10 เทคโนโลยีพลิกอุตสาหกรรม งาน และชีวิตยุค 4IR

เราก้าวเท้าสู่ยุคแห่ง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นที่เรียบร้อย นาทีนี้จำเป็นที่ทุกคนต้องรู้ว่าเทคโนโลยีที่กำลังพลิกทุกวงการขณะนี้มีอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นมาดูก่อนว่าทำไมเลข ‘4’ ทำให้เราตื่นเต้นนัก มันสำคัญกับเรามากมายกว่า 1 2 และ 3 ยังไง

 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1   ช่วง ค.ศ. 1760 – 1840 การเกิดรางรถไฟและเครื่องจักรไอน้ำ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมเครื่องจักร จากนั้นทุกอย่างก็พัฒนาไปอย่างชัดเจน ช้าๆ ชิลๆ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2   ปลายศตวรรษที่ 19 – ต้นศตวรรษที่ 20 เกิดการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เพราะมีไฟฟ้าและระบบสายพานการผลิตในโรงงานเข้ามา ไม่ต่างกัน ช้าๆ ชัดเจนๆ แค่เปลี่ยนโลกแห่งการบริโภคขยายตัวมหาศาล

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3   เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เรียกว่า ยุคการปฏิวัติดิจิทัล หรือ การปฏิวัติคอมพิวเตอร์ เพราะเกิดการพัฒนาสารกึ่งตัวนำและเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเปลี่ยนแปลงอ้อยอิ่งอยู่พักหนึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องมหึมาเป็นแค่ของคนจำนวนแค่หยิบมือ อินเตอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเตาะแตะ

และแล้ว
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
 มาถึงอย่างไม่ทันรู้ตัว เมื่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอยู่ในมือทุกคนแม้แต่เด็กประถม มีขนาดเล็กจิ๋วพกพาได้ และราคาถูกลงเรื่อยๆ เกิดสิ่งที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) และจักรกลเรียนรู้ (ML) มาช่วยงานยากๆ แทนมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และชีวิตเราถูกพลิกด้วยระดับความเร็ว ลึก ซับซ้อน มีทั้งความชัดเจนและคลุมเครือ ข้อดีและความเสี่ยง อย่างที่มนุษย์ไม่เคยประสบมาก่อน

ต่อไปนี้คือ 10 เทคโนโลยีที่กำลังสั่นสะเทือนทุกวงการ และสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในปี 2025  

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]ปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence)[/su_note]

ถูกออกแบบให้เรียนรู้ เก็บข้อมูลจากสถานการณ์ และพัฒนาความฉลาดเอง เพื่อการตัดสินใจที่ซับซ้อนขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จึงไม่แปลกที่ปัญญาประดิษฐ์เริ่มเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัท พนักงานบัญชี นักกฎหมาย แพทย์ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นสายงานที่ต้องการความแม่นยำสูง

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว: VITAL คือชื่อของ AI ที่เป็นสมาชิก ‘คนหนึ่ง’ ในคณะกรรมการบริหารบริษัทแห่งหนึ่งในฮ่องกง, Watson คือชื่อ AI ของไอบีเอ็ม ที่วินิจฉัยมะเร็งปอดได้แม่นยำกว่าแพทย์เกือบเท่าตัว

ข้อดี – ประสิทธิภาพการทำงานหลายๆ อย่างสูงขึ้น

ข้อเสีย – การตกงาน, เวลาผิดพลาดใครรับผิด

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things)[/su_note]

พูดง่ายๆ คือ ทุกสิ่งต่อเน็ต ควบคุมผ่านอุปกรณ์เล็กๆ อันเดียวในมือเรา เซนเซอร์ที่อัจฉริยะขึ้นและราคาถูกลงเรื่อยๆ จะถูกติดตั้งไว้กับทุกสิ่ง เราจะสามารถควบคุมกิจการ ฟาร์มสัตว์ ผลิตภัณฑ์ หรืออะไรหรือใครก็ตามที่เราอยากเฝ้าติดตาม เซนเซอร์รับรู้สภาพรอบตัวมันได้อย่างสมบูรณ์ แถมยังตอบสนองอัตโนมัติ รายงานผลให้เรารู้แบบเรียลไทม์บนสมาร์ทโฟน

