3 เทคนิคเพื่อเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง

สาเหตุที่เป็นอุปสรรคของ “ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง” มีอยู่หลายอย่าง แต่สรุปได้ว่าในบรรดาสาเหตุต่าง ๆ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ “การเคี้ยวเอื้อง” ความหมายของ “การเคี้ยวเอื้อง” คือ พฤติกรรมของวัวที่สำรอกหญ้าจากกระเพาะ แต่ “การเคี้ยวเอื้อง” ในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมการคิดถึงข้อด้อยหรือความผิดพลาดของตัวเองในอดีตซ้ำไปมา “3 เทคนิคเพื่อเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง” จะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง ซึ่งเป็นต้นตอทำให้ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงหายไปจากชีวิตของคุณ !

1. เทคนิคเพิ่มความตระหนักรู้ให้ตัวเอง

เทคนิคที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมการตระหนักรู้ในตัวเองคือ “คำถาม What” ซึ่งหมายความตามชื่อเรียกคือเป็น วิธีใช้คำถาม “อะไร” (What) ในการจัดการกับปัญหาหรือข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนสำหรับการคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมองตามความเป็นจริง ขอยกตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาโปรเจ็กต์ที่ทำมาเกิดล้มเหลว คำถาม What “ควรทำ ‘อะไร’ เพื่อควบคุมให้ความล้มเหลวนี้ก่อความเสียหายน้อยที่สุด และสิ่งจำเป็นเพื่อให้สามารถใช้ความล้มเหลวนี้ให้เกิดประสิทธิภาพคือ ‘อะไร'” อาจมีหลายคนที่เห็นตัวอย่างนี้แล้วคิดว่า “ก็เรื่องปกตินี่” เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วคิดว่า“ควรทำอะไรดี” ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วไม่เห็นต้องยกขึ้นมาเป็น “เทคนิคสุดยอด” ให้ดูเป็นเรื่องพิเศษเลย แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น เรามักมีแนวโน้มเผลอใช้คำถามว่า “ทำไม” (Why)

ลองดูจากตัวอย่างที่ยกขึ้นมาก่อนหน้า ปัญหาโปรเจ็กต์ที่ทำมาเกิดล้มเหลว ปฏิกิริยาโดยทั่วไป “ทำไมโปรเจ็กต์ถึงล้มเหลว ‘ทำไม’ เราถึงทำเรื่องผิดพลาดอย่างนั้น” หลังจากที่เกิดปัญหาขึ้น การอยากรู้ถึงสาเหตุของปัญหาคือปฏิกิริยาที่สุดแสนจะเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะในด้านการงานหรือในเรื่องส่วนตัว เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้น ไม่ว่าใครก็มักถามตัวเองว่า “ทำไม” โดยไม่ได้ตั้งใจ

แต่ถ้าดูจากมุมมองของการตระหนักรู้ในตนเอง ไม่ได้มีหลายกรณีนักที่คำถามนี้จะทำหน้าที่ได้ดีเพราะขอบเขตคำตอบของคำถามว่า “ทำไม” นั้นกว้างเกินไป ทำให้มีหลายกรณีที่ไม่อาจรู้คำตอบที่ถูกต้องได้ตั้งแต่ต้น คำถาม “ทำไม” ไม่ดีคือข้อเสียที่ว่า “มักทำให้เกิดความคิดด้านลบ” คำถามว่า “ทำไม” ไม่เพียงแต่ไม่เหมาะในการนำทางไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง แต่ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ทำให้จิตใจเกิดอารมณ์เศร้าหมองด้วย

2. เทคนิคเดี๋ยวค่อยคิด

วิธีการรับมือกับการเคี้ยวเอื้องเทคนิคที่ 2 คือ “เอาไว้ก่อน” หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นวิธีข้ามสถานการณ์ตอนนี้ไปก่อน โดยบอกกับตัวเองว่า “เดี๋ยวค่อยคิดเรื่องแย่ ๆ เรื่องนี้” อาจคิดว่าทำแบบนั้นแล้วจะหลีกเลี่ยงการคิดแบบเคี้ยวเอื้องได้เหรอ แต่นี่คือเทคนิคหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเพนน์สเตตในสหรัฐอเมริกาพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง โดยทีมวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่มักมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดแบบเคี้ยวเอื้องเขียนลงในกระดาษเตรียมไว้แบบนี้

