เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัย 50 ปี ทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ต่อมลูกหมากโต ด้วยกันทั้งนั้น แต่ยังมีคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้อยู่หลายประการ การศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้หนุ่มใหญ่วัยทองสามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคต่อมลูกหมาโตได้ทันท่วงที
ลองมาดูกันว่าอาการ ต่อมลูกหมากโต มีลักษณะแบบไหน และรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง
สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโตเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมาก จึงมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ขนาดและความรุนแรงของโรคไม่สัมพันธ์กันเสมอไป สิ่งสำคัญคือ ลักษณะของต่อมลูกหมากมีความยืดหยุ่น ความแข็งตัว พื้นผิวเรียบหรือมีปุ่มนูน รวมถึงกล้ามเนื้อปลายท่อปัสสาวะเกร็งตัว ทำให้ปัสสาวะผิดปกติ
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
อาการของโรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ปัสสาวะบ่อยทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคื่น มีอาการปวดจนกลั้นไม่ค่อยได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที หรือบางครั้งอาจถึงขั้นปัสสาวะราด
2.ปัสสาวะขัด เมื่อปวดปัสสาวะต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออก อาการปัสสาวะไม่พุ่งจนต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออก อาการปัสสาวะไม่พุ่งจนต้องออกแรงเบ่ง ปัสสาวะสะดุดไม่ต่อเนื่อง ไหลๆ หยุดๆ รู้สึกปัสสาวะไม่สุด
นี่คือการสังเกตอาการเริ่มต้นเท่านั้น แต่อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากโรคอื่นๆ ในระบบปัสสาวะได้ด้วย เมื่อมีอาการผิดปกติจึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้ละเอียด
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
การรักษาด้วยยาเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ใช้ในกรณีที่มีอาการปานกลาง หากหยุดกินยาเมื่อไหร่อาการก็จะกลับมาได้อีกเช่นเดียวกับโรคเบาหวาน จึงต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วย เช่น การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
หากกินยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัด จะช่วยทำให้ท่อปัสสาวะส่วนต้นที่ต่อมลูกหมากหุ้มอยู่กว้างขึ้น โดยเอาเนื้อต่อมลูกหมากที่อุดท่อปัสสาวะออก เหลือเพียงเปลือกต่อมลูกหมากไว้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดแบบใช้ลวดไฟฟ้าสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์
ขนาดต่อมลูกหมาก ไม่ได้บ่งชี้ภาวะของโรค
ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 20 ปี เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นเรื่อยๆ จากผลของฮอร์โมนเพศชาย และจะคงที่ไปจนถึงอายุ 50 ปี
เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยทอง ต่อมลูกหมากจะเริ่มโตอีกครั้งจนขยายไปกดทับท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะบริเวณปากกระเพราะปัสสาวะ จนทำให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโต หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะในที่สุด
ข้อมูลจากหนังสือ ผู้ชายสะบัด ผู้หญิงเช็ด
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
6 สัญญาณอันตราย ที่บอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไต
พฤติกรรมทำร้ายไต เราเสี่ยงเป็นโรคไตกันอยู่หรือเปล่า
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ : กฎเหล็กเพื่อป้องกันโรคที่ทุกคนต้องรู้
โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ
โรคตับ ใครคิดว่าไม่สำคัญ คุณมีพฤติกรรมทำร้ายตับหรือไม่
7 วิธีกระตุ้นสมองให้มีชีวิตชีวา ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน “ดูแลตัวเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง”
อาหารลดคอเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจ ควรกินอะไรและกินอย่างไร
Pingback: วิธีปกป้องตับด้วยการกิน ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็น โรคตับ ได้