10 เรื่องอึกทึก ที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับกาหลมหรทึก

ถ้าให้พูดถึงนวนิยายสืบสวนสอบสวนสัญชาติไทยที่เป็นหมุดหมายแห่งความสนใจในปัจจุบัน ชื่อแรกๆ ที่หนอนหนังสือนึกถึงคงหนีไม่พ้น กาหลมหรทึก จากปลายปากกาของนักเขียนหนุ่ม ปราปต์ เจ้าของรางวัลนวนิยายยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ประจำปีพ.ศ. 2557 อย่างแน่นอน

อย่างที่หลายคนทราบ นวนิยายเรื่อง กาหลมหรทึก กำลังได้รับการสร้างสรรค์ในรูปแบบละครโทรทัศน์ ทางช่อง ONE 31 ที่มีกำหนดฉายในปีหน้า สร้างความตื่นเต้นและรอคอยให้บรรดาแฟนๆ เริ่มนับถอยหลังให้ถึงวันอันเหล่าตัวละครที่เคยแต่เพียงโลดแล่นอยู่บนกระดาษจะออกมามีชีวิต เชือดเฉือน ติดตาม หลั่งเลือดกันให้เห็นคาตาระหว่างรอ เรามีเรื่องลับลวงแต่อึกทึกเกี่ยวกับนวนิยายมาสเตอร์พีสชิ้นนี้ที่ปราปต์ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนมาให้อ่านกันเชื่อเถอะว่าหลังอ่านจบ คุณจะต้องกลับไปอ่านมันอีกครั้งไม่ก็ใจจดจ่อเร่งวันเวลาให้ละครเรื่องนี้ถึงฤกษ์ฉายเสียที 

กาหลมหรทึก เรื่องที่ถูกจุดขึ้นระหว่างนั่งรถ

ใครจะเชื่อว่าที่มาของเรื่องราวที่แสนแยบคาย ซับซ้อน เต็มไปด้วยวิจิตรในการเรียงลำดับเหตุการณ์อย่างกาหลมหรทึกจะเกิดขึ้นขณะที่ปราปต์อยู่บนรถ!วันหนึ่งขณะนั่งรถไปต่างจังหวัด ปราปต์ได้ฟังสกู๊ปทางวิทยุแนะนำเกี่ยวกับลักษณะคำประพันธ์ที่เรียกว่า กลโคลง เจ้าตัวสะดุดหูตั้งใจฟัง ระหว่างฟังก็คิดไปถึงนิยายแนวสืบสวนถอดรหัสลับสไตล์ The Da Vinci Code – รหัสลับดาวินชี ของ แดน บราวน์ แรงบันดาลใจนี้ถูกพับเก็บอยู่ในใจเขาหลายปี กระทั่งปลายปีพ.ศ. 2556 ปราปต์ได้ข่าวการประกวดต้นฉบับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดเข้า ให้ประจวบเหมาะไปอีกว่าในปีนั้น ในหมวดนวนิยายของรางวัลนายอินทร์ฯ จัดประกวดในแนวสืบสวนสอบสวนพอดี เขาจึงหยิบไอเดียนี้มาต่อยอดจนกลายเป็นกาหลมหรทึกอย่างที่เห็นและเป็นอยู่

The Da Vinci Code – รหัสลับดาวินชี (แพรวสำนักพิมพ์)

แดน บราวน์ แห่งสยามประเทศ

แม้จุดเริ่มต้นจะมีแรงบันดาลใจสำคัญหนึ่งมาจาก The Da Vinci Code และงานที่ออกมาจะมีกลิ่นไอของนวนิยายสไตล์ แดน บราวน์ อยู่บ้างจนถูกยกมาเปรียบเปรยว่าเป็น แดน บราวน์ แห่งสยามประเทศ แต่ในความเป็นจริง ตอนที่เขียนกาหลมหรทึก ปราปต์มี Reference ถึงงานสืบสวนสอบสวนในโลกมากมายอีกหลายเรื่อง อาทิ

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน / วินทร์ เลียววาริณ        

จิตกาธาน / สรจักร

The Other Side of Midnight – ไฟรัก ไฟพยาบาท / ซิดนีย์ เชลดอน

รวมถึงงานในตระกูลคินดะอิจิยอดนักสืบ / โยโคมิโซะ เซชิทั้งหมดนี้เป็นที่มาของอารมณ์สยองขวัญหวั่นปลายเท้าในกาหลมหรทึก ซึ่งเป็นงานแนวที่ปราปต์ชื่นชอบ 

