โคโนะ เก็นโตะ

เทคนิคเรียนให้สนุกจาก โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

โคโนะ เก็นโตะ เป็นหนุ่มนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้ที่สามารถสอบเนติบัณฑิตผ่านตั้งแต่ครั้งแรก ในระยะเวลา 8 เดือน ซึ่งคนทั่วไปใช้เวลานานหลายปี

โคโนะ เก็นโตะ โดนสื่อสัมภาษณ์มาหลายครั้งว่า “มีวิธีเรียนหนังสือยังไง” ทุกคนต่างเรียกเขาว่า อัจฉริยะบ้าง มันสมองบ้าง ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเขามีความสามารถพิเศษในการจดจำทุกอย่างได้ในพริบตา อ่านหนังสือตลอดเวลา หรือมีกลไกในสมองที่แตกต่างจากคนทั่วไป

โคโนะ ตอบไปว่า “ผมไม่ได้มีความสามารถหรือความจำดีเป็นพิเศษกว่าคนทั่วไปอย่างที่ทุกคนคิด ผมแค่มีวิธีเรียนหนังสือที่ดี”

และเขาก็ได้สอนเทคนิคเรียนหนังสือให้สนุกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย

ความสนุกของการเรียน

การเรียนอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับเด็กทุกคน แต่สิ่งที่ช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนที่ดีที่สุดก็คือ “ความสนุก” หากเราเข้าใจถึงความสนุกนี้ นั่นจะเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่มาก หลายคนอาจสงสัยว่าการเรียนเป็นเรื่องสนุกจริงหรือ โคโนะ เก็นโตะ พูดออกมาทันทีว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุกจริงๆ เพียงแต่พวกเราเรียนหนังสือกันโดยไม่รู้ถึงความสนุกของมันเท่านั้นเอง

ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย ต่อให้เราไม่มีสมาธิอ่านข้อความยาวๆ ในวิชาภาษาไทยในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นนิยายเล่มหนาและเป็นเรื่องที่เราชอบ เรากลับหยิบมันมาอ่านด้วยตัวเองอย่างสุนกสนาน หรือวิชาคณิตศาสตร์ เราอาจไม่ถนัดแก้สมการยากๆ แค่เห็นโจทย์ก็รู้สึกเอียนแล้ว แต่พอเป็นเกมที่ชอบ เรากลับคำนวณดาเมจและสเตตัสได้เรื่อยๆ

 

“การอ่านเอาความยาวๆ” กับ “การอ่านนิยายที่ชอบ”

“สมการคณิตศาสตร์” กับ “การคำนวณเกม”

 

โดยพื้นฐานแล้วสิ่งเหล่านี้แทบไม่ต่างกันเลย พวกเราสนุกกับเรื่องที่ชอบโดยไม่รู้เลยว่านั่นก็เหมือนกับการเรียนนั่นแหละ ในเมื่อต้องทำสิ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรู้สึก “สนุก” กับการเรียนเช่นเดียวกับงานอดิเรกพวกนี้

 

ลองมาดูเทคนิคเรียนหนังสือให้สนุกจาก โคโนะ เก็นโตะ กันว่า เขาใช้วิธีแบบไหนถึงเรียนเก่งขนาดนี้

 

ทำให้รู้สึกสนุกกับการเรียน

อยากสนุกกับการเรียนต้องใช้ วงจรฉันทำได้ คือการที่เราทำบางสิ่งได้จนรู้สึกสนุกกับการเรียนและส่งผลให้เข้าใจเร็วขึ้น “ความสนุกจากการทำได้” ในเรื่องเรียนเกิดขึ้นได้กับทุกคนมานับครั้งไม่ถ้วน เช่น เวลาที่เราทำแบบฝึกหัดได้ เวลาสอบได้คะแนนสูงๆ เวลาทำความเข้าใจโจทย์ยากๆ ได้ หรือเวลาที่คนรอบข้างยอมรับในความพยายามของเราเป็นต้น

 

หาก “ความสนุกจากการทำได้” สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดวงจร “เพราะสนุกก็เลยเรียน -> เพราะเรียนเลยยิ่งทาได้มากขึ้น -> เพราะทาได้เลยสนุกมากขึ้น –> เพราะสนุกเลยยิ่งเรียนให้มากขึ้น…” ไปเรื่อย ๆ แบบไม่รู้จบ นี่แหละคือ “วงจรฉันทำได้”

 

ทำให้สมองคิดว่าการเรียนเป็นเรื่องสนุก

การเรียนในระดับที่เหมาะสมกับตัวเอง นั้นมีความหมายตรงตัวเลย นั่นคือ การเรียนหนังสือตามระดับความยากง่ายให้เหมาะกับความสามารถของตัวเองในขณะนั้น จะทำให้สมองคิดว่าการเรียนเป็นเรื่องสนุก

