บางครั้งเรามักคิดว่ารู้จักคนรอบตัวเป็นอย่างดี แต่ความเป็นจริงแล้วกลับไม่เป็นแบบนั้น เพราะบางครั้งเราแค่ “รู้หน้าแต่ไม่รู้ใจ” จนทำให้ชีวิตที่ง่ายกลายเป็นเรื่องยาก เพียงแค่เราไม่รู้จักคนอื่นดีพอ และบางครั้งสิ่งที่เราเป็นและทำยังมีพลังซ่อนเร้นอีกมากมายที่ทำให้เราเป็นอย่างที่เป็น และทำอย่างที่ทำ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้อ่านง่ายอย่างที่คิด เราไปรู้จักตัวเองและคนอื่นให้ดีขึ้นด้วยชุดหนังสือ อยากอ่านใจคนได้ เดาใจคนออก อ่านเล่มไหนดี
Talking to Strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน
เขียนโดย มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ที่เริ่มต้นเรื่องราวด้วยเคสอันโด่งดังที่กระตุกให้เราเริ่มเอะใจว่า การคิดว่าคนอื่นอ่านง่ายเกินไป อาจเป็นต้นตออย่างหนึ่งที่ทำให้การพบเจอระหว่างคนดีๆ กลับลงเอยเป็นเรื่องเลวร้ายได้ ความละเอียดอ่อนเพื่อรับมือกับผู้คนให้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่เราไม่รู้จักดี เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเตือนไว้ได้อย่างน่าคิดในหนังสือเล่มนี้
เรื่องสำคัญข้อแรกของศิลปะแห่งการอ่านคนคือ อย่าคิดว่าคนอื่นอ่านง่าย แต่จริงๆ แล้วเราถูกตั้งโปรแกรมให้สรุปง่ายเกินไป เช่น เขามองแบบนี้ต้องเราแน่เลย คนนี้มีพิรุธ ต้องทำอะไรผิดมาชัวร์ ยังมีข้อสรุปอีกมากที่หลายครั้งสร้างปัญหาให้กับเรา มากกว่าจะช่วยให้เข้าใจกันและกัน
หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยเคสอันโด่งดังที่กระตุกให้เราเริ่มเอะใจว่า การคิดว่าคนอื่นอ่านง่ายเกินไป อาจเป็นต้นตออย่างหนึ่งที่ทำให้การพบเจอระหว่างคนดีๆ กลับลงเอยเป็นเรื่องเลวร้ายได้ เพราะเราต่างถูกตั้งค่าให้คิดว่าคนอื่นอ่านง่ายหรือนึกคิดอะไร เช่น
-ผู้พิพากษาและตำรวจที่เห็นผู้ร้ายแบบตาต่อตา ยังเดาผิดบ่อยๆ ว่า ใครทำผิด ใครบริสุทธิ์
-นักจับผิดที่ได้ฝึกมาอย่างโชกโชน อย่างหน่วยข่าวกรองฝีมือเยี่ยม ยังดูไม่ออก ทั้งที่มีหลักฐานอยู่ทนโท่ว่า เพื่อนร่วมงานตัวเองเป็นสายลับของศัตรู
-แม้แต่คนโกหก ก็ไม่ได้ทำหน้าเหมือนคนโกหกเสมอไป
มนุษย์ไม่ได้อ่านง่ายอย่างที่คิด!
ยินดีที่รู้จักฉัน Pleased to meet me
หนังสือที่จะอธิบายว่า ทำไมคุณเป็นอย่างที่เป็นและทำอย่างที่ทำ ผ่านเรื่องราวของยีน ดีเอ็นเอ จุลชีพ กระบนการเหนือพันธุกรรม และพลังซ่อนเร้นอีกมากมายเพื่อช่วยให้เราข้าใจตัวเองที่ดูไม่น่าจะมีคำตอบ โดยบิล ซัลลิแวน ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล ที่จะกระตุ้นให้เราพิจารณาเรื่องราวความขัดแย้งต่างๆ ในตัวเองด้วยวิทยาศาสตร์
ภายในเล่มได้เล่าถึงตัวตนที่แท้จริงของเรา ทั้งเรื่องรสนิยม ความอร่อย การเสพติด อารมณ์ เนื้อคู่ จิตใจ ความเชื่อ และอนาคต เช่น ทำไมเราถึงกลัว บิล ซัลลิแวน ได้อธิบายว่า ความกลัวจะไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี แต่มันเป็นความเลวร้ายที่วิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อปกป้องเรา ยีนที่สร้างระบบประสาทซึ่งตอบสนองต่อภัยคุกคามได้รวดเร็ว ย่อมมีความได้เปรียบอย่างยิ่งในการอยู่รอด ยิ่งเห็นอันตรายเร็วขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อสืบพันธุ์ และส่งต่อความกลัวนี้ไปยังคนรุ่นต่อไป
หนังสือเล่มนี้จึงช่วยให้เรารู้จักมองตัวเองและคนอื่นในมุมใหม่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ เพราะเรารู้แล้วว่าพวกเขาก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพลังเร้นลับที่ไม่ได้เลือกเหมือนเราเช่นกัน จนต้องกล่าวว่า “ยินดีที่รู้จักฉัน”
