ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง เกิดจากอะไรและป้องกันอย่างไร

หากกินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำเช่น เนื้อติดมัน หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ คุณก็มีความเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง เช่นเดียวกัน

เมื่อร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการ ก็จะเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินนั้นไปเก็บเป็นไขมันสะสมในร่างกายทั้งในเซลล์ไขมันและอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับเกิดเป็น “ภาวะไขมันพอกตับ” ทำให้เกิดเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ เหมือนผู้ป่วยที่เกิดโรคตับจากการดื่มเหล้าทุกประการ นอกจากนี้ยังเกิดการสะสมไขมันในหลอดเลือดและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต

 

ไขมันทำร้ายร่างกายอย่างไร

ไขมันสูงเป็นชื่อเรียกความผิดปกติจากระบบเผาผลาญที่เกี่ยวกับไขมันในร่างกายของเรา จริงๆ ควรเรียกว่า “ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ” สาเหตุของโรคไขมันในเลือดผิดปกตินั้น ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและความผิดปกติของระบบเผาผลาญเอง ซึ่งอาหารอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมเท่านั้น นอกจากนี้ชนิดของอาหารประเภทของไขมันในอาหารและชนิดและปริมาณของคาร์โบไฮเดรต ก็สามารถส่งผลต่อชนิดไขมันในเลือดได้

 

เช็กความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง

นอกจากภาวะไขมันในเลือดผิดปกติแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ รวมด้วยได้แก่

 

เพศ

เพศชายที่อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป และเพศหญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยง

 

พันธุกรรม

เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือเสียชีวิตตอนอายุยังน้อยด้วยกลุ่มหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้ชายมักเกิดก่อนอายุ 45 ปี และผู้หญิงมักเกิดก่อนอายุ 55 ปี

 

โรคเรื้อรังอื่นๆ

เช่น เป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง

 

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

เช่น การสูบบุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ บุหรี่ยังเป็นตัวเร่งการเกิดการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจด้วย รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง เช่น อยู่ในเมืองที่มีความเร่งรีบ เจอกับความเครียดและมลพิษ

 

หลักการเลือกใช้น้ำมันเพื่อสุขภาพ

การใช้น้ำมันในครัวเรือนเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ง่ายที่สุด ดังนั้นเราต้องเลือกใช้น้ำมันร่วมกับการบริโภคอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ และเลือกน้ำมันให้เหมาะกับประเภทการประกอบอาหาร

 

1.ปริมาณสำคัญที่สุด

ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า ไม่ควรเกินวันละ 5-6 ช้อนชาต่อวัน หรือ 27 กรัมต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันที่มีไขมันชนิดดีต่อสุขภาพแค่ไหนก็ไม่ควรเกินนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรเลี่ยงของทอด กะทิ เพราะเราจะได้น้ำมันปริมาณมากเกินไป ถ้ากินทุกวัน พลังงานนั้นก็อาจจะทำให้เราเป็นโรคอ้วน น้ำมาซึ่งกลุ่มโรค NCDs ในที่สุด

 

2.วิธีปรุงอาหาร

วิธีปรุงอาหารสามารถทำให้น้ำมันแปรสภาพได้ โดยปัจจัยประกอบด้วยการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน น้ำ และความร้อน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้เกิดขึ้นระหว่างการปรุงอาหาร

 

3.ออกซิเจนและน้ำ

ออกซิเจนและน้ำหรือความชื้นที่มีในอากาศสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำมันได้โดยจะทำให้สีของน้ำมันเปลี่ยนไป มีกลิ่นหืน มีความหนืดมากขึ้น และทำให้จุดเกิดควันลดต่ำลง นอกจากนี้ยังเป็นสารก่อมะเร็ง หากบริโภคอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น โรคหลอดเลือดแดงตีบและแข็งตัว ผิวพรรณเหี่ยวแห้ง

เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นหืนในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม จึงมีการเติมสารกันหืนลงไปด้วย จากข้อมูลวิจัยพบว่าการเติมสารเหล่านี้มีผลเพิ่มการเกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ ถ้าบริโภคมากจนเกิดการสะสมในร่างกาย จึงเป็นข้อควรระวังของการเลือกน้ำมันที่มีการเติมสารกันหืน สังเกตดูจากฉลากซึ่งจะเป็นน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมสาร เช่น BHA, BHT, หรือ TBHQ

 

4.ความร้อน

ความร้อนทำให้น้ำมันเกิดการเปลี่ยนสภาพ เช่น ไขมันชนิดดี หากได้รับความร้อนก็สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ได้ หรือทำให้กรดไขมันมีความอิ่มตัวมากขึ้น และยิ่งใช้ซ้ำก็ยิ่งทำให้จุดเกิดควันลดต่ำลงไปเรื่อยๆ

 

ดังนั้นแม้จะเลือกใช้แต่น้ำมันชนิดดี แต่ใช้วิธีปรุงอาหารที่ไม่เหมาะสม ก็อาจได้รับผลเสียต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

 

5.จุดเกิดควันของน้ำมัน

จุดเกิดควันของน้ำมัน คือ อุณหภูมิที่น้ำมันเริ่มกลายเป็นควันและคุณค่าทางอาหารเริ่มสลาย รวมถึงมีกลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดมีจุดเกิดควันแตกต่างกันไป

 

หากน้ำมันมีจุดเกิดควันต่ำ เราไม่ควรใช้ไฟแรงในการปรุงอาหาร แต่ถ้าน้ำมันมีจุดเกิดควันสูง เราก็สามารถใช้ไฟแรงหรือความร้อนสูงในการปรุงอาหารได้โดยไม่เสียคุณค่าทางอาหารมากและน้ำมันยังไม่แปรสภาพ

 

 

โอเมก้า-3 ตัวช่วยลดไขมัน

หนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเรื่องหัวใจก็คือ โอเมก้า-3 เนื่องจากมีการศึกษาหลายชิ้นพบว่า โอเมก้า-3 อาจสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ เพราะช่วยต้านการอักเสบของหลอดเลือดและลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น

 

 

กินไฟเบอร์สลายไขมัน

ไฟเบอร์ คือ ใยอาหารที่อยู่ในผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช หลักการกินอาหารเพื่อสลายไขมันนั้นเป็นหลักการเดียวกันกับการกินอาหารเพื่อป้องกันโรค NCDs แต่การกินอาหารลดไขมันมีส่วนสัมพันธ์กับไฟเบอร์อย่างชัดเจน เพราะไฟเบอร์จะช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหารได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล และทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นอย่างช้าๆ จึงมีผลดีกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย และยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบประโยชน์ของการรับประทานอาหารไฟเบอร์สูงว่ามีผลต่อการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งลำไส้

 

ข้อมูลจากหนังสือ กินให้ถูกวิธี 4 โรคเรื้อรังไม่มาเยือน

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

น้ำตาลอันตรายกว่าที่คิด! ผลเสียของการกินรสหวาน มากเกินไป

วิธีป้องกันและควบคุม NCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด เผาผลาญดี ไม่มีอ้วน

วิธีปกป้องตับด้วยการกิน ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นโรคตับได้

อาหารที่ควรกินและหลีกเลี่ยง เมื่อต้องการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาหารเพื่อสุขภาพ :กินแล้วผอมจริงหรือ

โยคะลดพุง แค่ 3 ท่านี้ ก็หุ่นสวย หุ่นดี เอวคอดกิ่ว เอวเอส ด้วยโยคะ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า