หากเปรียบเทียบการเล่นเกม ช่วงที่ซื้อเกมมาใหม่ๆ เราอาจยังเล่นได้ไม่ดีนัก แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เราจะพัฒนาขึ้นจนเอาชนะบอสตัวสุดท้าย (เคลียร์ด่านสุดท้าย) ได้ ซึ่งผู้ผลิตเกมก็ได้สร้างกลไกต่างๆ เพื่อช่วยให้คนที่เล่นเกมครั้งแรกก็ยังสนุกได้ เช่น มีระบบให้เราเลือกระดับความยากง่ายตามความเหมาะสม เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ จึงเพิ่มระดับความยาก

การเรียนก็เหมือนกับเกม การเรียนภายใต้ “ขอบเขตที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ยากหรือง่ายเกินไป” ช่วยให้เกิดการ “ทำได้” ซ้ำๆ จนเกิดความรู้สึกสนุกกับการเรียน

 

เปลี่ยนการเรียนให้เป็นเกม

การเปลี่ยนการเรียนให้เป็นเกม เป็นวิธีสร้างความรู้สึก “สนุก” กับการเรียนเหมือนว่าเรากำลังเล่นเกมอยู่ วีนี้จะทำให้การเรียนที่ทุกคนคิดว่าน่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกจนอยากเรียนต่อไปเรื่อยๆ

 

ประเด็นหลักของการเปลี่ยนการเรียนเป็นเกมมี 3 ข้อคือ “Time Attack” “Score” และ “Checklist”

 

“Time Attack” คือ การคิดว่าตัวเองจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จภายในเวลาอันสั้นได้หรือไม่ ลองจำเวลาก่อนทำแบบฝึกหัดแล้วจัดบันทึกไว้ เวลาทำแบบฝึกหัดเดิมก็ให้จับเวลาอีก

 

เมื่อนำเวลามาเทียบกันแล้วพบว่า “ครั้งก่อนใช้เวลา 10 นาที แต่คราวนี้ใช้เวลาแค่ 8 นาที เร็วขึ้นกว่าเดิม 2 นาทีเลยนะ” บวกกับการที่คิดว่า “ทำได้แล้ว” จะทำให้เรารู้สึกว่ามีพัฒนาการมากขึ้น นอกจากนี้เรายังตั้งเป้าหมายง่ายได้ด้วย เช่น “ครั้งต่อไปต้องพยายามทำให้เร็วกว่านี้อีก 1 นาที!” วิธีนี้จะช่วยให้เรารู้สึก “สนุก” กับการเรียนขึ้นมาได้เอง  

 

ข้อสองคือ “Score” หมายถึง การคิดว่า “เราจะทำคะแนนได้ดีแค่ไหน”  วิธีการก็เหมือนกับ “Time Attack” เมื่อทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้วให้เราบันทึกคะแนนไว้เพื่อติดตามพัฒนาการของตัวเอง หรือใช้ในการตั้งเป้าหมายง่ายๆ ในครั้งต่อไป

 

“Checklist” หรือเรียกอีกอย่างว่า To Do List (= รายการสิ่งที่ต้องทำ) หมายถึงการตรวจสอบสิ่งที่ทำไปแล้ว

เช่น ขณะเริ่มต้นวันใหม่ เราวางแผนไว้ว่า “วันนี้จะอ่านหนังสือวิชาเหล่านี้” แล้วทำ To Do List ขึ้นมา เมื่อทำสิ่งใดจบแล้วให้ขีดฆ่าในรายการ To Do List ซึ่งจะทาให้รู้สึกดีมากเหมือนกับได้ยศตำแหน่งหรือเหรียญรางวัลเลย

 

และเมื่อหมดไปอีกหนึ่งวัน เราจะรู้สึกว่า “วันนี้เราทำอะไรได้มากขนาดนี้เลยนะ!” หรือ “วันนี้ทำทุกอย่างได้ครบตามกำหนดเลย!” เมื่อเราเห็น “ประวัติการต่อสู้” ในแต่ละวันแล้วก็จะส่งผลให้มีแรงทำต่อไปในวันรุ่งขึ้น

 

ข้อมูลจากหนังสือ โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

8 วิธีเรียนรู้ได้รวดเร็ว และมีความจำเป็นเลิศ

เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำแม่น เรียนเก่ง สอบผ่าน

เทคนิคบริหารสมอง เพื่อป้องกันอาการขี้ลืม

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า