คุณเคยลืมบางสิ่งในชีวิตประจำวันบ้างไหม ลืมเวลานัด ลืมของไว้ที่บ้าน ลืมล็อกประตูบ้าน บางครั้งเราก็โทษไปว่า เพราะฉันทำงานหนักเลยเบลอไปหน่อย รู้ไหมว่า อาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพความจำของคุณเริ่มลดลง และมีโอกาสที่จะเป็น โรคอัลไซเมอร์ ได้
ถ้าไม่อยากให้ความทรงจำถดถอย ก็ต้องกระตุ้นสมองให้มีชีวิตชีวา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็น โรคอัลไซเมอร์ ด้วย 7 วิธีเหล่านี้
สร้างความเคยชินใหม่ๆ
การปลุกสมองให้ตื่นตัวสามารถทำได้ง่ายๆ แค่เปลี่ยนการกระทำให้ต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อย หลายคนคงเคยมีประสบการณ์หลงลืม และไม่แน่ใจว่าทำสิ่งนั้นไปแล้วหรือยัง เช่น พอเดินออกจากบ้านปุ๊บ เป็นต้องกังวลขึ้นมาทันทีว่า “เมื่อกี้เราล็อกประตูบ้านแล้วหรือยังนะ” แต่พอไปตรวจอีกรอบก็ปรากฏว่าประตูล็อกเรียบร้อยแล้ว
นั่นเป็นเพราะว่า หากเราทำกิจกรรมใดซ้ำบ่อยๆ จะทำให้สมองเกิดความเคยชินจนทำได้คล่องแคล่ว เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องคิด ส่งผลให้สมองไม่ได้รับการกระตุ้น ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลง และสมองเข้าสู่ภาวะประหยัดพลังงาน จนอาจทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตได้
แต่หากเปลี่ยนระบบการทำงานที่เป็นไปโดยอัตโนมัติให้ต่างจากเดิมเล็กน้อย สมองก็จะกลับมาทำงานโดยต้องใช้ความคิดอีกครั้ง
เช่น
เวลาอาบน้ำ ก็ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดถูตัว
เวลาทำความสะอาดบ้าง ก็จัดลำดับการทำความสะอาดของแต่ละห้องใหม่
เวลาโทรศัพท์หาใครสักคน ก็ให้ร่างคำพูดที่อยากพูดลงในกระดาษก่อน
และคอยหาเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อปลุกเซลล์ประสาทส่วนอื่นขึ้นมา
ตื่นนอนแต่เช้าเพื่อทำกิจกรรมยามเช้า
การใช้ชีวิตยามเช้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉง จึงจำเป็นต้องปลุกสมองให้ตื่นขึ้นในช่วงเช้า ตื่นมารดน้ำต้นไม้ ตื่นมายืดเส้นยืดสาย เปิดหน้าต่างเพื่อสูดอากาศจากภายนอก การรับรู้สภาพอากาศเป็นการใช้งานสมองซีกขวา การทำให้สมองรู้จักกับธรรมชาตินั้นเป็นการกระตุ้นให้สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้น
คนที่ต้องไปทำงานแต่เช้าทุกวันมักต้องฝืนตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ แต่พอถึงเวลาที่ไม่ต้องตื่นตามเวลาที่กำหนด เช่น วันหยุด ความตื่นตัวของสมองในยามเช้าก็จะลดต่ำลง ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ลดต่ำลงด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงควรปลุกสมองให้ตื่นตัว ว่องไว และกระฉับกระเฉงเสมอ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการเคลื่อนไหวร่างกายนั่นเอง
ใส่เสื้อผ้าที่ทำให้อารมณ์เบิกบานอยู่เสมอ
มีคนจำนวนมากที่หากไม่มีธุระต้องออกนอกบ้าน ก็จะสวมแต่ชุดนอนทั้งวัน การสวมชุดเดิมทั้งวันทั้งคืนโดยไม่เปลี่ยนเลยจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการตื่นตัวของสมองแย่ลง
การเปลี่ยนมาใส่ชุดใหม่สำหรับวันนั้นๆ ในทุกๆ เช้าถือเป็นการกระตุ้นสมองวิธีหนึ่ง เช่น การเลือกเสื้อผ้าโดยคำนึงถึงกาลเทศะ เลือกชุดให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และโอกาสในแต่ละวัน วันนี้จะไปเล่นกีฬา ควรใส่ชุดอะไรดี วันนี้จะไปกินข้าวนอกบ้าน ควรแต่งตัวอย่างไรดี
การทำเช่นนี้จทำให้เขตบรอดมันน์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบการคิดไตร่ตรองและระบบการมองเห็นถูกใช้งาน นอกจากนี้การเลือกเสื้อผ้าให้สอดคล้องกับอารมณ์และความรู้สึก ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเขตบรอดมันน์ที่เกี่ยวกับระบบการแสดงอารมณ์ด้วย
ซื้อของฝากคนที่บ้าน
ความรู้สึก “อยากจะมอบสิ่งพิเศษ” หรือ “ทำอะไรพิเศษ” ให้ใครสักคนเป็นเรื่องที่เราควรตระหนักให้มาก โดยเฉพาะเมื่อชีวิตวุ่นวายไปด้วยภาระหน้าที่การงานจนทำให้มักจะลืม “การมอบช่วงเวลาพิเศษ” ให้คนที่รัก
ลองหาโอกาสซื้อของฝากกลับไปฝากคนที่บ้าน เวลาที่เราเลือกของฝาก สมองก็จะเกิดการคิดว่า คนรับ “ชอบอะไร” และจะเลือกซื้ออะไรดี สิ่งนี้ทำให้เราเกิดความใส่ใจว่าคนใกล้ตัวและคนที่เรารักนั้นมีความชอบหรือความสนใจอะไรบ้าง