เพราะไฟลนจึงต้องค้นข้อมูล

การเก็บพล็อตเรื่องไว้ในใจโดยไม่ได้เขียนออกมาสักที นั่นทำให้ตอนทราบข่าวโครงการประกวดต้นฉบับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดมีจำนวนตัวอักษรบนหน้ากระดาษเท่ากับ 0 ปราปต์ต้องกลั่นทุกอย่างในหัวออกมาให้ทันกำหนดปิดรับในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อินเทอร์เน็ตจึงเป็นจักรวาลสำคัญที่เจ้าตัวใช้เวลาแหวกว่ายควานหาข้อมูลสำคัญต่างๆ เพื่อใช้ในงานของตัวเอง เท่านั้นไม่พอ เขาต้องลางานเพื่อแอบไปค้นข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุ (ขอบคุณพระเจ้าที่ตึกมันอยู่ติดกัน!) นอกจากนั้นก็ยังต้องตระเวนไปดูสถานที่จริงเพื่อเก็บบรรยากาศและตรวจหาเกร็ดประวัติเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เรื่องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปด้วย  นับเป็นทริปเร่งด่วนที่สนุกมากจนอยากให้คนอ่านหาโอกาสไปตามรอยบ้างจริงๆ   (รูปสถานที่บางส่วนที่ปราปต์เดินทางไปถ่ายด้วยตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในเรื่อง)

ตรอกศาลาต้นจันทน์ย่านวัดระฆัง อันเป็นที่อยู่ของนางเรือน (จุดเกิดเหตุคดีของเด็กหญิงวาด)

 

 

 

กุฎิคณะ 11 วัดประยุรวงศาวาส อันเป็นที่เกิดเหตุคดีของพระมหาสุชีพ

 

ย่านเยาวราช สะพานภาณุพันธ์ อันเป็นที่เกิดเหตุคดีของนายลุ

 

ย่านสามแพร่ง อันเป็นที่ตั้งของร้านขนมหวานเนื่องนวล (จุดเกิดเหตุคดีของนายผดุงศักดิ์)

บ้านเก่าบริเวณพระนครพณิชยการที่ใช้เป็นต้นแบบของบ้านประพนธ์ธรรม

  

 

ศิลาจารึกกลโครงในวัดโพธิ์

 

  

 

ศาลเจ้าเกียนอันเกง ย่านกุฎีจีน ซึ่งใช้เป็นฉากในตอนจบ 

 พระเอกของเรื่องไม่ใช่เวทางค์!

ปราปต์บอกกับเราว่า พระเอกตัวจริงของกาหลมหรทึกนั้นไม่ใช่ พ.ต.ท. เวทางค์ ภิรมย์รุจ ทว่าเป็นกลโคลงบทนั้นต่างหาก ซึ่งพระเอกรายนี้ถือกำเนิดขึ้นบนโลกตั้งแต่วันที่เนื้อเรื่องกาหลมหรทึกยังไม่ได้เริ่มเขียน จากนั้นก็ถูกผ่าตัดศัลยกรรมเรื่อยไปเพื่อให้เข้ากับเนื้อเรื่องมากที่สุด เช่นโพธิ์พลิ้วลิ่วกิ่งหล้อง      ราพลิ้วโพธิ์เหย้าแล้งลมลิว       สะเหย้าโพธิ์เพริศแต่พิศผิว        ฤาเพริศโพธิ์… (เวร! แต่งต่อไม่ได้!)หรือจะเป็นโพธิ์พลิ้วลิ่วกิ่งหล้อง      ราพลิ้วโพธิ์เหย้าแล้งผากผิว      แผกเหย้าโพธิ์แตกสิต่อทิว           พงศ์แตกโพธิ์ให้โหนแหย่งเย้า      เหย่าให้โหนแหย่ง           บทล่างนี้คงอยู่จนเขียนเกือบจบเรื่องแล้วด้วยซ้ำ ก่อนเจ้าตัวจะมาพบว่ามันผิดฉันทลักษณ์ จึงต้องแก้ใหม่เป็นบทปัจจุบัน (ทายถูกกันไหมว่าผิดฉันทลักษณ์ตรงไหน)

