8 พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ก็อาจก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง เรามักมี พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม อยู่หลายประการที่ควรรู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

 

พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

 

พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม 1
ลืมกินยา ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ

บางคนเคยลืมกินยาก็ไม่มีอาการผิดปกติ จึงคิดว่า “ไม่จำเป็นต้องกินยาทุกวันก็ได้” ซึ่งเป็น พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง เพราะโชคดีว่าวันนั้นอาการไม่กำเริบต่างหาก แต่ถ้าช่วงไหนโชคร้ายมีเรื่องให้เครียด อดนอน อากาศร้อน อาการก็อาจกำเริบรุนแรงพร้อมจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้ทันที

ดังนั้นการป้องกันด้วยการใช้ยาควบคุมโรคเรื้อรังจึงมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยารักษาภาวะแทรกซ้อน

 

พฤติกรรมที่ 2
เปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเอง

การเปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเองแบ่งออกเป็นสองกรณี
• ลดปริมาณยาด้วยตัวเอง ผู้ป่วยอาจจะลดยาเองด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น อาการดีขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงการทำเช่นนั้นอาจทำให้โรคกำเริบใหม่ได้ หากไม่ใช้ยาควบคุมโรคไว้ กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหายาเหลือใช้และยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศ

• เพิ่มปริมาณยาด้วยตัวเอง การทำเช่นนี้อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดและเกิดอาการข้างเคียงตามมาได้ เช่น อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ทางที่ดีหากความดันโลหิตสูงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาปรับตัวยา หรือแนะนำวิธีการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย

 

พฤติกรรมที่ 3
ไม่อ่านฉลากยา กินยาตามเดิม

ยาโรคเรื้อรังจำเป็นต้องกินยาทุกวันจึงเกิดเป็นความเคยชิน แม้ว่าจะได้ยาใหม่ ผู้ป่วยก็มักไม่อ่านฉลากยาก่อน อาศัยความคุ้นเคย พอเห็นยาแบบเดิมก็หยิบยามากินตามเดิม

หากวันนั้นโชคดีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าโชคร้ายอาการก็อาจกำเริบและเป็นอันตรายได้

 

พฤติกรรมที่ 4
แบ่งยาของตัวเองให้ผู้อื่นกิน

ผู้ป่วยบางคนใจดีแบ่งยาของตัวเองให้ผู้อื่นกินด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้เกิดบาปโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากยาไม่สามารถแบ่งกันใช้ได้ โดยเฉพาะยาโรคเรื้อรัง แม้ว่าจะเป็นโรคเดียวกันก็ตาม

เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีลักษณะที่เหมาะกับยาคนละชนิด ความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน เงื่อนไขในการใช้ยาแตกต่างกัน

 

พฤติกรรมที่ 5
เอายาของผู้อื่นมากินด้วยตัวเอง

เมื่อแบ่งยาให้ผู้อื่นกิน ก็อาจทำให้ตัวผู้ป่วยเกิด “การขาดยา” ได้เช่นกัน นอกจากนั้นวิธีกินยาของแต่ละคนก็แตกต่างไปตามระดับอาการ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งยาและปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล กรณียาเอื้ออาทรนี้

หากมียาเหลือใช้จริงควรส่งต่อให้ทางโรงพยาบาลบริหารจัดการแทนต่อไป

พฤติกรรมที่ 6
กินยาหลายแพทย์ ทั้งโรงพยาบาล คลินิก และร้านยา

“ช็อปปิ้งยา” เป็นศัพท์ใหม่ในวงการยา เป็นผลจากการที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้ง่าย ทั้งจากสถานบริการของรัฐและเอกชน ผู้ป่วยจึงมีโอกาสได้รับยาหลายชนิดเพื่อรักษาโรคเดียวกัน และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ เช่น
• ปัญหายาซ้ำซ้อน ทำให้ได้รับยาเกินขนาด
• ปัญหายาตีกัน

หากมีความจำเป็นต้องรับยาจากหลายแหล่ง ควรนำยาเดิมไปพบแพทย์เพื่อประเมินการใช้ยาร่วมกัน และไม่ควรซื้อยากินเอง

 

พฤติกรรมที่ 7
กินยาแล้ว ไม่เก็บยาใส่ซองเดิม

“ถุงยารวมมิตร” เกิดจากผู้ป่วยนำยาแต่ละชนิดมาใส่รวมกันในซองเดียวกันเพื่อให้หยิบกินง่าย พกพาสะดวก แล้วใช้การจำแผงยากับวิธีใช้ยาแทน ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายสำหรับยาที่มีแผงหรือบรรจุภัณฑ์คล้ายกัน บางครั้งอาจจำไม่ได้ว่าเป็นยาชนิดอะไร มีวิธีกินอย่างไร

ดังนั้นหากหยิบยามากินก็ควรเก็บในซองยาเดิมทุกครั้งดีกว่า

 

พฤติกรรมที่ 8
มียาเดิม เก็บยาใหม่ กินยาเก่า

เมื่อไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งจะได้รับยาถุงใหม่ เป็นไปได้ที่จะมียาเดิมอยู่ที่บ้าน แล้วผู้ป่วยจะเลือกใช้ยาเก่าก่อนได้ไหม ยกเป็นกรณีศึกษาดังนี้

• ถ้าเป็นยาชนิดใหม่ ก็สามารถเริ่มกินยาได้ทันที ควบคู่กับการใช้ยาเดิม
• หากเป็นยาเดิม ไม่เปลี่ยนวิธีกิน ก็สามารถกินยาเดิมให้หมดก่อนแล้วเริ่มกินยาซองใหม่
• หากเป็นยาเดิม แต่เปลี่ยนวิธีกินยา ก็ให้กินยาเดิม แต่เปลี่ยนวิธีกินยาตามปัจจุบัน

การที่ผู้ป่วยจะรู้ว่าต้องกินยาเดิมอย่างไร ต้องสอบถามและทำความเข้าใจกับเภสัชกรขณะรับยาก่อนกลับบ้าน

 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้ยา มีคนรอบตัวที่ใช้ยา หรือต้องดูแลผู้ที่ใช้ยา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง “รู้เท่าทันยา เพื่อใช้ยาให้ถูกวิธี”

Drug Guru ฉลาดรู้เรื่องยา

สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่


บทความอื่นๆ

 

2 thoughts on “8 พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

  1. Pingback: การแพ้ยา อาการข้างเคียงของยา และการลดความรุนแรงของการแพ้ยา

  2. Pingback: สรรพคุณของสมุนไพรไทย รักษาโรคได้หลากหลายแบบไร้สารเคมี

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า