วิธีบันทึกการอ่านด้วยกระดาษโน้ต เพื่อให้เป็นคน Input เก่งขึ้น!

“การอ่านผ่านตา” ไม่มีทางช่วยให้อ่านหนังสือหรือตำราเรียนดีขึ้น การอ่านพร้อมกับเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดกำกับเอาไว้ ถึงจะนำไปสู่การฝึกฝนทักษะการตีความ และพลังความคิดได้ “กระดาษโน้ต” จึงเข้ามามีบทบาท ในการเขียนบันทึกลงบนกระดาษโน้ตแล้วติดลงบนหนังสือหรือตำราเรียน นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้หน้าหนังสือสกปรกแล้ว ยังดูสะดุดตาน่าอ่านมากขึ้นด้วย เราไปดู “วิธีบันทึกการอ่านด้วยกระดาษโน้ต เพื่อให้เป็นคน Input เก่งขึ้น!” พร้อมกัน 

อ่านพร้อมคิดตามว่า “ต้องกลับมาทบทวนเรื่องใด”

การอ่านหนังสือหรือตำราเรียนแตกต่างจากการอ่านนิยายและหนังสือที่สนใจ ดังนั้นอ่านแค่ครั้งเดียวแทบไม่มีประโยชน์ ถ้าอยากจดจำเนื้อหาให้แม่นยำจริง ๆ ควรอ่านทวนสัก 3 รอบ เคล็ดลับสำคัญคือ “ไม่อ่านนาน ๆ รวดเดียวจนจบ แต่ให้แบ่งอ่านทีละน้อย”

รอบแรกที่หยิบหนังสือหรือตำราเรียนขึ้นมาอ่าน อย่าลืมคิดตามด้วยว่า “ต่อไปควรทบทวนเรื่องอะไร” เพราะการเตรียมเรื่องที่ต้องทบทวนเอาไว้ล่วหน้า เป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนและการทำงาน

ติดกระดาษโน้ตบนจุดที่ต้องการทบทวน

เวลาติดกระดาษโน้ต อย่าลืมเขียนกำกับไว้ด้วยว่า “ติดเพราะเหตุใด” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ จดบันทึกความประทับใจและสิ่งที่ตนคิดเสมอระหว่างการอ่านแล้วติดเอาไว้ในหน้านั้น ๆ หากไม่ทำเช่นนี้ ตอนย้อนกลับมาอ่านอาจงงว่า “ติดกระดาษโน้ตไว้ตรงนี้ทำไม” สำหรับคนที่ชอบจดลงบนหน้ากระดาษโดยตรง เพราะไม่ต้องการให้มีอะไรมาบดบังบรรทัดอักษร ลองใช้กระดาษโน้ตแบบฟิล์มใส ซึ่งติดแล้วยังมองเห็นตัวหนังสือที่อยู่ใต้กระดาษโน้ต

การระบุวันที่บนกระดาษโน้ต เช่น “จะทบทวนเมื่อไร” เป็นกลเม็ดสำหรับย้ำเตือนให้รู้ว่าต้องทบทวนซ้ำเนื่องจากเนื้อหาของสิ่งที่จดจำได้ในการอ่านครั้งแรกถือเป็นความทรงจำระยะสั้น หรือความทรงจำที่ลืมได้ง่าย

การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นให้เป็น “ความทรงจำระยะยาว” ต้องอาศัยการทบทวนหลังเว้นระยะสักพัก หากเว้นระยะนานเกินก็อาจลืมหมด แม้กระทั่งเรื่องที่ว่าต้องย้อนกลับมาทบทวนอีกรอบ จึงควรกำหนดกฎเอาไว้เนิ่น ๆ เช่น “จะทบทวนสิ่งที่จดจำมาตลอดทั้งสัปดาห์ (บางคนอาจรวบส่วนของสัปดาห์ก่อนหน้ามาทบทวนด้วย) ทุกวันอาทิตย์”

เขียน “ข้อสังเกต” ไว้ด้านหลังปก

ข้อสังเกตในที่นี้หมายถึง “ข้อควรสังเกตในการใช้งานหรือปฏิบัติ” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เขียนสิ่งที่ตนควรเอาใจใส่ให้มากขึ้นในการอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ ในครั้งถัดไป โดยติดกระดาษโน้ตจดข้อสังเกตไว้ด้านหลังปก จังหวะเวลาในการเขียนนี้ไม่มีข้อบังคับตายตัว จะเขียนหลังอ่านจบแล้วก็ได้ ส่วนแนวทางในการเขียนขอให้จินตนาการว่ากำลังเขียน “จดหมาย” ถึงตัวเองซึ่งตั้งใจจะเปิดอ่านทวนซ้ำอีกรอบ

การหยิบเนื้อหาที่จดสรุปมาพูดคุย เช่น “หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเป็นแบบนี้ ตรงจุดนี้สนุกมากเลยละ” ถือเป็นการช่วยให้สมองจัดระเบียบความทรงจำเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ ดีขึ้นที่สำคัญกระดาษโน้ตไม่ได้มีแค่ขนาดพกพาอันน้อยนิด แต่มีขนาดใหญ่พอสำหรับจดหรือเขียนข้อความด้วย ดังนั้นลองเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และความต้องการ

วิธีบันทึกการอ่านด้วยกระดาษโน้ต เพื่อให้เป็นคน Input เก่งขึ้น!

หนังสือ เทคนิคเรียนเก่งด้วยกระดาษโน้ต ฉบับเด็กโทได

เขียนโดย ชิมิซุ อากิฮิโระ

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก 

บทความอื่น ๆ

เทคนิคการจดโน้ต จดอย่างไรให้นำไปใช้ได้จริง!

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า