อ่านใจคนได้ในเสี้ยววินาที
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยโยชิฮิโตะ ไนโต เขาได้บอกว่านอกจากคำพูดแล้ว เรายังสื่อสารกันผ่านทางบุคลิกท่าทางด้วย ถ้าไม่อยากพลาดสารสำคัญที่ส่งออกมาอย่างไม่รู้ตัวของคู่สนทนา เราต้องฝึกอ่านท่าทางและบุคลิกให้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าเรารู้ว่าแท้จริงแล้วเขามีนิสัยอย่างไรและคิดอะไร เราจะรับมือและสร้างความสัมพันธ์กับเขาได้อย่างแนบเนียน
ภายในเล่มได้บอกเทคนิคอ่านใจคนไว้ 5 ส่วน ได้แก่ การอ่านใจคนจากบุคลิกท่าทางและนิสัย เทคนิคทางจิตวิทยาในการอ่านใจฝ่ายตรงข้ามอย่างแนบเนียน เรียนรู้การสร้างนิสัยที่ทำให้คนอื่นประทับใจ การอ่านใจคนจากจุดเด่นบนใบหน้า และการอ่านนิสัยจากการกระทำที่ไม่ตั้งใจ
ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างวีธีอ่านใจฝ่ายตรงข้ามอย่างแนบเนียน เช่น ขณะคุยกับคู่สนทนา ถ้าผู้ฟังเอนตัวไปด้านหลัง นั่นเป็นสัญญาณว่าเขากำลังเบื่อหรือไม่พอใจเรา เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้ว เวลาอยู่ต่อหน้าคนที่ชอบ เราจะเกิดความรู้สึกอยากเข้าไปอยู่ใกล้เขามากกว่านี้ ร่างกายจึงโน้มตัวไปข้างหน้าเองโดยธรรมชาติ กลับกัน หากเราอยู่ต่อหน้าคนที่เกลียด จิตใต้สำนึกจะบอกให้อยู่ห่างจากคนนี้เท่าที่จะทำได้ ร่างกายจึงเอนออกห่างหรือเอนไปข้างหลัง ดังนั้น 90% ของความรู้สึกในจิตใจ จะแสดงออกมาทางบุคลิกท่าทางและนิสัยโดยไม่รู้ตัว
ศิลปะการพูดให้เหมือนนั่งในใจคน
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คิมยุนนา โดยแนะนำแนวคิด “ชามคำพูด” ซึ่งผู้เขียนได้บอกว่า ทุกคนจะมีชามคำพูดเป็นของตัวเอง ขนาดของชามแต่ละใบก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของผู้พูด คนที่มีชามคำพูดเล็ก จะไม่ค่อยอดทน ไม่เปิดช่องว่าง และไม่สามารถใจเย็นฟังคนอื่นได้ ส่วนคนที่มีชามคำพูดใหญ่ จะมีคลังคำศัพท์มาก รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนควรฟัง และยังแยกคนกับคำพูดออกจากกันได้
หนังสือเล่มนี้เล่าถึง 5 ประเด็นหลัก ไดแก่ คนที่ต้องโดดเดี่ยวเพราะคำพูด การขัดเกลาชามคำพูดของตนเอง เทคนิคการฟังเพื่อขยายชามคำพูด เทคนิคการพูดที่ทำให้ชามคำพูดลึกขึ้น และ “คำพูด” นั้นอยู่รอบตัวเรา คิมยุนนา ได้อธิบายว่า เราทุกคนล้วนมีชามคำพูดคนละใบที่มีขนาดแตกต่างกันไปตามสภาพจิตใจของคนคนนั้น
คำพูดจะเป็นลักษณะเฉพาะและบุคลิกภาพของคนคนนั้น เมื่อได้ยินคำพูดของอีกฝ่าย เราสามารถคาดเดาถึงต้นกำเนิด ความเป็นมาและอายุของคนคนนั้นได้ เพราะคำพูดจะเผยให้เห็นความลึกซึ้งที่เติบโตอยู่ภายในคนคนนั้น ดังนั้นก่อนจะขยายชามคำพูดได้ ตัวตนภายในของเราต้องเติบโตก่อน เช่น คนที่ตั้งใจจะทำความรู้จักกับตัวเอง ในยามที่มีปัญหาเกิดจะหันกลับมามองตัวตนภายใน พิจารณาการกระทำของตน และพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง
อยากอ่านใจคนได้ เดาใจคนออก อ่านเล่มไหนดี
สั่งซื้อออนไลน์ได้โดยคลิกที่ชื่อหนังสือ
Talking to Strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน
ยินดีที่รู้จักฉัน Pleased to meet me
ศิลปะการพูดให้เหมือนนั่งในใจคน
บทความอื่นๆ
ทำไมคุณเป็นอย่างที่เป็น และทำอย่างที่ทำ
วิธี “อ่านใจคน” จากบุคลิกท่าทาง ดูคนให้ออกแล้วเราจะเป็นต่อ