คุณแม่มือใหม่มีความจำเป็นอย่างมากในการเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อน ตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์จนเป็นอันตรายต่อลูกในท้องและตัวเอง
มาดูกันว่าคุณแม่ก่อน ตั้งครรภ์ ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง
หยุดสูบบุหรี่
บุหรี่ทำให้มีลูกยากจากภาวะฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทำให้อสุจิไม่มีคุณภาพ และลดการตกไข่ในฝ่ายหญิง ไม่เพียงเท่านั้นหากตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้ว สารเคมีในยุหรี่ยังทำให้มีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อยมากและขาดสารอาหารจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี
คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนสูบบุหรี่ก็ขอให้งดก่อนหากอยากตั้งครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์ลูกและแม่แข็งแรง สุขภาพดี
หยุดดื่มแอลกอฮอล์
คุณแม่สายดื่มควรงดแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เพราะแอลกอฮอล์ทำให้มีโอกาสแท้ง หรือหากอยู่ในครรภ์จนครบกำหนด ทารกที่เกิดมาก็อาจเป็นกลุ่มอาการทารกแอลกอฮอล์ คือ เจริญเติบโตช้า มีใบหน้าผิดปกติ เช่น ศีรษะเล็ก ตาเล็ก จมูกสั้น มีปัญหาด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้
หยุดหรือลดกาแฟ
หยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน หรือพยายามดื่มให้น้อยที่สุด ระดับกาเฟอีนที่เหมาะสมคือน้อยกว่า 200-250 มิลลิกรัมต่อวัน หรือวันละไม่เกิน 1 แก้ว งานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟที่มีกาเฟอีนเกินวันละ 300 มิลลิกรัมจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งได้
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
งานวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (ดัชนีมวลกาย 25-39 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) จะใช้เวลาถึง 2 เท่าของคนน้ำหนักปกติจึงจะตั้งครรภ์ได้ ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป (ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตาราเมตร) จะต้องใช้เวลาถึง 4 เท่าของคนน้ำหนักปกติจึงจะตั้งครรภ์ได้
รับประทานอาหารครบหมู่
จะทำให้มีลูกง่ายกว่าผู้ขาดสารอาหาร หรือรับประทานอาหารไม่สมดุล แนะนำให้กินปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน แมกเคอเรล เทราต์ ซาร์ดีน ทูน่า ฯลฯ หรือปลาไทย เช่น ปลาเก๋า ปลาโอ ปลาทู ปลาสำลี ปลาอินทรี ฯลฯ สัปดาห์ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ได้สารโอเมก้า 3 ไปช่วยบำรุงสมองทารก
ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบหมู่ เช่น กินอาหารมังสวิรัติ ควรเสริมวินามินและธาตุเหล็ก อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ของหมักดอง แอลกอฮอล์ อาหารหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
สำรวจยา
หากกำลังรับประทานยาอะไรอยู่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยาบางชนิดห้ามรับประทานขณะเตรียมตั้งครรภ์ เพราะอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้ นอกจากนี้ยาบางชนิดยังอาจทำให้ทารกพิการได้ เช่น วิตามินเอที่ใช้รักษาสิว ยาละลายลิ่มเลือด ยากันชัก เป็นต้น
ลดความเครียด
ความเครียดส่งผลให้ตั้งครรภ์ยาก เพราะทำให้ไข่ไม่ตก ไม่มีความต้องการทางเพศ ไม่สามารถปลุกเร้าทางเพศได้ ดังนั้นหากต้องการตั้งครรภ์ก็ต้องหาวิธีคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก อ่านหนังสือ ไปสปา ไปนวด กดจุด ฯลฯ
เลือกช่วงอายุที่เสี่ยงน้อยเมื่อตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์เมื่ออายุ 20-30 ปี มีความเสี่ยงต่ำสุดในการเกิดภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้มีอายุเกิน 35 ปี หากไม่จำเป็นไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อแม่และทารก เช่น เกิดโรคแทรกซ้อน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รกเกาะต่ำ ตกเลือด ฯลฯ ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิต พิการ ฯลฯ
ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์
ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจภาพใน เพื่อหาโรคที่ซ่อนเร้นซึ่งมีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคเอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี โรคโลหิตจางอื่นๆ เคยมีลูกพิการ เคยแท้งบ่อยๆ มีประวัติโรคพันธุกรรม เป็นต้น
รับวัคซีน
แนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน และโรคอีสุกอีใส กรณีที่ยังไม่มีภูมิต้านทานของโรคก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในกรณีที่ไม่มีภูมิต้านทานโรคและฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ข้อมูลจากหนังสือ คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์
เขียนโดย แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
เทคนิคเลือกหนังสือให้เหมาะกับลูกวัยทารก 6 -12 เดือน เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก
หลักการ เลี้ยงลูกยุคใหม่ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจ
วิธีรับมือกับลูกขี้โมโห ขี้หงุดหงิด : วิธีแก้ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้
ชมลูกอย่างไรไม่ให้เหลิง เทคนิคชมลูกที่ดีและมีประโยชน์
เลี้ยงลูกวัยรุ่น : เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจเรื่องหนักแค่ไหนก็รอด
เข้าใจพฤติกรรมลูกกับปัญหาลูกติดโทรศัพท์ โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ยาเด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย
พัฒนา ทักษะEF ให้ลูกได้ไม่ยาก ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนิทาน
เทคนิค สอนลูกอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ : ลูกฉลาดเริ่มต้นที่พ่อและแม่
EF คืออะไร ทำไม EF ถึงสำคัญกับลูก
Pingback: การแพ้ยา อาการข้างเคียงของยา และการลดความรุนแรงของการแพ้ยา
Pingback: โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษก่อนเกิดอันตรายต่อลูกน้อย