของหายประจำ เหม่อลอยตลอด ไม่เคยทำงานเสร็จเลย”

 

หุนหันพลันแล่น คือ Impulsivity

เด็กจะแสดงออกด้วยการส่งเสียงดังในห้องเรียน ไม่ยอมรอคิวของตัวเอง แทรกกลุ่มคนอื่น ไม่เล่นตามกติกา พฤติกรรมนี้ทำให้เด็กไม่มีเพื่อน บางครั้งถึงขั้นทะเลาะวิวาทกับเพื่อน

 

ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น

สมาธิสั้น

 

ไปพบแพทย์

ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็ก ซึ่งเป็นหมอที่หายาก คิวยาวเป็นเดือนเสียส่วนใหญ่ และให้เวลาซักถามได้ไม่จุใจ เมื่อถามแพทย์คนแรกแล้วแพทย์วินิจฉันว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น แล้วเราไม่เชื่อ เราก็มีสิทธิไปพบแพทย์คนที่สอง

 

ถ้าพบแพทย์คนที่สองแล้วพูดตรงกันกับแพทย์คนแรก ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเริ่มต้นรักษา แต่ถ้ายังไม่เชื่ออีกก็ลองหาแพทย์คนที่สามได้ แต่หากแพทย์คนที่สามพูดตรงกับสองคนแรกก็ต้องหยุดหาแล้วเริ่มต้นรักษาอย่างจริงจัง

 

กินยา

ยาที่แพทย์จัดมาให้จะเป็นยากลุ่มสารกระตุ้น ที่ช่วยให้เด็กสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมได้แม่นยำมากขึ้น ระแวดระวังดีขึ้น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าดีขึ้น ความจำระยะสั้นดีขึ้น และความสามารถในการเรียนดีขึ้น

 

ที่สำคัญคือ ทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเพิ่มขนาดของยาให้พอแต่ไม่เกิน

 

ด้านพฤติกรรมที่ก่อไปหา ยาจะทำให้ช่วยลดความหุนหันพลันแล่นลง ควบคุมตนเองได้มากขึ้น พฤติกรรมรุนแรงและไม่เชื่อฟังลดลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพ่อแม่ เพื่อน หรือคุณครูดีขึ้นด้วย

 

ปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่หรือคนเลี้ยงดู ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความอดทนสูง จุดประสงค์ของการปรับพฤติกรรมเด็ก คือ เพื่อลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น หุนหันพลันแล่น ไม่อยู่นิ่ง ดื้อ เอาแต่ใจ ขึ้นเสียง และขว้างปาข้าวของ

 

หลักการปรับพฤติกรรมคือ การให้รางวัล การเพิกเฉย และการทำโทษ เช่น เวลาที่ลูกทำอะไรเข้าท่าก็จงให้รางวัลทันที เด็กจะได้ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ รางวัลสามารถเป็นได้หลายแบบ ตั้งแต่คำชมเชย การกอด หรือขนม

 

การทำโทษ ไม่ควรลงโทษด้วยการใช้กำลัง แต่ให้พาเด็กออกจากสถานที่นั้นไปนั่งสงบอยู่ที่ไหนสักแห่ง รอเวลาให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ และหลังจากที่เด็กสงบลงแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับเด็กอย่างสั้นๆ กระชับ และตรงไปตรงมาด้วยน้ำเสียงเมตตา ให้เขารู้ว่าเราอนุญาตให้เขาทำอะไร และไม่อนุญาตให้ทำอะไร เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมนั่นเอง

 

ฝึกเข้าสังคม

เด็กสมาธิสั้นมักมีความรู้สึกลึกๆ ว่าไม่มีคนต้องการ ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นที่จะคบเพื่อน เข้าสังคม และเรียนรู้ทักษะสังคมต่างๆ นานา การสอนทักษะสังคมให้แก่เด็กสมาธิสั้นมักทำในเด็กโต เช่น มารยาทในการทักทาย สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ ทักษะการกล่าวคำชม ทักษะในการปฏิเสธ มารยาทในการชวนเพื่อนพูดคุย

 

โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ซ้อมพูดคุยกับตุ๊กตา หรือการจัดบทบาทสมมติ การเล่นละครเวที เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่จำเป็นแก่เด็กสมาธิสั้นและได้ประโยชน์มาก

 

ค้นหาคำตอบและศึกษาขั้นตอนดูแลรักษาโรค สมาธิสั้น

เพิ่มเติมได้ในหนังสือ ทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวเล็กสมาธิสั้น

เขียนโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่


บทความอื่นๆ 

ค้นหาพรสวรรค์ในตัวลูก เพื่ออาชีพที่ใช่ในอนาคต

EF คืออะไร ทำไม EF ถึงสำคัญกับลูก

เลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตดี ทำอย่างไร

ภาวะผู้นำสร้างได้ในวัยเด็ก มาเริ่มฝึกลูกน้อยได้ตั้งแต่วันนี้

เลี้ยงลูกให้ฉลาด ไม่สำคัญเท่ากับเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีความสุข

อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังแล้วได้อะไร?

7 เคล็ดลับเพื่อฝึกลูกน้อยให้รักการอ่าน

“เลี้ยงลูกด้วยนิทาน” ปูพื้นฐานพัฒนาการชีวิต 6 ด้าน

นิทานญี่ปุ่น ส่งเสริมนิสัยและความคิดเด็ก

1 thoughts on “รู้จักโรคสมาธิสั้นในวัยเด็กและวิธีการรักษา

  1. Pingback: เทคนิคเลือกหนังสือให้เหมาะกับลูกวัยทารก 6 - 12 เดือน เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า