6 องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ให้ปัง! ในยุค 4.0

หลายคนใฝ่ฝันอยากจะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง อยากจะ สร้างแบรนด์ ให้ทันสมัย เข้าใจลูกค้า และเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน และปรับปรุงตรงส่วนไหนเพื่อให้แบรนด์ของตัวเองถูกใจกลุ่มลูกค้ามากที่สุด

การ สร้างแบรนด์ มีหลายวิธี เพราะสินค้าแต่ละชนิด ย่อมมีการก่อร่างสร้างธุรกิจที่ต่างกันไป เช่น บางคนอาจจะขอลุยไปดูกลุ่มลูกค้าว่าพวกเขาต้องการอะไร คู่แข่งเยอะแค่ไหน หรือบางคนก็เน้นพัฒนาสินค้าของตัวเองเพื่อให้มีคุณภาพมากที่สุด และองค์ประกอบทั้ง 6 ข้อนี้ จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์กับการสร้างแบรนด์ในยุค 4.0 ของคุณได้อย่างดี

 

มาดูกันว่ามีองค์ประกอบไหนบ้างที่แบรนด์ยุคนี้ควรมีอย่างยิ่ง!

 

ทำให้แนวคิดของแบรนด์จับต้องได้

ก่อนที่จะริเริ่มสร้างแบรนด์ (brand) หนึ่งขึ้นมา ทุกคนที่ร่วมก่อตั้งแบรนด์จะต้องตอบคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน

1.ทำไมถึงมีแบรนด์นี้ในโลก

2.สิ่งที่แบรนด์เชื่อคืออะไร

3.เป้าหมายของแบรนด์คือะไร

4.จะไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างไร

 การตอบคำถามคือต้องสร้างคำจำกัดความของแบรนด์ให้ได้เสียก่อน อาจจะเป็นประโยคหรือคำพูดที่ใช้อธิบายความเป็นแบรนด์ สั้น กระชับ และครอบคลุมที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักกับแบรนด์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

เช่น ซับเวย์ (Subway) ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีคำจำกัดความว่า มุ่งมั่นบริการทางเลือกอาหารที่หลากหลาย รสชาติดี ใส่ใจต่อสุขภาพ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การมีคำจำกัดความที่ผู้ก่อตั้งแบรนด์เข้าใจตรงกัน เป็นเครื่องมือแนะนำตัวต่อผู้บริโภคได้อย่างยอดเยี่ยม ให้เขาได้รู้สึกอิน เข้าใจง่ายและรวดเร็วเหมือนคำกล่าวที่ว่า

“ความประทับใจใน 30 วินาทีแรกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจ”

 

มีบุคลิกภาพของแบรนด์ที่ชัดเจน

บุคลิกภาพของแบรนด์เป็นเหมือนบทสรุปที่ผู้บริโภคมองเห็นแบรนด์ (brand) ในภาพรวม โดยพวกเขาจะพูดถึงแบรนด์ในลักษณะเปรียบเทียบกับคน

 

แบรนด์นี้ดูเป็นคนเคร่งขรึมและฉลาด

แบรนด์นี้ดูเข้ากับคนรอบข้างได้ง่าย

แบรนด์นี้ดูทันต่อสถานการณ์ชอบอะไรแปลกใหม่

แบรนด์นี้ดูเป็นคนรักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

 

ซึ่งบุคลิกภาพของแบรนด์สามารถสร้างขึ้นมาได้โดยอิงจากสินค้า เช่น ขายหนังสือเรียน บุคลิกก็จะดูเป็นคนที่รอบรู้และฉลาด หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Tops ของไทย ที่สามารถเกาะติดสถานการณ์ ณ ขณะนั้น แล้วขายสินค้าของตัวเองได้ทันที ผู้บริโภคก็จะมองว่าแบรนด์นี้เป็นคนที่ทันต่อสถานการณ์และชอบอะไรแปลกใหม่

 

สร้างความแตกต่างของแบรนด์

การที่เราขายหนังสือแล้วมีคนขายหนังสือเหมือนกับเรา สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือ การทำให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างของแบรนด์ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคแยกแยะแบรนด์ของเราออกจากแบรนด์อื่นๆ ได้ เราเรียกความแตกต่างดังกล่าวว่าเป็นส่วนหนึ่งใน อัตลักษณ์ของแบรนด์ (brand identities)

 

เช่น เครื่องหมายสวูช (swoosh) หรือเครื่องหมายติ๊กถูก ทำให้แยกไนกี้ออกจากแบรนด์รองเท้ากีฬาแบรนด์อื่นได้

