วิธีเอาชนะความกลัว โดย พระไพศาล วิสาโล

ทุกคนย่อมมีความกลัว กลัวจนไม่กล้าทำอะไร และบางครั้งความกลัวนั้นก็เกิดจากการที่เราคิดไปเอง วิธีเอาชนะความกลัว นั้นก็ไม่ยาก เพียงทำตาม 4 ขั้นตอนจัดการความกลัว ที่พระไพศาล วิสาโล ท่านได้เมตตาแนะนำให้นี้ และฝึก วิธีเอาชนะความกลัว บ่อยๆ ก็มั่นใจได้ว่า เราจะมีความกล้าในการใช้ชีวิตมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้นแน่นอน

 

อย่าเพิ่งคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปไกล

เวลาเกิดอะไรความกลัวขึ้นมา วิธีเอาชนะความกลัว คือก็อย่าเพิ่งส่งจิตออกนอก ให้กลับมาดูใจของเรา ว่าใจของเรากำลังปรุงแต่งไปหรือเปล่า

ที่จริงบางคนอาจจะไม่ได้ปรุงแต่งไปมากมายอะไร จู่ๆ มันมีความกลัวเกิดขึ้น เพราะเราไม่คุ้นกับความมืด หรือไม่คุ้นกับการอยู่คนเดียว การมีความกลัวเกิดขึ้นก็เป็นแบบทดสอบให้เราได้กลับมาดูใจว่า เรารู้เท่าทันอารมณ์และความกลัวที่เกิดขึ้นกับใจหรือเปล่า คนเราส่วนใหญ่ทุกข์เพราะความคิด เมื่อใดก็ตามที่เรามีความทุกข์

ขอให้รู้ว่ามันเป็นเพราะความคิดของเรา ความคิดที่ปรุงแต่ง ความคิดที่เตลิดเปิดเปิงไป เมื่อเรารู้ทันความคิด มันก็หยุดปรุงแต่ง แล้วกลับมาเป็นปกติ

 

 

ทำความคุ้นเคยกับที่นั้นๆ 

ให้พยายามทำความคุ้นเคยกับสถานที่นั้นๆเสมือนว่าเป็นบ้านเรา ถ้าหากว่าเราทำความคุ้นเคยกับสถานที่แล้ว ความอุ่นใจ ความมั่นใจในความปลอดภัยก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้าเราไม่ทำความคุ้นเคยกับสถานที่ ใจก็จะปรุงแต่งจนเกิดความหวาดระแวงได้ง่ายๆ

พยายามมองให้เห็นว่า สถานที่ที่เราไปมีข้อดีอย่างไรบ้าง อย่ามองเห็นแต่ข้อเสีย เพราะจะทำให้เราขาดความมั่นใจ หรือ ขาดความรู้สึก อบอุ่น ในสถานที่
เมื่อใดก็ตามที่เรามีความมั่นใจ มีความอุ่นใจในสถานที่แล้ว การปรุงแต่งไปต่างๆ นานาก็จะลดลง

 

กลัวอะไร ให้ลองอยู่กับมันไปเลย

อาจจะมีความกลัวเกิดขึ้นได้สำหรับคนที่ไม่คุ้น ให้ถือหลักว่า เมื่อมีความกลัว สิ่งที่เราควรทำไม่ใช่การกดข่มหรือหนีออกจากสถานที่นั้น หลายคนพอกลัวก็จะหนี ทำให้ความกลัวนั้นตามหลอกหลอนเรา บางคนไม่หนี แต่กลับไปกดข่มแทนซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกัน สิ่งที่ควรทำก็คือ เมื่อเรากลัวตรงไหนก็ให้เราอยู่ตรงนั้น
เรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้จากประสบการณ์ช่วงที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญธรรมเพื่อการตรัสรู้ พระองค์ก็เคยกลัว กลัวจนขนลุกในยามค่ำคืนเมื่ออยู่ลำพังคนเดียวในป่า เวลาสัตว์ป่าย่องเข้ามา หรือกิ่งไม้แห้งตกลงมาเพราะนกยูงหรือถูกลมพัด พระองค์ก็รู้สึกกลัว แต่พระองค์ได้พบว่า เมื่อกลัวในอิริยาบถใดก็ให้อยู่ในอิริยาบถนั้น หรือกลัวตรงไหนก็ให้อยู่ตรงนั้นแล้วความกลัวก็จะค่อยบรรเทาลง
มันบรรเทาลงเพราะอะไร เพราะเมื่อเราคุ้นเคยกับมัน รู้จักมันดี เราก็จะพบว่ามันไม่มีอะไรที่่น่ากลัว
วิธีเอาชนะความกลัว

 

ตั้งสติมองดูความกลัวนั้น

วิธีเอาชนะความกลัวขั้นแอดวานซ์คือ เมื่อมีความกลัวเกิดขึ้นก็ดูมัน อย่าปล่อยให้มันครอบงำใจ รับรู้ถึงความกลัวที่เกิดขึ้น หรืออาจจะกลับมาดูกายว่า เวลากลัว กายเป็นอย่างไร ลมหายใจเป็นอย่างไร เกร็งไหม หัวใจเต้นเร็วไหม ดูกายแล้วก็กลับมาดูใจ จะช่วยได้เยอะทีเดียว ให้เราฝึกดูใจของเรา ฝึกรับมือกับอารมณ์ต่างๆ เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้าแทนที่จะเป็นฝ่ายหนีมันตะพึดตะพือ

 

เรียบเรียงจากเรื่องราวดีๆ ในหนังสือ ความสุขอยู่ที่ใจหันมาเมื่อไหร่ก็เจอ โดย พระไพศาล วิสาโล

สนพ. อมรินทร์ธรรมะ

 


 
 บทความอื่นๆ

8 thoughts on “วิธีเอาชนะความกลัว โดย พระไพศาล วิสาโล

  1. Pingback: 9 วิธี ฝึกจิต หยุดตัวเองก่อนทำผิด ทั้งทางการกระทำและคำพูด

  2. Pingback: มุมมองความรัก ดีๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจความรักมากขึ้น รู้อย่างนี้มีความรักดีๆ ไปแล้ว

  3. Pingback: วิธีเริ่มต้นวันใหม่ให้ดีเพื่อ ชีวิตที่ดี และมีความสุข : คำแนะนำจากองค์ทะไลลามะ

  4. Pingback: 9 เทคนิคที่ช่วยให้ จิตใจเข้มแข็ง ฝึกจิตตั้งแต่วันนี้เพื่อภูมิคุ้มกันทางใจที่ดี

  5. Pingback: 8 ข้อคิดในการใช้ชีวิต โดยองค์ทะไลลามะและอาร์ชบิชอป เดสมอนด์ ตูตู

  6. Pingback: ผลกรรม จากการไม่รักษาศีล 5 : ที่ชีวิตแย่ก็เพราะเคยทำแบบนี้แหละ

  7. Pingback: ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จริงไหม เราจะอธิบายได้อย่างไร - ร้านหนังสือออนไลน์ในเครืออมรินทร์

  8. Pingback: 7 วิธี ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ตอบโจทย์ทั้งทางโลกและทางธรรม

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า