นวนิยายเรื่องนี้เกือบจะมีชื่อว่า รอระยำโยงเยง

เนื่องจากนิยายเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับโคลงสี่สุภาพ ตอนที่ตั้งชื่อปราปต์ก็เลยพยายามหาชื่อที่มาจากท่อนหนึ่งในโคลง (ทำนองเดียวกับ สายบ่หยุดเสน่ห์หาย หรือ ธรณีนี่นี้ใครครอง) แต่การนำส่วนหนึ่งของโคลงมาใช้กับนิยายสืบสวนระทึกขวัญนั้นค่อนข้างหาที่คล้องกันลำบาก เลยต้องค้นนานพอสมควร และข้างล่างนี่คือส่วนหนึ่งของเรื่องที่เจ้าตัวลิสต์ไว้โพยมมาศมืดมัวดาว    เดือนดับเวรวิบัติใดจุง             จากเจ้ารอระยำโยงเยง         แย่งร้างเวรานุเวรเวียน         บำราศจักนิราทุกข์เท้า      ตราบสิ้นกรรมเรียมฯลฯที่สุดก็ยังไม่พอใจ เจ้าตัวบอกว่าคงประหลาดน่าดูในการเชิญชวนคนอ่านว่า “มาอ่าน รอระยำโยงเยง กันเถอะ” (ต้องขอบคุณปราปต์อย่างมากที่ไม่ใช้ชื่อนี้)

[su_quote]เนื่องจาก กาหลมหรทึก มีเนื้อเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับโคลงสี่สุภาพ ตอนที่ตั้งชื่อปราปต์ก็เลยพยายามหาชื่อที่มาจากท่อนหนึ่งในโคลง[/su_quote]

จบที่ กาหลมหรทึก

มหกรรมตามหาชื่อเรื่องจบลงเมื่อปราปต์ได้ผ่านตาท่อนหนึ่งในโคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ความว่ากาหลหรทึกแล้             เสียงสังข์เรียมบฟังเลยฟัง           ข่าวน้องฆ้องคึกบันดาลหวัง       เสียงเสน่ห์เสน่ห์มารุมรึงข้อง         ขุ่นข้องอารมณ์จะเห็นว่าชื่อจริงๆ ที่ควรจะเป็นของหนังสือเล่มนี้คือ กาหลหรทึก ต่างหาก แต่ปราปต์จำผิดเป็น กาหลมหรทึก (ชื่อปัจจุบัน) และเรียกชื่อนี้ติดปากมาโดยตลอด กว่าจะรู้ว่าผิดก็เมื่อเขียนเกือบจบแล้ว โชคดีที่พอไปหาความหมายของชื่อที่เรียกผิดกลับพบว่า หรทึก กับ มหรทึก นั้นแปลเหมือนกัน คือ กลองมโหระทึก นั่นเองปราปต์จึงถือเป็นฤกษ์ดีที่จะใช้ กาหลมหรทึก ต่อไป เพราะ มหรทึก นั้นย่อมยิ่งใหญ่กว่า หรทึก แน่นอน

ความหมายที่แท้จริงของ กาหลมหรทึก

โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัยนั้นว่าด้วยการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี โดยมีการบรรยายเหตุการณ์และสถานที่ควบคู่ไปกับอารมณ์ความคิดถึงตามแบบฉบับของนิราศ (การเขียนนิราศในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นิยมเขียนเป็นโคลง)ในท่อน กาหลหรทึกแล้ เสียงสังข์ นั้นกล่าวถึงเสียงเครื่องดนตรีที่ผู้ประพันธ์ได้ฟังและทำให้คิดถึงคนรัก กาหล หมายถึงแตรงอน ส่วน หรทึก คือกลองมโหระทึกอย่างไรก็ตาม เมื่อนำใช้เป็นชื่อเรื่อง ปราปต์เลือกจะใช้คำแปลอีกอย่างของ กาหล ว่า โกลาหล หรือความวุ่นวาย ฉะนั้น กาหลมหรทึก จึงมีความหมายโดยตรงว่า เสียงกลองที่ดังอึกทึกโกลาหล และมีความนัยตามที่ คุณสุภาวดี โกมารทัต บรรณาธิการต้นฉบับ จำกัดความให้ว่า “เรื่องวุ่นวายที่อึกทึกครึกโครมและชวนหวาดผวายิ่ง”

 ปกทำมือ

นักเขียนหนุ่มของเราเป็นผู้มีไอเดียบรรเจิดเลิศภพ ทั้งๆ ที่มีเวลาเขียนน้อยอยู่แล้วปราปต์ก็ยังอุตส่าห์เจียดเวลามานั่งทำปกสำหรับปะหน้าส่งประกวดด้วย หวังใจให้แสดงถึงความใส่ใจ เรียบร้อย สะดุดตาคณะกรรมการ หารู้ไม่ว่าทันทีที่ต้นฉบับถูกส่งถึงกองประกวด ปกหน้าที่เจ้าตัวพิถีพิถันใส่ใจทำมันขึ้นมากลับถูกฉีกทิ้งเป็นสิ่งแรกเนื่องจากคณะกรรมการจะต้องไม่เห็นชื่อผู้ส่งเข้าประกวด (ฮา)

