อาการบ้านหมุน เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เป็นอาการรู้สึกหมุน วัตถุในบ้านเคลื่อนที่เอง หากไม่ใช่การเวียนหัวจากอาการเมารถเมาเรือที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์
อาการบ้านหมุน เป็นอย่างไร
อาการหมุนที่แท้จริงแล้วคือ ความรู้สึกหลอนทางประสาท ที่ทำให้รู้สึกว่าเกิดการเคลื่อนไหวของวัตถุรอบตัวผิดปกติ เช่น เห็นห้องหมุน เตียงเอียง หรือรู้สึกว่าตัวเองหมุน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้
อาการรู้สึกหมุนเกิดจากการเสียสมดุลของระบบการทรงตัวในหูชั้นในซึ่งมีสาเหตุหลายประการ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจึงอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าเสียสมดุลมากหรือน้อย เป็นเฉียบพลันหรือค่อยๆ เป็น และร่างกายปรับตัวได้หรือไม่
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
อาการคือหูอื้อ การได้ยินลดลง และมีเสียงรบกวนในหู มักมีอาการ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ เวียนหัว หูอื้อ มีเสียงดังในหู อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ พออาการเวียนศีรษะทุเลา หูก็จะได้ยินดีขึ้น และเสียงดังในหูอาจลดลง หากไม่รักษาหูอาจดับไปเลยก็ได้ หรือเสียงดังในหูอาจเป็นถาวรจนหลายคนทนไม่ได้
การรักษาคือตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ให้ยาช่วยขจัดการคั่งของน้ำและตะกอนที่คั่งค้างอยู่ในหูชั้นใน ซึ่งต้องกินติดต่อกันนานจนกว่าหูจะกลับมาได้ยินเป็นปรกติ มิใช่กินพอแค่หายเวียนหัวเท่านั้น
โรคหินปูนชั้นในหลุด
อาการคือ เวียนหัวเฉียบพลันขณะนอนตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง มักมีอาการเวียนศีรษะเฉพาะเวลาตะแคงท่าใดท่าหนึ่งเท่านั้น มีอาการหมุนเพราะตะกอนหินปูนหลุดไปแตะประสาทการทรงตัวของหูข้างนั้น แต่จะรู้สึกหมุนเพียงไม่กี่วินาที ประสาทการทรงตัวก็จะปรับตัวได้เอง
โรคนี้เป็นอีกโรคหนึ่งที่หลายคนมักเหมารวมกับอาการเวียนหัวเวลาเปลี่ยนท่าหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจไม่ใช่หินปูนหลุดเสมอไปเพราะมีอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ในผู้สูงอายุอาจเป็นอาการของเลือดที่ไปเลี้ยงก้านสมองบกพร่องชั่วคราว หรือในคนที่กระดูกคอเสื่อม
หินปูนในหูทำหน้าที่อะไร
แท้จริงแล้ว หินปูนในหูทำหน้าที่รับรู้แรงโน้มถ่วงของโลก เวลาตะแคงศีรษะหรือก้มศีรษะไปตามทิศทางต่าง ๆ หินปูน จะตกไปตามแรงโน้มถ่วงทำให้เรารู้สึกว่าศีรษะตะแคงไปข้างนั้น
คนทั่วไปมักเชื่อกันว่า ตะกอนหินปูนหลุดจะเกิดขึ้น หลังจากได้รับอุบัติเหตุโดยศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน อย่างรุนแรงไปถึงอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้หินปูน เคลื่อนหลุดจากตำแหน่ง บางครั้งหินปูนอาจหลุดไปแตะ ประสาทการทรงตัวในส่วนของการหมุน แต่ถ้าผู้ป่วยเกิด อาการหมุนทุกครั้งที่หันศีรษะ เปลี่ยนท่า ยืน นอน นั่ง เดิน ไม่มีลักษณะเฉพาะท่า สาเหตุน่าจะเกิดจากประสาท การทรงตัวส่วนอื่นในหูชั้นในเสียสมดุลมากกว่า
การวินิจฉัยว่าอาการเวียนศีรษะเกิดจากหินปูนหลุด หรือไม่ทำได้ไม่ยาก เพียงทำ “Positioning Test” โดยการ เอียงหูข้างนั้นลงก็จะพบการกระตุกของลูกตา แต่อาการนี้ จะหายไปภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที ถ้าตรวจซ้ำอีกก็อาจจะ ไม่เกิดอาการเวียนศีรษะ โรคนี้ไม่จำเป็นต้องกินยา ถ้าใคร เป็นบ่อยหรือมีอาการมากก็อาจแค่ทำท่าบริหารศีรษะ ด้วย การหันศีรษะไปด้านตรงข้ามอย่างรวดเร็ว เพื่อผลักให้หินปูน ย้ายไปที่อื่น อาการก็อาจหายได้
โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้การไหลเวียนโลหิตไปยังสมองบกพร่อง
มักเกิดในผู้สูงอายุ อาการคือเวียนศีรษะขณะหัน แหงนหน้า บิด เอี้ยว เงย หรือเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ เช่น ลุกจากที่นอน ยืน ล้มตัวลงนอนเร็ว ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงก้านสมองหรือแกนสมองไม่สะดวก นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่เคยได้รับการกระทบ-กระเทือนบริเวณกระดูกคอ กระดูกคอเสื่อม หรือเป็นความดันโลหิตสูง เนื่องจากการกินยาลดความดันมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดขณะเปลี่ยนท่า จนอาจทำให้ก้านสมองบริเวณศูนย์การได้ยินและการทรงตัวขาดเลือดกะทันหัน ทำให้เกิดอาการเวียนหัว วูบคล้ายจะเป็นลม อาการหมุนอาจนานถึง 1 นาที ซึ่งเป็นอาการของก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว (VBI หรือ TIA)
อาการที่มักพบร่วมด้วยคือ ตาลาย เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง มือชา เท้าชา และใจสั่นคล้ายจะเป็นลม ซึ่งต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน อาจเป็นอาการก่อนอัมพาต อัมพฤกษ์ (Pre – Stroke)
โรคหูชั้นในเสื่อมจากยาบางชนิด
ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะจนเสียการทรงตัวได้ เช่น การได้รับสารพิษหรือยาที่เป็นอันตรายต่อประสาทการได้ยินและประสาทการทรงตัว เช่น ยาปฏิชีวนะประเภทแอมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) เจนตามัยซิน (Gentamycin) ควินิน (Quinine) ยากันชัก เป็นต้น
การอักเสบของประสาทการทรงตัว
ผู้ป่วยจะมีอาการเสียการทรงตัวเฉียบพลันและรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกว่าบ้านหมุน แต่ไม่มีอาการทางหูหรือสูญเสียการได้ยิน สามารถเป็นได้ในบุคคลทุกเพศทุกวัย อาการจะคงอยู่เป็นระยะเวลานาน อาจถึง 2 สัปดาห์ หากทำการตรวจการทำงานของ ประสาทการทรงตัวจะพบว่าข้างใดข้างหนึ่งไม่ทำงาน มักพบร่วมกับ อาการเจ็บคอ หวัด การติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะที่กล่าวมานี้อาจเป็นสาเหตุการอักเสบของประสาทการทรงตัวได้ เช่นกัน
โรคทางสมองอื่นๆ
ได้แก่ เนื้องอกของประสาทการทรงตัว (Vestibular Schwan-noma) คือ เนื้องอกที่เกิดกับประสาทการทรงตัวบริเวณหูชั้นใน (ไม่ใช่ มะเร็ง) ซึ่งอาจโตและลุกลามไปสู่ก้านสมองและเข้าไปถึงสมองได้ ในที่สุด การรักษามีวิธีเดียวคือการผ่าตัด (ถ้าเล็กอาจใช้รังสีสลายได้)
นอกจากนี้ยังมีโรคทางกายที่อาจส่งผลต่อหูชั้นในได้ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ไทรอยด์ เป็นต้น
ข้อมูลจากหนังสือ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
วิธีปกป้องตับด้วยการกิน ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นโรคตับได้
อาการและวิธีรักษา ต่อมลูกหมากโต โรคยอดฮิตของผู้ชายวัยทอง
6 สัญญาณอันตราย ที่บอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไต
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ : กฎเหล็กเพื่อป้องกันโรคที่ทุกคนต้องรู้
โรคและความผิดปกติที่มาพร้อมกับการนอนดึก นอนไม่พอ อดนอน
โรคตับ ใครคิดว่าไม่สำคัญ คุณมีพฤติกรรมทำร้ายตับหรือไม่
7 วิธีกระตุ้นสมองให้มีชีวิตชีวา ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน “ดูแลตัวเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง”
สัญญาณอันตรายร่วมกับอาการปวดหลัง ระวังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาเยือน
Pingback: วิธีสังเกตอาการ ไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยตัวเอง และวิธีรักษา