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:  ระบบ Smarthings ของ SAMSUNG ให้คุณควบคุมทุกอย่างในบ้าน ตั้งแต่ระบบไฟ อุณหภูมิ ล็อค กล้อง ลำโพง ผ่านฮับเล็กๆ หนึ่งตัว ควบคุมจากที่ใดก็ได้ด้วยสมาร์ทโฟน ยังมีอีกหลายบริษัทที่ให้บริการลักษณะเดียวกัน

ข้อดี  –  ความปลอดภัย และข้อมูลที่เที่ยงตรง

ข้อเสีย  – ความเป็นส่วนตัวที่หายไป, แรงงานไร้ฝีมือจะตกงาน

ยังไม่แน่ – การโจรกรรมข้อมูลดิจิทัล

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]เมืองอัจฉริยะ (Smart Cities)[/su_note]

ต่อไปเมืองใหญ่ๆ ไม่ต้องมีไฟจราจรก็ได้ เมื่อถนนและระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และถูกติดตั้งเซ็นเซอร์ที่สุดฉลาด ถนนอัจฉริยะ ที่จอดรถอัจฉริยะ ถังขยะฉลาด ฯลฯ จะกลายเป็นเรื่องปกติ เราเริ่มเห็นสิ่งเหล่านี้แล้วในเมืองที่ก้าวหน้าอย่างสิงคโปร์ และบาร์เซโลนา

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:  เมืองซันตันเดร์ ทางตอนเหนือของสเปน ติดเซนเซอร์ 20,000 ตัวเข้ากับระบบอาคาร ขนส่ง และสาธารนูปโภคต่างๆ นั่นช่วยให้การวางแผนบริหารจัดการเมือง การค้นหาและระบุตัวบุคคล และระบบความปลอดภัยพัฒนาขึ้นอย่างมาก

ข้อดี – คุณภาพชีวิตดีขึ้น, เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

ข้อเสีย – การตกงาน, ผิดพลาดใครรับผิด

ยังไม่แน่ – บรรยากาศของเมือง

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]การพิมพ์สามมิติ (3D Printing)[/su_note]

การพิมพ์สามมิติ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปวัตถุด้วยการเติมเนื้อวัสดุ แทนการใช้แท่นหล่อ กำลังให้โรงงานใหญ่ลดจำนวนลง เมื่อคนทั่วๆ ไปอย่างเราก็ผลิตของอุปโภคบริโภคเองได้ เครื่องพิมพ์สามมิติกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สำนักงานหรืออุปกรณ์ธรรมดาชิ้นหนึ่งในบ้าน แค่ในปี 2014 เครื่องพิมพ์ 133,000 เครื่องถูกส่งไปทั่วโลก ในราคาที่เข้าถึงได้แล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:  คณะแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งประสบความสำเร็จในการฝังข้อกระดูกสันหลังเทียมที่ผลิตจากการพิมพ์สามมิติให้กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งกระดูก เราอาจได้เห็นการฝังตับสามมิติชิ้นแรกในอนาคตอันใกล้

ข้อดี   –  การผลิตที่รวดเร็วและถูกมาก

ข้อเสีย –  คนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตกงาน

ยังไม่แน่ – นวัตกรรมใดๆ ก็อาจถูกลอกเลียน

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]บิ๊กดาต้าเพื่อการตัดสินใจ (Big Data for decision)[/su_note]