ปกฉบับแฮนด์เมด 

 หนังสือล่ารางวัล

อย่างที่ทราบกันดี ผลของการโดดงานไปหาข้อมูลบวกกับแรงมุ่งมั่นทุ่มเทที่ปราปต์มีให้กาหลมหรทึก ส่งผลให้งานชิ้นนี้เดินหน้ากวาดรางวัลจากเวทีการประกวดวรรณกรรมมาแล้วแทบจะทุกรางวัล ทั้ง รางวัลนวนิยายยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ประเภทสืบสวน ประจำปีพ.ศ. 2557 นอกจากนี้ยังมี รางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีพ.ศ. 2558, รองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด ปีพ.ศ. 2558 ทั้งยังไปไกลถึงรอบสุดท้าย (Short List) ของเวทีรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A Write) ในปีเดียวกันอีกด้วย

[su_quote]กาหลมหรทึก เดินหน้ากวาดรางวัลจากเวทีการประกวดวรรณกรรมมาแล้วแทบจะทุกรางวัล [/su_quote]

ตามรอยกาหลมหรทึก คดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญ จากหนังสือดังสู่ละครช่องวัน 31

Spoiler Alert!!

สำหรับผู้ที่ยังไม่อ่าน เราขอแนะนำให้ท่านข้ามข้อนี้ไป เตือนแล้วนะ!

 

[su_note note_color=”#e8c0b7″]

Deleted Scene เกร็ดเล็กๆ ที่ไม่ปรากฏในเรื่อง

 

– กิจการที่ นายทองนอก บิดาของพะนอนิจประกอบอยู่ที่อำเภอปากน้ำโพคือการทำธุรกิจเกี่ยวกับป่าไม้ นายทองนอกเองก็ไม่ใช่คนซื่อสัตย์บริสุทธิ์ การที่เขาเดินทางลงมายังพระนครก็เพื่อเจรจาเรื่องสัมปทานป่าไม้ ก่อนจะถูกใส่ความคดีกบฎบวรเดชในปี พ.ศ. 2476

 

– หลังจากที่พะนอนิจถูกหมอเตชคะยั้นคะยอให้หนีสงครามไปอยู่ที่ผักไห่ด้วยกัน และสารวัตรเวทางค์ขอให้พะนอนิจทำตามเพื่อความปลอดภัย เธอตัดสินใจแอบนำยาถ่ายผสมลงในขนมปลากริมไข่เต่าที่หมอเตชซื้อมาฝาก เมื่อเด็กชายวินธัยกินจึงท้องเสียและต้องรีบนำส่งเข้าโรงพยาบาลศิริราชภายในวันนั้น พะนอนิจจึงสามารถล่มความตั้งใจของหมอเตชลงได้ และทำให้ตัวเธอยังคงอยู่ที่พระนครเพื่อดำเนินแผนการต่อไป

 

– เนื่องจากในเนื้อเรื่องเล่าจากมุมตำรวจเป็นส่วนใหญ่ ปราปต์จึงไม่มีโอกาสลงลึกรายละเอียดในแผนการของฆาตกรมากนัก ยกตัวอย่างเช่น อันที่จริง แผนการของพะนินิจคือ ตั้งใจให้พระเฟื้องกับหมอเตชตีกันเอง เหลักฐานที่ไปแปะหมอเตชจะแสดงให้พระเฟื้องเห็นว่าหมอเตชเป็นคนลงมือกระทำการเอง เพื่ออะไร? ก็เพื่อแก้แค้นแทนนายทองนอกพ่อของเธอ พูดง่ายๆ เหมือนคุณหนอโยนการกระทำของตัวเองทั้งหมดไปให้หมอเตช เพื่อให้หมอเตชล่อพระเฟื้องออกมาสารภาพบาปตามที่พะนอนิจทำนั่นเอง

ในส่วนแรงจูงใจของหมอเตช พะนอนิจจะอาศัยความเข้าใจผิดของคนอื่นๆ เรื่องการที่หมอเตชรับเธอเป็นลูก พะนอนิจรู้ดีว่าพระเฟื้องจะต้องสืบพบว่าพ่อของเธอคือคนที่เขาใส่ร้าย แต่ความเข้าใจผิดที่ว่าพ่อของเธอเป็นน้องแท้ๆ ของหมอเตชจะช่วยเบี่ยงเบนผู้มีแรงจูงใจมากที่สุดจากตัวเธอไปที่หมอเตชแทน เธอตั้งใจให้พระเฟื้องฆ่าหมอเตช จากนั้นเธอจึงกะจะจูงให้ตำรวจไปจับพระเฟื้องอีกที ในส่วนนี้ทุกคนรวมถึงตำรวจก็จะเข้าใจว่าหมอเตชเป็นฆาตกรฆ่าทุกศพ และพระเฟื้องจะต้องตามฆ่าปิดปากคนที่จะเปิดโปงเขาอีกต่อหนึ่ง

