ร้านขนมแห่งความลับ

5 ขนมสื่อความหมายจาก “ร้านขนมแห่งความลับ”

“ร้านขนมแห่งความลับ” นิยายสืบสวนสอบสวน ที่ไม่มีตำรวจ นักสืบ หรือเลือดสักหยดมีเพียงความหอมหวาน และการบรรยายรสชาติของขนมญี่ปุ่นยามเมื่ออยู่บนปลายลิ้น ที่แสนยั่วยวนคุณผู้อ่าน 

ร้านขนมแห่งความลับคือเรื่องราวของ อุเมโมโตะ เคียวโกะ (ชื่อเล่น อันจัง) เริ่มทำงานที่ร้านวากาชิ “มิตสึยะ” ในชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เธอเป็นเด็กสาวร่าง (ติดจะ) ท้วม วัยสิบแปดปี แต่ละวันของเธอรายล้อมไปด้วยผู้จัดการร้านและเพื่อนร่วมงานที่แม้จะเป็นมืออาชีพ แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่มีใคร
เหมือนร้านแห่งนี้ทำให้เธอเริ่มรู้ซึ้งถึงเสน่ห์ของวากาชิ (ขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม) ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและลูกเล่นต่างๆ รวมถึงความจริงอันคาดไม่ถึงที่ซุกซ่อนอยู่ในคำพูดและการกระทำมากปริศนาของคุณลูกค้าแต่ละคน นี่คือนิยายสืบสวนที่รับรองได้เลยว่าอ่านแล้วต้องเผลอตัววิ่งไปร้านขายขนมแน่นอน

คาบุโตะ
คาบุโตะ

ขนมคาบูโตะ

ที่นิยมทำเลียนแบบรูปร่างหมวกนักรบญี่ปุ่น วางจำหน่ายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อใช้ในพิธีฉลองวันเด็กผู้ชาย เริ่มตั้งแต่สมัยนารา ช่วง ค.ศ.710-784  จักรพรรดิญี่ปุ่นได้จัดงาน “พิธีฉลองรับขวัญเด็กผู้ชาย” เรียกว่า “ทังโกโนะเซคคุ”
รสชาติไม่หวานมาก สามารถกินกับน้ำชาได้โดยไม่เลี่ยน เพราะขนมชนิดนี้นั้นถูกพัฒนาให้สามารถรับประทานในงานน้ำชา

โอโตชิบุมิ
โอโตชิบุมิ

โอโตชิบุมิ

ขนมที่มีรูปร่างเหมือนใบไม้ห่อ มีหยาดน้ำค้างอยู่บนใบ โดยชื่อขนมแปลตรงตัวว่าสารร่วงหล่น เปรียบเสมือนบัตรสนเท่ห์เขียนถึงสิ่งที่ไม่อาจเปิดเผยต่อสาธารณะ ที่จงใจทำหล่นไว้ตามทางเดินหรือริมทาง
โดยในเรื่องร้านขนมแห่งความลับได้มีลูกค้ามาซื้อโอโตชิบุมิไปเสิร์ฟในวันประชุมเพื่อชี้ตัวคนทุจริตเป็นนัยบอกใบ้เจ้านายด้วย

โครินงิคุ
โครินงิคุ

โครินงิคุ

ขนมรูปดอกเบญจมาศ ใช้ดีไซน์ของโองาตะ โคริน จิตรกรและช่างศิลป์สมัยเอโดะ ผู้ออกแบบลวดลายดอกเบญจมาศแบบลดทอนรายละเอียดเหลือเพียงวงกลมและเกสรตรงกลาง

มัตสึคาเซะ
มัตสึคาเซะ

มัตสึคาเซะ

ขนมอบสีน้ำตาลคล้ายคัสเตลลา โรยงาดำไว้ด้านบน มีรากศัพท์มาจาก “แว่วเพียงเสียงสายลมผ่านหมู่สนชายน้ำ (ด้านหลัง) จึงเงียบเหงาเหลือทน” อุปมาได้กินขนมชนิดนี้ที่มีเมล็ดมัสตาร์ดหรืองาดำโรยไว้ด้านหน้า แต่ด้านหลังไม่มีอะไรเลย สื่อถึงความคิดถึง ความรู้สึกวิงวอนปรารถนาอยากให้กลับมา

มินาสึกิ
มินาสึกิ

มินาสึกิ

ขนมมงคลเดือน 6 รูปทรงสามเหลี่ยมทำมาจากอุยโร (แป้งผสมน้ำตาลนึ่ง) ได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนน้ำแข็งแตกเลียนแบบก้อนน้ำแข็งจริงที่สามัญชนในสมัยนั้นไม่มีโอกาสได้กิน
บนขนมโรยด้วยถั่วแดงเม็ดเล็กที่แฝงความหมายช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย โดยคนญี่ปุ่นสมัยก่อนได้กำหนดวันโคริ โน เซคคุ หรือวันน้ำแข็งขึ้นมาเพื่อปัดรังควานให้ครึ่งปีแรกที่ใช้ชีวิตมาได้โดยปลอดภัย และกินขนมมินาสึกิเพื่อขอพรให้ครึ่งปีหลังผ่านพ้นไปโดยสวัสดิภาพ

เห็นแล้วรู้สึกอยากทานขึ้นมารึเปล่า ? แนะนำให้เดินไปซื้อหนังสือ “ร้านขนมแห่งความลับ” มาอ่านรองท้อง (?) ไปก่อนได้นะคะ

ร้านขนมแห่งความลับ
ผู้แต่ง : ซากากิ สึคาสะ

ร้านขนมแห่งความลับ
ร้านขนมแห่งความลับ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า