จัดระเบียบความคิด

3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

การ จัดระเบียบความคิด เป็นพื้นฐานในชีวิตของทุกเพศทุกวัย ถ้าอยากเป็นคนที่จัดเบียบความคิดเก่ง ต้องนึกถึงเหตุผลที่ทำให้จัดระเบียบความคิดไม่ได้เสียก่อน แล้วค่อยหาทางแก้ไข

อะไรที่ทำให้คุณ จัดระเบียบความคิด ไม่ได้บ้าง

• มีเรื่องให้คิดมากเกินไป

• ไม่เคยคิดจะจัดระเบียบความคิดเลย

• รำคาญการจัดระเบียบความคิด

• ไม่รู้วิธีจัดระเบียบความคิดที่เหมาะกับตัวเอง

• จดบันทึกไว้ตลอด แต่ก็ไร้ผล

• ไม่ชอบการจัดระเบียบความคิด

• ไม่เคยเรียนการใช้เครื่องมืออย่าง Mind Map มาก่อน

• ปัญหาซับซ้อนมาก

• สมองช้ากว่าคนอื่น

คำตอบที่ได้ยินมากที่สุดก็คือ “รำคาญการจัดระเบียบความคิด” หมายความว่า พวกเขาจัดระเบียบความคิดได้ แต่รำคาญ เลยไม่ทำ  แต่เหตุผลจริงๆ ที่ทำให้คุณจัดระเบียบความคิดไม่ได้ มี 3 ข้อดังนี้

มองไม่เห็นความคิดอย่างเป็นรูปธรรม

สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตัว เช่น โต๊ะหนังสือ ตู้เสื้อผ้า หรือเอกสารจะจัดระเบียบได้ง่ายกว่า แต่ความคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มองไม่เห็น คุณจึงต้องทำความเข้าใจสิ่งนี้ก่อนจะเข้าใจความคิดของตัวเอง

สมองส่วนหน้าของคนเรา มีหน้าที่วินิจฉัยความคิด เราใช้สมองส่วนหน้ามากที่สุดเวลาทำงานหรือเรียนหนังสือ จึงมีอีกชื่อว่า “สมองทำงาน” หรือ “สมองเรียนหนังสือ”

หน้าที่สำคัญที่สุดของสมองส่วนหน้าก็คือการจัดระเบียบความคิด เวลาอ่านหนังสือ ตัวหนังสือที่เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารจะส่งไปยังสมองส่วนหน้าผ่านการรับรู้ทางสายตา แล้วสมองส่วนหน้าจะถูกกระตุ้นเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหานั้นๆ กระบวนการนี้จะทำให้พลังของการคิดแข็งแกร่งขึ้น เวลาอ่านหนังสือ เราไม่ควรรับข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ควรนำมาจัดระเบียบความคิดด้วย

งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า สมองที่ฉลาดคือสมองที่สมองส่วนหน้าทำงานอย่างคล่องแคล่ว เพราะเมื่อเทียบกับสมองส่วนอื่นแล้ว สมองส่วนหน้าจะทำงานหลายมิติมากกว่า ทั้ง คิด วางแผน ตั้งสมาธิ ใคร่ครวญ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา เป็นต้น

เรียนรู้การใช้เครื่องมือจัดระเบียบความคิด

ถ้าเข้าใจการทำงานของสมองส่วนหน้าแล้ว ลองมาดูเครื่องมือจัดระเบียบความคิดกัน การเข้าใจความคิด หมายถึงการใช้เครื่องมามือจัดระเบียบจนเข้าใจความคิด ถ้าถามถึงเครื่องมือจัดระเบียบความคิดที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็คงมีประมาณนี้

“จดบันทึก” “Mind Map” “Logic Tree 3” “Brainstorming”

เรารู้จักเครื่องมือการจัดระเบียบน้อยกว่าที่คิด จริงๆ แล้วเครื่องมือการจัดระเบียบความคิดมีทั้งหมด 300 อย่าง สิ่งสำคัญไม่ใช่การรู้จักเครื่องมือมากหรือน้อย แต่เป็นการนำไปใช้อย่างถูกต้องต่างหาก

หลายคนใช้ “Mind Map” จัดระเบียบความคิดเวลาทำงานหรือเรียนหนังสือ โดยการยึดหัวข้อหลักเป็นฐาน แล้วเพิ่มกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ เวลาประชุมหรือคิดไอเดียก็ใช้ “Brainstorming”  เวลาตั้งเป้าหมายหรือตัดสินใจก็ใช้ “Mandala Art” ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแก้ปัญหาหรือคิดอย่างเป็นเหตุผลก็ใช้ “Logic Tree 3” เวลาอยากจัดระเบียบหรือขยายขอบเขตความคิดก็ใช้ “Questing Map”

ถ้าเข้าใจสถานการณ์และเป้าหมายเราจะใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

เลือกใช้เครื่องมือจัดระเบียบความคิดให้ถูกต้อง

เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล เครื่องมือจัดระเบียบความคิดที่เคยใช้ในยุคแอนะล็อกก็เปลี่ยนไป ซึ่งทั้งสองอย่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เราจึงควรนำมาใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและสถานการณ์

ข้อดีของเครื่องมือในยุคแอนะล็อกคือ ใช้ง่าย บันทึกได้ทุกที่ ทั้งยังช่วยจัดระเบียบได้อย่างสร้างสรรคื เช่น หากใช้เครื่องมือช่วยจัดระเบียบความคิด สมองจะได้รับการกระตุ้น ทำให้คิดได้ลึกซึ้งและกว้างขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดตรงแก้ไข ลบ หรือย้ายยาก ในขณะที่เครื่องมือยุคดิจิทัลทำได้

ข้อดีของเครื่องมือยุคดิจิทัล คือ แนบไฟล์ทีเกี่ยวข้องและเพิ่มรูปภาพได้ ทั้งยังช่วยจัดระเบียบความคิดได้เร็ว และค้นเนื้อหาที่บันทึกไว้ได้ง่าย แต่ถ้าเครื่องมือนั้นเสียหาย หรือโปรแกรมมีปัญหาจนไฟล์หายไปก็กู้คืนได้ยาก

ลองหาเครื่องมือจัดระเบียบความคิดที่เหมาะสมกับตัวเอง แล้วนำมาปรับใช้ ถ้าอยากจัดระเบียบความคิดให้เก่ง เราก็ควรค้นหาโค้ดที่เชื่อมความเป็นแอนะล็อกและดิจิทัลเข้าด้วยกัน พูดง่ายๆ คือ ควรใช้เครื่องมือทั้งยุคแอนะล็อกและยุคดิจิทัลร่วมกันนั่นเอง

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีจัดระเบียบสมองและจิตใจแบบง่ายๆ ฝึกสมองให้มองแต่ความสุข

เทคนิคบริหารเวลา แบบคนรวยที่ทำงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

5 วิธีแก้นิสัยหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

วิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองฉบับเร่งรัด เป็นคนใหม่ได้ง่ายๆ ใน 5 สัปดาห์

One thought on “3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

  1. Pingback: เทคนิค การระดมสมอง (Brainstorm) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด!

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า