การที่เตชเมาแล้วหลุดปากออกมาว่าน้องชายตัวจริงตายตั้งแต่เกิดจึงเป็นกุญแจดอกสุดท้ายที่ไขปมชี้ไปที่พะนอนิจและพระเฟื้องไล่ตามทันจนแผนของเธอพังทลาย แต่เนื่องจากพระเฟื้องสำนึกผิดก็เลยสร้างหลักฐานเท็จซ้อนไปอีกทีว่าตัวเองเป็นคนก่อการทั้งหมด หลักฐานสำคัญๆ ส่วนใหญ่ถูกยัดไว้ที่บ้านนายกล้าและถูกค้นพบโดยนายตำรวจที่ไปบ้านนายกล้าพร้อมกับกบี่ กบี่เป็นคนไปเจอ ตอนที่มาหาคุณพะนอนิจที่ศาลเจ้าจีนจึงสรุปแบบนั้น

 

-พะนอนิจ มีชื่อสกุลเดิมว่า พะนอนิจ ป้อมมงคล ส่วนพระเฟื้องมีชื่อสกุลเดิมว่า เฟื้อง นรชัย ก่อนลาออกจากราชการไปบวชเป็นพระ เฟื้องมีตำแหน่ง พันตำรวจเอก อยู่ในสันติบาลกอง 1 (สืบสวนปราบปรามโจรผู้ร้าย) ตำแหน่งผู้กำกับการ

 

-การเลือกให้พะนอนิจท้องนั้น เหตุผลเริ่มแรกเป็นเพราะปราปต์คิดว่า ความเป็นนางเอก แถมยังตั้งท้องลูกอ่อนๆ คงทำให้คนอ่านมองข้ามเธอไปได้ อย่างไรก็ตาม มันช่วยเปิดทางสู่ฉากสุดท้ายซึ่งเป็นการปรากฏตัวเพียงฉากเดียวของเด็กหญิงไวทิพย์ ไอเดียการจบเรื่องด้วยซีนนี้แวบเข้ามาในหัวปราปต์หลังจากเขียนเนื้อเรื่องไปได้เกินครึ่ง กระทั่งถึงตอนจบก็ยังละล้าละลังว่านี่จะเป็นตอนจบที่รุนแรงเกินไปสำหรับการประกวดงานวรรณกรรมหรือไม่ (ปกติปราปต์ไม่อ่านงานแนวประกวด) แต่สุดท้ายเพราะชอบซีนนี้มาก จึงตัดสินใจใส่ลงไป และถึงทุกวันนี้ปราปต์ยังคงขอบคุณตัวเองที่เลือกตัดสินใจแบบนั้น

 

-แชนรอดมาได้จากบ้านของนายฮวดเพราะแผนไฟไหม้ของกบี่ เมื่อกลับมาที่บ้านเจอกบี่ เขาบอกว่า “เดี๋ยวคืนนี้ป๋าจะตอบแทนพระคุณให้ถึงใจเลย” ในที่นี้แชนหมายถึงเขาจะทำกับข้าวให้กบี่กิน ไม่ได้หมายถึงไปกินกันเองแต่อย่างใด

 

[/su_note]

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

฿ 175.00 ฿ 148.75

  บทความที่เกี่ยวข้อง

7 thoughts on “10 เรื่องอึกทึก ที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับกาหลมหรทึก

  1. นิภาภรณ์ says:

    ชอบเรื่องแนวนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วค่ะ สนุกและชวนติดตามมากค่าาาาา???

  2. Pingback: ตามรอยกาหลมหรทึก: คดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญ จากหนังสือดังสู่ละครช่องวัน 31

  3. Pingback: ไขความระทึก! อะไรที่ทำให้ "กาหลมหรทึก" เป็นนวนิยายยอดนิยม

  4. Pingback: ที่นี่มีคนตาย! 7 จุดสำคัญในประวัติศาสตร์จากนวนิยาย กาหลมหรทึก

  5. Pingback: 8 นักเขียนคลื่นลูกใหม่ผู้เป็นบทพิสูจน์ว่า "วรรณกรรมไทย" ยังไปต่อได้

  6. Pingback: ความท้าทายใหม่อีกครั้งของ "ปราปต์" กับผลงานใหม่ที่รอคอย "ลิงพาดกลอน"

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า