“วัยหมดประจำเดือน” เป็นสิ่งที่สาวๆ ทุกคนจะต้องเจอทุกคน วัยหมดประจำเดือนคือการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในเพศหญิงจบลงในช่วงอายุราว 50 ปี ในทางการแพทย์ การที่ประจำเดือนไม่มีมากกว่า 1 ปีถือว่าหมดประจำเดือนแล้ว และการที่ประจำเดือนหมดนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมาย มาดูกันว่าสาวๆ จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
โรคที่มักเข้าใจผิดว่าเป็น “อาการวัยหมดประจำเดือน”
อาการของวัยหมดประจำเดือนนั้นมีมากกว่า 100 อาการเลยทีเดียว บางคนที่อายุอยู่ในช่วง 40 – 59 แล้วมีอาการไม่สบายขึ้นมาจึงคิดว่า “เป็นเพราะอยู่ในวัยหมดประจำเดือน” แต่แท้จริงอาจจะมาจากสาเหตุอื่น เพราะเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วโรคต่างๆ จะค่อยๆ มีอาการมากขึ้น
หลายโรคที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือนนั้นมีอาการคล้ายกับอาการไม่สบายในวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน มะเร็งมดลูก ซึมเศร้า โดยเฉพาะความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากเรารู้สึกว่าร่างกายแปลกไปควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไรกันแน่
เมื่อไหร่จะหมดประจำเดือนและจะมาในรูปแบบใด
เวลาที่ถึงวัยหมดประจำเดือน ประจำเดือนสามารถหมดลงได้อย่างกระทันหันและส่งสัญญาณล่วงหน้าได้ และลักษณะการหมดประจำเดือนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จากผลสำรวจพบว่ามีผู้ที่เคยมีประจำเดือนและอยู่ๆ ก็หายไป 10 เปอร์เซ็นต์ แต่คนส่วนมากประจำเดือนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงก่อน 2 – 3 ปีก่อนที่ประจำเดือนจะหมดโดยมีรูปแบบดังนี้
• ประจำเดือนเริ่มเปลี่ยนแปลง
• ประจำเดือนมาเร็วขึ้น
• เลือดประจำเดือนลดน้อยลงแต่มีนานขึ้น
• รอบเดินเริ่มห่างออกไป เช่น 3 เดือนต่อครั้ง
• หมดประจำเดือนทันที
หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่เกิน 2 ปี ประจำเดือนถึงจะหมดลง จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขพบว่าผู้หญิงจะหมดประจำเดือนเมื่ออายุ 50 ปี 40 เปอร์เซ็นต์ อายุ 54 ปี 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วจะอยู่ในช่วงอายุ 45 ปี และหมดประจำเดือนช้าคือช่วงอายุ 57 ปี
อาการหลงลืมในวัยหมดประจำเดือนต่างจากโรคสมองเสื่อมอย่างไร
เมื่อหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ทำงานคู่กับสารสื่อประสาทลดลง และสารเซโรโทนินที่เป็นสารสื่อประสาทในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้การทำงานของสมองช้าลง ความจำและความระมัดระวังก็น้อยลงด้วย แต่อาการนี้มีแค่ชั่วคราว เมื่อหลังหมดประจำเดือนอาการแปรปรวนในสมองจะลดลงเอง ดังนั้นอาการหลงลืมในวัยนี้จึงเป็นเรื่องธรรมชาติ
ความแตกต่างระหว่างอาการหลงลืมธรรมดากับสมองเสื่อมคือ เรารู้ตัวว่าตัวเองหลงลืม เช่น จำไม่ได้ว่าตัวเองกินอะไรแต่รู้ตัวว่ากินข้าวแล้ว ดังนั้นควรที่จะจดบันทึกเพื่อกันลืม ออกกำลังกายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น กินผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม และวิธีที่ดีที่สุดคือกระตุ้นสมองด้วยการพูดคุย อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว และการเลี้ยงดูลูกหลาน
อย่าสับสนระหว่างภาวะซึมเศร้าในวัยหมดประจำเดือน กับ โรคซึมเศร้า
ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนมักจะมีภาวะซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย เพราะฮอร์โมนเอสโทรเจนหมดลง การทำงานของสารสื่อประสาทอย่างเซโรโทนินที่ทำงานร่วมกับการเรียนรู้และควบคุมอารมณ์ซึมเศร้าจะขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นจะทำให้มีอาการ หลงลืมชั่วคราว นอนไม่หลับ ท้อแท้หมดกำลังใจ และซึมเศร้าในที่สุด
อาการของภาวะซึมเศร้าในวัยหมดประจำเดือนกับโรคซึมเศร้าจะคล้ายกัน ภาวะซึมเศร้าในวัยหมดประจำเดือนจะมีหลายอาการ เช่น นอนหลับยาก หงุดหงิดง่าย ไม่มีความอยากอาหาร อ้วนหรือผอมเร็ว ง่วงทั้งวัน ไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่ถ้าหากเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความคิดที่อยากตายและทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย กรณีนี้ควรเข้าพบแผนกจิตเวชทันที
ข้อมูลจากหนังสือ รู้จริงเรื่องฮอร์โมน สุขภาพดีตลอดชีวิต
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เทคนิคง่ายๆ เพิ่มฮอร์โมนชะลอวัย ผิวสวยหน้าใส ห่างไกลความแก่
สาเหตุ ปัญหา และวิธีแก้ไข อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
สาเหตุของ PMS อาการหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน และวิธีรักษา