ภาพจาก www.bloomberg.com

ถังข้อมูลดิจิตัลขนาดใหญ่ที่ครบเกณฑ์ 4 ประการ ได้แก่

1. Volume — ขนาดใหญ่ มีปริมาณมาก เป็นได้ทั้งแบบ offline หรือ online

2. Variety — มีความหลากหลายทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มี  

3. Velocity — เปลี่ยนแปลงเร็ว ตลอดเวลา วิเคราะห์ข้อมูลแบบแมนนวลได้ยาก

4. Veracity — ต้องมีความไม่ชัดเจน ไม่มีการจัดเรียง  

ต่อไปรัฐบาลจะใช้บิ๊กดาต้าทำสำมะโนประชากรอัตโนมัติแทนการสำรวจแบบเดิม ธุรกิจจะใช้บิ๊กดาต้าพัฒนาสินค้าและบริการ และตอบสนองความต้องการแบบเรียลไทม์

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:   เว็บไซต์ Yelp ใช้บิ๊กดาต้า ช่วยให้ผู้บริโภครู้ข้อมูลร้านอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัยในซานฟรานซิสโก เช่น หากเปิดหน้ารีวิวร้านทาโกส์บนเว็บดังกล่าว ลูกค้าจะเห็นคะแนนความสะอาดของร้านนั้นทันที

ข้อดี   –  ประหยัดต้นทุน, เกิดงานใหม่ๆ

ข้อเสีย –  การตกงาน, ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ยังไม่แน่ – โครงสร้างธุรกิจ กฎหมาย และกฎระเบียบเปลี่ยน

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]เทคโนโลยีฝังกาย (Implantable Technologies)[/su_note]

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

ภาพจาก www.androidheadlines.com

 

เราอาจได้เห็นมือถือแบบฝังในร่างกายเครื่องแรก เกียร์ต่างๆ จะไม่ใช่แค่สวมติดกับร่างกายอีกต่อไป รอยสักอัจฉริยะหรือชิปที่ฝังในร่างกายจะทั้งช่วยสื่อสาร บอกตำแหน่ง อ่านคลื่นสมองเพื่อจับความคิดและอารมณ์ของเรา

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:  รอยสักดิจิทัลในร่างกายใช้ไขเปิดรถได้, สมาร์ตดัสต์ (ฝุ่นอัจฉริยะ) ซึ่งเป็นชิพขนาดเล็กกว่าเม็ดทราย สามารถเข้าไปจัดเรียงตัวในร่างกายมนุษย์ได้แล้ว ต่อไปในทางการแพทย์อาจใช้ทั้งจู่โจมเซลล์มะเร็ง บรรเทาปวด และเก็บข้อมูลสุขภาพของเรา

ข้อดี:  คนพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น, เด็กหายลดลง

ข้อเสีย:  ความเป็นส่วนตัวลดลง

ยังไม่แน่: รูปแบบปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์เปลี่ยนไป

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]ประสาทเทคโนโลยี (Neurotechnologies)[/su_note]


เราจะซื้อความทรงจำประดิษฐ์ได้เหมือนในหนังสุดล้ำอย่าง เบลดรันเนอร์ เรากำลังจะ ได้เห็นมนุษย์คนแรกที่มีความทรงจำประดิษฐ์ติดตั้งในสมองอย่างสมบูรณ์ ด้วยนวัตกรรมประสาทเทคโนโลยี ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเฝ้าดูกิจกรรมในสมองของมนุษย์ว่าเปลี่ยนแปลงและตอบโต้กับโลกอย่างไรบ้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:   สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) รักษาอาการซึมเศร้าในหนูด้วยการกระตุ้นความทรงจำที่ดีแบบเทียมให้มัน, โครงการ DARPA กำลังพยายามเก็บความทรงจำที่ชัดแจ้งของมนุษย์ นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างหรือฟื้นฟูความทรงจำให้กับมนุษย์

