การใช้น้ำเสียง

เทคนิคการใช้น้ำเสียงให้น่าฟัง และเหมาะสมกับสถานการณ์

การใช้น้ำเสียง ที่น่าฟังเป็นปัจจัยสำคัญในการพูดคุย และยังช่วยพัฒนาทักษะการพูดด้วย มันจะช่วยทำให้การสนทนาน่าสนใจและนำมาซึ่งสายสัมพันธ์และความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาก

มาดูกันว่า การใช้น้ำเสียง แบบไหนที่น่าฟังและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด

 

เลือกใช้น้ำเสียง

ความหมายของการสื่อสารอยู่ที่น้ำเสียงที่ใช้มากกว่าคำพูดจริงๆ คุณจึงต้องใส่ใจกับเรื่องของน้ำเสียงที่ใช้ เช่น คุณสามารถพูดคำพูดเดียวกันโดยใช้น้ำเสียงที่ทำให้อีกฝ่ายมองว่าเป็นการพูดเล่นหรือเรื่องตลก และน้ำเสียงที่ทำให้อีกฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่จริงจังมาก เช่นคำว่า “ไปไกลๆ เลย” ซึ่งคุณสามารถพูดโดยใช้น้ำเสียงที่ดูเหมือนโกรธจริงจังหรือน้ำเสียงที่ดูเหมือนประหลาดใจและไม่อยากเชื่อ ทั้งสองสถานการณ์ใช้คำพูดเดียวกัน แต่ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิงตามน้ำเสียงที่ใช้

นอกจากนั้นน้ำเสียงยังสำคัญมากๆ ด้วย เพราะจะทำให้คู่สนทนาสนใจสิ่งที่คุณจะพูดต่อไป เวลาที่พูดถึงประสบการณ์ที่ต้องเล่าไปเรื่อยๆ จึงต้องระมัดระวังเรื่องการใช้น้ำเสียงให้ดี

เช่น ใช้น้ำเสียงเพื่อทำให้คำพูดมีพลังมากขึ้นเช่น พูดคำว่า “ช้าๆ” แบบช้าๆ เพื่อที่จะได้ความรู้สึกแบบเดียวกับตัวคำ และพูดถึงสิ่งที่ “เคลื่อนที่เร็วเรื่อยๆ” โดยพูดคำว่า “เร็วขึ้นเรื่อยๆ” แบบเร็วมาก วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความหมายและความสนใจในสิ่งที่คุณพูดได้ การสื่อสารดูมีชีวิตชีวาขึ้นด้วยการเลือกใช้น้ำเสียงนั่นเอง

ไม่ว่าจะเป็นใช้น้ำเสียงที่ดูเหมือนประหลาดใจ ตื่นเต้น กระวนกระวายใจ ที่ช่วยเพิ่มความสนใจของอีกฝ่าย น้ำเสียงที่หลากหลายย่อมน่าฟังกว่าเสียงที่สม่ำเสมอคงเส้นคงวาแน่นอน

และจำไว้ว่า ถ้าอยากให้คนอื่นรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่คุณพูด คุณต้องรู้สึกตื่นเต้นกับมันก่อน

 

ความเร็วในการพูด

อีกหนึ่งวิธีที่ใช้สร้างสัมพันธ์เวลาคุยกับอีกฝ่ายคือต้องพูดให้เร็วพอๆ กัน ฉะนั้นถ้าอีกฝ่ายพูดค่อนข้างเร็ว คุณก็ต้องพยายามพูดให้เร็วพอๆ กัน แต่ต้องไม่เร็วจนน่าอึดอัดใจ และหากอีกฝ่ายเป็นคนพูดช้า คุณก็ต้องพูดให้ช้าลงเพื่อที่จะทำให้ความเร็วในการพูดใกล้เคียงกันมากขึ้น

การพูดให้ความเร็วพอๆ กัน ไม่ได้มีผลกับเรื่องของความสัมพันธ์แค่อย่างเดียว คนเรามักจะเข้าใจและประมวลผลข้อมูลได้ช้าหรือเร็วต่างกัน ความเร็วในการประมวลผลของอีกฝ่ายมักดูได้จากความเร็วในการพูดของพวกเขา ถ้าอีกฝ่ายพูดช้ากว่าคุณมาก มันจึงอาจเป็นเพราะพวกเขาต้องคิดถึงสิ่งต่างๆ อย่างถี่ถ้วน ฉะนั้นหากคุณพูดเร็วเกินไป อีกฝ่ายมักจะมีปัญหาเรื่องการทำความเข้าใจเพราะประมวลผลได้ช้ากว่าความเร็วในการพูดของคุณ

