ทุกคนต้องมีเวลาที่อยู่คนเดียวบ้าง แต่การดึงตนเองออกมาจากคนอื่นและแสวงหาความสันโดษ ก็อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนเปิดเผย ที่ธรรมชาติต้องการผู้อื่นเพื่อให้รู้สึกมีพลัง ส่วนคนที่ได้พลังมากขึ้นจากการอยู่ตามลำพัง การใช้เวลากับตนเองก็คงเป็นเรื่องง่าย แต่คงรู้สึกท้าทายเมื่อต้องเข้าสังคม ดังนั้นไม่ว่าเราจะชอบเข้าสังคมหรือชอบอยู่ตามลำพัง ต่างก็ต้องรู้จัก “การจัดการอารมณ์” เพื่อไม่ให้อารมณ์ทำร้ายตัวเองอีกต่อไป ฟรานซี่ ฮีลลีย์ และคริสตัล ทาอิ ผู้เขียนหนังสือ “Honjok ความสุขจากการอยู่กับตัวเอง” ได้แนะนำ 6 วิธีจัดการอารมณ์พื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง มารู้จัก 6 วิธีจัดการอารมณ์พื้นฐานของคนสายสังคม และคนรักสันโดษ โดยไม่ปล่อยให้อารมณ์ทำร้ายเราอีกต่อไป!
“ไม่ว่าคุณจะเป็นสายสังคม
หรือสายรักสันโดษ
ก็ต้องรู้จักวิธีจัดการอารมณ์
ในวันที่ต้องอยู่คนเดียวเหมือนกัน”

ใส่ใจว่าร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไรก่อนและหลังเหตุการณ์ที่ต้องเข้าสังคม คุณจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ต้องการจริงๆ คืออะไร รับฟังร่างกายและตระหนักว่าคุณมีทีท่าอย่างไร ช่วงบ่าและลำคอรู้สึกแข็งเกร็งหรือไม่ รู้สึกอึดอัดเหมือนถูกจำกัดหรือเปล่า สิ่งนี้จะช่วยให้เราเรียนรู้วิธีสร้างความสงบภายในจิตใจได้

พิจารณาว่าคุณจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับจิตใจอย่างไร ทั้งก่อนและหลังจากการใช้เวลากับผู้คน อาจเล่นดนตรีที่ทำให้ตัวเองรู้สึกเข้มแข็ง หรือทำสมาธิวิปัสสนาก่อนออกไปข้างนอก เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้รู้เท่าทันอารมณ์และจิตใจของตัวเองได้เป็นอย่างดี

เลือกกิจกรรมที่ช่วยหล่อเลี้ยงตนเองหลังจากเผชิญกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกหมดพลัง เช่น แช่อ่างอาบน้ำ จุดเทียน นั่งใต้ต้นไม้ หรืออ่านหนังสือ อะไรก็ได้ที่ให้เกียรติกับตัวตนที่ต้องการจะกลับสู่สถานที่อันสงบ การตั้งใจทำบางสิ่งเพื่อผ่อนคลายเส้นประสาทจะช่วยพัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและความต้องการของตัวเองได้

ถ้าการอยู่คนเดียวเป็นเรื่องยาก ให้เริ่มต้นอย่างช้าๆ อาจจะแค่ 2-3 นาทีต่อวัน และสร้างความคุ้นชินให้มากขึ้นเรื่อยๆ การอยู่ตามลำพังโดยมีจิตสำนึกรับรู้ จะทำให้เราฝึกตนเองให้รู้สึกสบายได้ในเวลาที่จำเป็นต้องอยู่คนเดียว คุณอาจต้องลองฝึกปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า สิ่งใดช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายได้ดีที่สุด โดยผสมผสานกับกิจกรรมที่ต้องใช้ประสาทสัมผัส เช่น การเขียน การทำงานผลงานศิลปะประเภทต่างๆ

ค่อยๆ ปลูกฝังความคิดเรื่องการเป็นเพื่อนกับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายดีเมื่อจำเป็นต้องอยู่คนเดียว ลองคิดหาวิธีดูแลตนเอง ที่สำคัญคือ ถ้าคุณปรารถนาจะเป็นที่ต้องการของคนอื่นตลอดเวลา ก็ควรเตือนตนเองเสมอว่า “คุณก็ต้องการตัวเอง” และควรถนอมเวลาดูแลเอาใจใส่ตัวเองในช่วงที่ต้องอยู่ตามลำพัง

ใช้เวลาในการเข้าสังคมไปกับผู้คนที่ผูกพันด้วยอย่างลึกซึ้ง ผู้คนที่ได้เห็น ได้ยิน และชื่นชมความเป็นตัวตนของคุณจริงๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าคุณมักรู้สึกเหงาแม้ในเวลาที่ต้องอยู่กับคนอื่น ลองพิจารณาดูว่าคุณจะสร้างสัมพันธภาพอย่างลึกซึ้งเช่นนั้นกับผู้คนได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครที่รู้จักผ่านเกณฑ์นี้เลย คุณควรคิดถึงการเข้าร่วมกลุ่มต่างๆ ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน หรือกลุ่มทางออนไลน์ก็ได้
6 วิธีจัดการอารมณ์พื้นฐาน ของคนสายสังคม และคนรักสันโดษ
หนังสือ “Honjok ความสุขจากการอยู่กับตัวเอง“
เขียนโดย ฟรานซี่ ฮีลลีย์ และคริสตัล ทาอิ

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