       ตัวนาก (otter) และสีเขียว ทำให้แยกหนังสือเครืออมรินทร์ออกจากหนังสือสำนักพิมพ์อื่นได้

       พฤติกรรมการบิด ชิมครีม จุ่มนม ทำให้แยกโอริโอ้ออกจากแบรนด์ขนมอื่นๆ ได้

 

และการสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์สามารถมีได้มากกว่า 1 จุด อาจจะสร้างจากรูปทรงที่แตกต่างอย่างโคอะล่ามาร์ชที่ทำขนมเป็นรูปหมีโคอะล่า และการใช้กล่องสีเขียวรูปหมีทำให้ผู้บริโภคจำได้ เป็นต้น

 

เชื่อมโยงแบรนด์กับผู้อื่น

อีกหนึ่งหัวใจของการสร้างแบรนด์ (Brand) ในยุค 4.0 คือความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วม ส่วนจะเป็นส่วนร่วมนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ตรงกันของแบรนด์และผู้บริโภค เมื่อถามผู้บริโภคว่ารู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ คำตอบที่ได้มักจะมาในเชิงความรู้สึก เช่น รู้สึกดี ชอบ ประทับใจ ฯลฯ สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

สิ่งที่แบรนด์ต้องทำในช่วงการสร้างแบรนด์คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ยิ่งคุยกับเขามากขึ้นเท่าไร เราก็จะรับรู้ถึงความต้องการและสามารถนำมาปรับใช้กับแบรนด์ของเราได้ในอนาคต

 

สร้างแบรนด์

พูดแล้วต้องทำให้ได้

กฎของการสร้างแบรนด์ยุค 4.0 คือ เมื่อพูดหรือรับปากอะไรออกไปแล้ว ต้องทำให้ได้ เพราะเดี๋ยวนี้โลกดิจิทัลไปไวมาก เพียงแค่เราผิดสัญญา ผิดคำพูดแม้แต่ครั้งเดียว ผู้บริโภคก็จะบอกต่อคนอื่นทันที ด้วยการพูดปากต่อปาก หรือลงโซเชียลมีเดีย จนส่งผลกระทบต่อยอดขายของแบรนด์ได้

เวลาจัดแคมเปญ หรือออกโปรโมชั่นใดๆ ควรตรวจสอบให้มั่นใจและแน่ชัด ว่าสามารถทำตามข้อตกลงที่ตัวเองสร้างขึ้นได้จริง ก่อนที่จะลงมือทำ มิเช่นนั้นผลเสียทางด้านอื่นๆ จะตามมาอย่างไม่ขาดสาย

 

เล่าเรื่องให้จับใจ

“ทุกแบรนด์มีเรื่องราวที่ดี แต่แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ จะมีวิธีถ่ายทอดเรื่องราวที่ยอดเยี่ยม”

 

นี่คือประโยคที่กล่าวถึงการสื่อสารในการสร้างแบรนด์ (brand) ยุค 4.0 ได้ดีที่สุด การถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ก็เหมือนกับการพูด เพราะมีเป้าหมายให้ผู้บริโภคได้รับรู้ที่มาที่ไปของแบรนด์มากขึ้น การถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ที่นอกจากจะทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และคุณค่าของแบรนด์มากขึ้นจนเกิดความรู้สึกที่ดีแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้นด้วย

 

บทความใกล้เคียง

 

ข้อมูลจากหนังสือ BRANDing 4.0

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่

7 thoughts on “6 องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ให้ปัง! ในยุค 4.0

  1. Pingback: อามันซิโอ ออร์เตกา จากลูกจ้างการรถไฟสู่อาณาจักรแฟชั่นหมื่นล้าน ZARA

  2. Pingback: 4 เทคนิคขายของ ให้รุ่ง ขายได้ขายดี ไม่มีสต๊อกสินค้า พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ต้องอ่าน

  3. Pingback: ความคิดที่ขวางทางเจริญก้าวหน้า ทำให้ยังไม่ ประสบความสำเร็จ

  4. Pingback: 6 เหตุผลเบื้องหลังความสำเร็จ ที่ทำให้ แบรนด์ มูจิ (MUJI) แตกต่างจากแบรนด์อื่น

  5. Pingback: วิธีทำให้ลูกค้าจดจำด้วยการ สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องราว (Storytelling)

  6. Pingback: วิธีสร้างคอนเทนต์ ในธุรกิจที่สุดแสนจะน่าเบื่อ (Niche Market)

  7. Pingback: รู้จัก เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง "หัวเว่ย HUAWEI" จากแบรนด์จีนเซินเจิ้นสู่ตลาดโลก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า