ในทางกลับกัน ถ้าคุณพูดช้ามากเมื่อเทียบกับอีกฝ่าย พวกเขาก็มักจะประมวลผลข้อมูลได้เร็วมากและอาจจะเริ่มเบื่อที่ต้องรอให้คุณพูดจบประโยค นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการพยายามพูดให้เร็วพอๆ กับอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

เว้นช่วงเพื่อสร้างความตื่นเต้น

คุณสามารถใช้การเว้นช่วงเพื่อสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ อย่างเพื่อเน้นประโยคก่อนจะพูดต่อ การเว้นช่วงให้นานขึ้นประกอบกับการแสดงสีหน้า เช่น การเลิกคิ้ว อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าต้องตอบหรือมีส่วนร่วมในบทสนทนา คุณยังต้องออกท่าออกทางในการสนทนาแบบพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป อาจใช้การทำไม้ทำมือเวลาอธิบายเรื่องต่างๆ และการแสดงสีหน้าเล็กน้อย

ตอนใช้มือเพื่ออธิบายเรื่องราวต่างๆ ต้องใช้ระดับเอวถึงหน้าอกเท่านั้น การโบกไม้โบกมือในระดับที่สูงกว่านั้น มักจะเป็นการกีดขวางพื้นที่ส่วนตัวหรือรบกวนอีกฝ่ายมากจนเกินไป ไม่เพียงแต่อีกฝ่ายจะกลัวโดนมือคุณฟาดหน้าเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะอาจโบกไม้โบกมือในพื้นที่ที่พวกเขาใช้ความคิดด้วย เพราะเราคิดในลักษณะของภาพ และเราก็มักจะวางภาพเหล่านั้นไว้ข้างหน้า

 

เสียงดังค่อยและสูงต่ำ

การใช้เสียงสูงต่ำนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและแบบแผนของภาษาที่คุณใช้พูดกับอีกฝ่ายเป็นหลัก แค่พูดถึงภาษาอังกฤษ การใช้เสียงสูงต่ำก็แตกต่างกันแล้ว เช่น การใช้เสียงสูงต่ำของคนในอังกฤษกับคนในออสเตรเลียจะแตกต่างกันมากเลยทีเดียว

เวลาที่เราพูดประโยคบอกลเ ระดับเสียงดังค่อยและสูงต่ำมักจะคงเส้นคงวง แต่ถ้าเราพูดประโยคคำถาม ระดับเสียงดังค่อยและสูงต่ำก็มักจะพุ่งขึ้นในช่วงท้ายประโยค ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราพูดประโยคคำสั่ง ระดับเสียงดังค่อยและสูงต่ำก็มักจะดิ่งลงในช่วงท้ายประโยค เช่น เวลาที่พูดประโยคคำสั่งอย่าง “ทำเดี๋ยวนี้เลยนะ” พูดประโยคคำถามอย่าง “ต้องทำยังไงหรือ” หรือพูดประโยคบอกเล่าอย่าง “วันนี้ท้องฟ้าแจ่มใสจัง” ระดับเสียงดังค่อยและสูงต่ำแต่ละประโยคจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เวลาที่คุยกับอีกฝ่าย เสียงคืออาวุธสำคัญเหมือนกับรถแข่งเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งรถ ถ้าไม่มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ ก็ไม่มีทางที่รถจะทำให้คนขับเก่งเท่าที่สามารถจะเก่งได้ เรื่องของเทคนิคการใช้น้ำเสียงก็เช่นกัน ถ้าอยากเป็นคนที่พูดเก่ง คุยเก่ง ก็ต้องรู้จักปรับน้ำเสียงที่ใช้พูดด้วย

 

ข้อมูลจากหนังสือ พูดแบบนี้คนเข้าใจ คุยแบบนี้ใครก็ชอบ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

เทคนิคโน้มน้าวใจคน ด้วยการพูดเพียงครั้งเดียว

พลังแห่งคำพูดดี เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้

4 เทคนิคสร้างสัมพันธ์เมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า

วิธีตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์ด้วยคำถามปลายเปิด

เทคนิคการตั้งคำถาม ที่จะทำให้ได้คำตอบที่ต้องการ

1 thoughts on “เทคนิคการใช้น้ำเสียงให้น่าฟัง และเหมาะสมกับสถานการณ์

  1. Pingback: เตรียมตัวและจัดระเบียบสิ่งที่พูดอย่างไร เมื่อต้อง พูดต่อหน้าคนเยอะๆ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า