นอกจากนี้ความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างเลือกซื้อของฝาก เช่น “อันไหนน่าจะอร่อยนะ” “อันไหนที่เขาได้แล้วจะดีใจนะ” ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่กระตุ้นการทำงานของเขตบรอดมันน์หลายส่วนในเวลาเดียวกัน
การได้ท้าทายตัวเองด้วยการเลือกสิ่งพิเศษให้ใครสักคน เป็นสิ่งที่ทำให้สมองของเราเจริญเติบโตและไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์
ช่วยทำงานบ้าน
คนที่ทำงานนั่งโต๊ะมาตลอดจะใช้งานแต่สมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อได้ลองทำงานบ้าน ซึ่งต้องใช้ทั้งพลังในการขับเคลื่อนสมองและร่างกายอย่างมาก ก็จะกระตุ้นให้เขตบรอดมันน์ที่เกี่ยวกับระบบการเคลื่อนไหวและระบบการมองเห็นทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง ส่งผลให้สมองอยู่ในสภาพดี
นอกจากนี้เมื่อได้ลงมือทำงานบ้านอย่างเต็มที่ก็จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนในบ้านดีขึ้นด้วย
ตั้งโจทย์ให้อาหารมื้อค่ำ
“เย็นดีจะทำอะไรกินดีนะ”
การกินอาหารเดิมๆ ทุกวันย่อมเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และถ้าอยากจะมีสุขภาพที่ดี ก็ต้องคำนึงถึงสมดุลโภชนาการ การกินให้หลากหลาย กินตามฤดูกาล เพื่อซึมซับความอร่อย หากกินไม่หมด ก็เก็บไว้แล้วนำมาประยุกต์เป็นอาหารหน้าตาแปลกใหม่ในวันถัดไป
การได้มีโอกาสปรุงอาหารด้วยตัวเองเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเขตบรอดมันน์อย่างกว้างขวาง ถ้ามัวแต่มัวแต่ทำอาหารแบบเดิมๆ สมองก็จะทำงานแบบประหยัดทำงาน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ ควรหาโอกาสออกไปกินอาหารตามร้านอร่อยๆ แล้วลองแกะสูตรมาทำเองที่บ้านดู
หรืออาจคิดค้นสูตรใหม่ๆ ขึ้นเอง สิ่งนี้ต้องอาศัยพลังในการสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ และแม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ได้กระตุ้นสมองให้ทำงาน หรือลองตั้งโจทย์เวลาทำอาหารดู เช่น ทำอาหารตามวัตถุดิบที่มีแบบแคลอรีน้อย การตั้งโจทย์จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำอาหารแปลกใหม่มากยิ่งขึ้น
ใช้เวลานานๆ กับการทำกิจกรรมบางอย่าง
เพื่อป้องกันไม่ให้สมองเคยชินกับสภาพแวดล้อมที่เพียบพร้อมด้วยความสะดวกสบาย หรือสภาพแวดล้อมที่ทำทุกอย่างเสร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว บางครั้งเราก็ควร “ปฏิเสธการย่นระยะเวลาหรือความสะดวกสบาย” บ้าง ดึงตัวเองออกมาจากความรีบเร่งด้วยการทำอะไรแบบคนสมัยก่อนดู ที่แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเสียเวลา แต่ก็เป็นการเสียเวลาที่มีคุณค่าต่อสมอง
เช่น แม้ว่าการนั่งมอเตอร์ไซค์จะรวดเร็ว แต่ก็เลือกที่จะเดินไปแทน
แม้ว่าเครื่องซักผ้าจะซักกางเกงยีนส์ได้ แต่ก็เลือกที่จะซักด้วยมือแทน
แน่นอนว่าเราเคยชินกับความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับจากเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เมื่อต้องเปลี่ยนมาใช้มือทำงานแทน และใช้เวลาที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้รู้สึกหงุดหงิด หรือรำคาญใจบ้าง แต่ความหงุดหงิดนี้ละที่ส่งผลดีของสมอง ช่วยป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมสภาพลงและอาจทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์
การได้ลงแรงและใช้เวลาในการทำงานเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความอดทน และสิ่งนี้เองจะช่วยคืนความอ่อนเยาว์ให้แก่สมองของเราได้เป็นอย่างดี
สารพัดวิธีใช้งานสมองให้ตื่นตัว ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์
จากหนังสือ เทรนสมองให้ไกลอัลไซเมอร์
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
Pingback: ประโยชน์ของการกระตุ้นนิ้วโป้งเพื่อ ผ่อนคลายสมอง ร้านหนังสือออนไลน์ในเครืออมรินทร์
Pingback: พฤติกรรมทำร้ายไต เราเสี่ยงเป็นโรคไตกันอยู่หรือเปล่า โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