  • บ่าย 3 โมงเย็นเป็นต้นไปจะเริ่มกังวลเกี่ยวกับโปรเจ็กต์งานที่ทำเป็นเวลา 30 นาที
  • จะกังวลเกี่ยวกับงานที่ควรทำพรุ่งนี้ภายในเวลา 2 ชั่วโมงก่อนนอน

พูดง่าย ๆ คือให้กำหนดรายละเอียดและเวลาของเรื่องที่จะกังวลไว้อย่างชัดเจน และเริ่มคิดกังวลตามตารางเวลาที่วางเอาไว้ อาจคิดว่าทำแบบนี้แล้วจะรับมือกับการคิดแบบเคี้ยวเอื้องได้เหรอ แต่นี่คือวิธีที่ได้ผลจริง พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่ปฏิบัติวิธี “เอาไว้ก่อน” มีจำนวนความคิดในแง่ร้ายโดยรวมลดลง หัวสมองปลอดโปร่งได้ตลอดวัน สำหรับคนที่มักเผลอกังวลเกี่ยวกับความผิดพลาดของตัวเองหรือความไม่แน่นอนในอนาคต วิธีนี้นับเป็นวิธีที่ควรค่าแก่การลองนำไปใช้

3. เทคนิคเพิ่มสมาธิโดยสังเกตประสาทสัมผัสทั้ง 5

“การฝึกสมาธิ” มีเป้าหมายสูงสุดทำให้เกิดการปลดแอกจากจินตนาการที่คิดขึ้นมาเอง แล้วหันกลับมามองปัจจุบัน ซึ่งวิธีการฝึกสมาธิมีดังนี้

STEP 1 กำหนดสิ่งที่ต้องทำ
อันดับแรก เลือกสิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวันมาหนึ่งเรื่อง สำหรับการฝึกสมาธิจะเป็นเรื่องใดก็ได้ที่ทำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว เช่น ล้างจาน ซักผ้า ทำสวน อาบน้ำ ดูดฝุ่น ทานข้าว แปรงฟัน เดินเล่น ฯลฯ จะเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่ทำโดยไม่รู้สึกตัวก็ได้

STEP 2 วัดระดับสมาธิ
ต่อมาก่อนเข้าสู่การฝึกจริง มาให้คะแนนระดับสมาธิในปัจจุบันของคุณเองกันอย่างคร่าวๆ ก่อน โดยดูว่าตามปกติเวลามีเรื่องที่จำเป็นต้องทำ คุณใช้สมาธิไปกับการคิดแบบเคี้ยวเอื้องกี่เปอร์เซ็นต์

STEP 3 ฝึกสมาธิ
ต่อจากนี้คือขั้นตอนการฝึกสมาธิจริง โดยทำสิ่งที่เลือกไว้ใน STEP 1 ไปพร้อม ๆ กับลงมือฝึกพลังสมาธิ

STEP 4 ให้คะแนนการฝึกสมาธิ
เมื่อฝึกสมาธิจบหนึ่งครั้งก็ให้คะแนนระดับสมาธิในปัจจุบันกันอีกรอบ หลังจากฝึกสมาธิจบแล้ว สมาธิของคุณใช้ไปกับการเคี้ยวเอื้องเท่าไร โดยแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ดู

STEP 5 ทบทวนการฝึกสมาธิ
ขั้นตอนสุดท้าย ลองคิดดูอีกครั้งถึงสิ่งที่ได้จากการฝึกสมาธิได้เรียนรู้เรื่องอะไรจากการฝึกสมาธิวิธีนี้ และได้ข้อสรุปอะไรบ้าง

การกำจัดความคิดหรือความรู้สึกแง่ลบให้หายไปทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก แม้จะเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าการคิดแบบเคี้ยวเอื้องในแต่ละวันลดลงก็สามารถช่วยรักษาการมองโลกตามความเป็นจริงของคุณให้คงไว้ได้อย่างดี

3 เทคนิคเพื่อเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง

หนังสือ มองโลกเป็นต้องเห็นตัวเองก่อน

เขียนโดย Mentalist DaiGo

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ

หรือสั่งซื้อออนไลน์ คลิก

บทความอื่น ๆ

3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

ความคิดที่ขวางทางก้าวหน้า ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า