วิธีตื่นเช้า ที่คุณใช้อยู่ได้ผลจริงหรือเปล่า?
เมื่อเราที่ต้องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ตื่นเช้าขึ้นกว่าเดิม เช่น ต้องตื่นมาสะสางงานต่อ ไปต่างจังหวัดแต่เช้า หรือมีประชุมเช้า สิ่งที่เราทำจนคุ้นเคยคือการนอนให้ไวขึ้นกว่าเดิม แต่กลายเป็นนอนไม่หลับและอาจนอนดึกกว่าเดิม จนทำให้ไม่อยากตื่น งัวเงีย และเพลียหนักมาก
ลองทำ 4 วิธีตื่นเช้า นี้ดู ไม่ว่างานจะเช้าแค่ไหนยังไงก็รอด
นอนตามปกติแต่ร่นเวลาตื่น
ลักษณะของการนอนหลับคือ เลื่อนออกไปง่าย แต่ร่นเข้ามาทำยาก เมื่อเรานอนเร็วขึ้นแค่ไหนเราก็ยังนอนไม่หลับอยู่ดีเพราะร่างกายไม่ชินกับเวลานอนนี้ และการนอนเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงยังเป็นการรุกล้ำเขตห้ามนอนอีกด้วย
การที่เราเข้านอนปกติแต่ตื่นให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงจะช่วยให้หลับง่ายกว่าและคุณภาพการนอนยังดีกว่าด้วย เราสามารถค่อยๆ ร่นเวลาอย่างไม่หนักเกินไปคือ 1 ชั่วโมงต่อ 1 วัน แต่สำหรับคนที่อยากจะนอนให้ไวขึ้นจริงๆ แนะนำให้แช่น้ำร้อน 1 ชั่วโมง และออกกำลังกายแบบเบาอย่างการยืดเส้นเพื่อเพิ่มอุณหภูมิร่างกาย
รักษาเวลานอนอย่างเคร่งครัด
การนอนให้ตรงเวลาเป็นสิ่งที่ทำยาก เพราะไม่รู้ว่าจะเจอสถานการณ์กะทันหันแบบไหน เช่น งานยังไม่เสร็จ มีงานเลี้ยงของบริษัท แต่ต่อให้รู้ว่ายาก ก็ต้องฝึกกำหนดตารางนอนให้ได้ โดยเริ่มจากกำหนดเวลาตื่นก่อนแล้วค่อยตั้งเวลาหลับ
เมื่อเรากำหนดเวลาได้แน่นอนแล้วต่อให้วันพรุ่งนี้ต้องตื่นเช้าเราก็จะไม่รีบนอนก่อนเวลา เพราะหัวใจของการฝึกตื่นเช้าคือการนอนตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ และการหลับตรงเวลาจะช่วยสร้างการนอนแบบ 90 นาทีทองด้วย
แสงสว่างที่เป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู
เรามักได้ยินเสมอว่า ก่อนเข้านอนควรเลี่ยงแสงสีฟ้า เพราะเมื่อฮอร์โมนกระตุ้นการนอนอย่างเมลาโทนินจะถูกขัดขวางและจะทำให้การนอนหลับกับนาฬิกาชีวภาพของเราแปรปรวนได้ แต่กลับมีวิจัยปัจจุบันออกมาระบุว่า เมื่อจอตาสัมผัสแสงที่มีความยาวคลื่น 470 นาโนเมตร ระดับการตื่นจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นแสงชนิดนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น กระตุ้นการตื่น เร่งประสิทธิภาพการทำกิจกรรมในแต่ละวัน
ดังนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลกับแสงสีฟ้ามากจนเกินไป แค่หลีกเลี่ยงการใช้แสงสีฟ้าก่อนจะเข้านอน เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอมือถือ
สวิตช์ตื่น ตัวช่วยเร่งประสิทธิภาพของร่างกาย
ในร่างกายของเรามีฮอร์โมนที่จะทำหน้าที่ช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติและร่างกายทำงานสอดคล้องกัน ฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่จะหลั่งออกมาเล็กน้อยเมื่อเราหลับ มีหน้าที่ควบคุมภูมิคุ้มกันและจะไหลมาอีกทีในช่วงใกล้เช้า
นอกจากนี้ยังมีสารเคมีในสมองที่ทำงานตอนร่างกายตื่นนั่นคือ นอร์อิพิเนฟริน ฮิสตามีน โดพามีน ยิ่งทำงานเต็มกำลังมากเท่าไหร่ ระดับการตื่นก็จะยิ่งสูงขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพการลงมือทำกิจกรรมต่างๆดีขึ้นและการนอนหลับก็จะดีตามด้วย เพราะการตื่นและการนอนหลับเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันเสมอ
ข้อมูลจากหนังสือ หลับดีมีคุณภาพ ด้วยเคล็ดลับฉบับสแตนฟอร์ด
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เคล็ดลับการนอนฉบับสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งด้านการนอนหลับ
เคล็ดลับสร้างบรรยากาศในห้องนอน : ถ้าหลับมีคุณภาพก็ลดน้ำหนักได้ผลดี
นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า
นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
เทคนิคการ “พักผ่อน” แบบไม่ต้องกังวลเรื่องงาน และได้ประสิทธิภาพสูงสุด!