ข้อดี – รักษาอาการทางจิต, ใช้จิตควบคุมอุปกรณ์ได้

ข้อเสีย – เส้นแบ่งระหว่างความเป็นมนุษย์กับเครื่องจักรเลือนราง

ยังไม่แน่ – มนุษย์เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]บิตคอยน์ และ บล็อกเชน (Bitcoin and Blockchain)[/su_note]

ระบบดิจิทัลที่ทำให้ธุรกรรมใดๆ ไม่ต้องพึ่งบุคคลที่สามคอยตรวจสอบ และมีความปลอดภัยสูง โดยบิตคอยน์ คือ สกุลเงินดิจิทัลที่มีระบบบิตคอยมารองรับ ในตอนนี้มีบิตคอยน์มูลค่าราวๆ สองหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (0.025 % ของจีดีพีโลก) อยู่ในบล็อกเชน บล็อคเชนเข้าไปเกี่ยวข้องได้ในทุกอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่ในแวดวงการเงินเท่านั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว: ขณะนี้เว็บไซต์ Smartcontracts.com ให้บริการสัญญาฝังโค้ด ที่จ่ายเงินระหว่างคู่สัญญาอัตโนมัติเมื่อสองฝ่ายบรรลุเงื่อนไขบางอย่าง “สัญญาอัจฉริยะ” นี้ถูกเก็บอย่างปลอดภัยอยู่ในบล็อกเชน

ข้อดี   –   บริการทางการเงินใหม่ๆ, ธุรกรรมทางการเงินและกฎหมายไม่ต้องใช้ตัวกลาง

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy)[/su_note]

ธุรกิจแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องมีสินค้าเป็นของตัวเอง อย่าง Zipcar หรือ Uber ทำให้เกิดการจัดหาและแบ่งปันการใช้สินค้าและบริการ ทุกวันนี้และในอนาคตการ ‘เข้าถึง’ สิ่งที่ต้องการได้ทันที สำคัญกว่าการเป็นเจ้าของ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว: Amazon ค้าปลีกโดยไม่ต้องมีร้านค้าแม้แต่ร้านเดียว หรือ Airbnb ผู้บริการที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลกไม่ได้ต้องมีโรงแรมแม้แต่แห่งเดียว

ข้อดี   –  การผลิตลดลง, ให้สินทรัพย์คุ้มขึ้น, สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

ข้อเสีย –  วัดผลทางเศรษฐกิจได้ยากขึ้น

ยังไม่แน่ – ความหมายของ ‘การเป็นเจ้าของ’ จะเปลี่ยนไป

 

[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]มนุษย์ออกแบบได้ (Designer Beings)[/su_note]

 

มนุษย์คนแรกที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมอาจกำลังถือกำเนิดขึ้น จริงๆ แล้วการผลิตยีนทั้งหมดของมนุษย์ทำได้ตั้งแต่ ปี 2003 แล้ว  เทคโนโลยีการจัดลำดับพันธุกรรมทำให้การปรับแต่งจีโนม (ดีเอ็นเอทั้งหมดในมนุษย์คนหนึ่ง) มีราคาถูกลงเหลือแค่ราว 1,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว:  วิธีการที่เรียกว่า CRISPR/Cas9 ช่วยให้ดัดแปลงลำดับของสายดีเอ็นเอในเซลล์สิ่งมีชีวิตตามที่ต้องการ เพิ่มความหวังในการรักษาโรคทางพันธุกรรมมากมาย ปี 2015 นักวิจัยในกวางโจวประยุกต์วิธีนี้มาเปลี่ยนดีเอ็นดีตัวอ่อนมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก

ข้อดี   –   โรคทางพันธุกรรมลดลง, พืชผลที่แข็งแรง

ข้อเสีย –  การวัดผลทางเศรษฐกิจจะทำได้ยากขึ้น

ยังไม่แน่ – จริยธรรมเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์  

 

เตรียมความพร้อมเข้าสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 

ได้ในหนังสือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่


บทความอื่นๆ

Black Mirror กระจกสะท้อนภาพการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า