จากมดงานสู่มังกรรบ ด้วย 4 คติพจน์ของ ‘หัวเว่ย’

หัวเว่ย จากห้องเช่าในเซินเจิ้นสู่ธุรกิจระดับโลก

ขณะก่อตั้งธุรกิจหัวเว่ยในปี ค.ศ. 1987 ‘เหรินเจิ้งเฟย’ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของหัวเว่ย เริ่มต้นนั้นเขาไม่มีทั้งเงินทุนและภูมิหลังใดๆ ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด บริษัทของเขาก็ไม่น่ามีคุณสมบัติในการเติบโตเป็นบริษัทข้ามชาติ แต่หัวเว่ยกลับใช้เวลาสั้น ๆ เพียง 20 ปีเอาชนะลูเซนท์ นอร์เทลอัลคาเทล โนเกีย ซีเมนส์เน็ตเวิร์คส์ อีริคสัน และโมโตโรลา ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งระดับสุดยอดของสหรัฐอเมริกาและยุโรป กลายเป็นพลังขุมใหม่ของตลาดโทรคมนาคมสากล และเป็นตัวอย่างอันดีของธุรกิจจีนและโลก

 

เหรินเจิ้งเฟยและหัวเว่ยเติบโตเป็นใหญ่ได้ด้วย 4 คติพจน์ประจำใจของเขาต่อไปนี้

 

 

ความล้มเหลว คือสมบัติล้ำค่า

ถ้าจะกล่าวว่าเหรินเจิ้งเฟยมียาวิเศษอะไรที่สามารถทำให้หัวเว่ยผงาดขึ้นในเวทีสากลได้ นั่นก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง ก็เพราะสิ่งนี้นี่แหละที่ทำให้ชาวหัวเว่ยรู้ว่าตนเองยังขาดอะไร จากนั้นก็รวมกำลังกันใช้มาตรการแก้ไขจึงจะเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน โครงสร้างขององค์กรจึงแข็งแกร่งและองค์กรที่แข็งแรงก็มาจากการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง…

แต่การวิจารณ์ตนเองหมายถึงการยอมรับข้อเสีย ส่วนการสร้างนวัตกรรมหมายถึงความเสี่ยง ดังนั้นจึงมีพนักงานมากมายที่กลัวจะผิดพลาด จึงใช้วิธี “เอาตัวรอดไว้ก่อน”  เหรินเจิ้งเฟยจึงประกาศว่า

[su_quote]“ใครก็ตามที่ไม่เคยทำผิดเลยแม้แต่ครั้งเดียว เท่ากับงานไม่มีความก้าวหน้าควรให้พ้นจากตำแหน่งไหม เขาบอกว่าเขาไม่ได้ทำผิดนี่นา ไม่ได้ทำผิดจะเป็นเจ้าหน้าที่ได้หรือ บางคนไม่เคยทำผิดเลยเพราะเขาไม่เคยทำอะไรนั่นเอง…”[/su_quote]

ดังนั้นในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ เหรินเจิ้งเฟยจะพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ที่เคยทำผิดพลาดแต่กลับตัวได้ ความล้มเหลวคือสมบัติที่ล้ำค่า เพราะบทเรียนจากประสบการณ์เหล่านี้ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ขณะเดียวกันก็ยังใช้เป็นตัวอย่างให้เพื่อนพนักงานคนอื่นได้รู้ว่าอย่าไปนอกลู่นอกทางเช่นนั้น หลักการนี้สะท้อนถึงกุศลเจตนาของเหรินเจิ้งเฟยได้อย่างชัดเจนมาก นั่นคือไม่ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทำผิด แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องเกรงกลัวที่จะทำผิด ขณะเดียวกันต้องกล้าที่จะแก้ไขความผิดพลาด และได้บทเรียนจากความผิดพลาดนั้น

 

ผู้ชี้เป็นชี้ตายธุรกิจคือ ลูกค้า

[su_quote]“การทำให้ลูกค้าประสบความสำเร็จคือความสำเร็จของเรา”[/su_quote]

คนที่เคยทำงานข้างกายเหรินเจิ้งเฟยต่างรู้ว่าแม้เขาจะเป็นคนใช้ชีวิตราบเรียบสมถะที่สุด อาทิ ในห้องทำงาน เขาใช้ชุดน้ำชาเก่าเก็บตั้งแต่สมัยอยู่ในกองทัพ เตียงสนามของกองทัพ…แต่เมื่อใดที่เป็นการลงทุนด้านการพัฒนาเพื่อให้ลูกค้ากับหัวเว่ยเติบโตร่วมกัน เขาจะไม่คำนึงถึงต้นทุนและไม่เคยลังเลแม้แต่น้อย

เหรินเจิ้งเฟยทุ่มทุนหนึ่งร้อยล้านหยวนสร้างอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งที่ถนนเคอฟานิคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเซินเจิ้น และตั้งชื่อเองว่า “อาคารศูนย์บริการลูกค้าหัวเว่ย” ขณะเดียวกันก็ตั้งศูนย์บริการลูกค้าอีกสามสิบสองแห่งในหัวเมือง เขตปกครองตนเองในสามสิบสองมณฑลทั่วประเทศ กับสภาพการดำเนินงานอย่างสับสนอลหม่านของเครือข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศ หัวเว่ยนำเสนออย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าอุปกรณ์ของบริษัทใดก็ตามมีปัญหา ขอเพียงลูกค้าต้องการ ศูนย์บริการทุกแห่งจะรีบแก้ไขให้ทันที

“โลกนี้มีแต่ลูกค้าเท่านั้นที่ให้เงินหัวเว่ย ถ้าเราไม่บริการลูกค้าแล้วจะไปบริการใคร ในเมื่อผู้ชี้เป็นชี้ตายธุรกิจคือลูกค้า ลูกค้าจึงเป็นเหตุผลหนึ่งเดียวที่เราจะมีชีวิตรอด!” จากคำพูดนี้จะเห็นได้ถึงยุทธศาสตร์การตลาดระยะยาวที่หัวเว่ยยึดมั่นเสมอมา

 

ทำสิ่งที่ตนเชี่ยวชาญ

[su_quote]“เราคว้าหัววัวไม่ได้ แต่จงกำหางไว้ให้แน่น”[/su_quote]

แม้จะเสียเปรียบอย่างชัดเจนด้านเทคโนโลยีระดับหัวใจ แต่หัวเว่ยยังคงพบหนทางอื่นที่จะพัฒนาตนเอง นั่นคือชิปหรือวงจรรวม ซึ่งแม้จะมิใช่เทคโนโลยีระดับหัวใจ แต่เนื่องจากหัวเว่ยมีนักวิจัยมากมายที่ต้นทุนต่ำและเชี่ยวชาญในการต่อยอดหรือพัฒนาเชิงลึก จึงทำให้มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี จากนั้นจึงใช้ความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีนี้ขยายผลจนกลายเป็นความได้เปรียบด้านต้นทุน

ขณะเหรินเจิ้งเฟยไปดูงานที่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992 เขาก็ได้ตระหนักถึงขอบเขตการพัฒนาที่คนจีนเชี่ยวชาญที่สุด : เช่น เวลานั้นราคาชิปที่จำเป็นต้องใช้สำหรับตู้สาขาโทรศัพท์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมสำหรับการสลับสัญญาณล้านหมายเลขราคาชิ้นละสองร้อยดอลลาร์ ถ้าสั่งซื้อปริมาณมาก ราคาแต่ละชิ้นจะถูกลงสามถึงห้าดอลลาร์ ถ้านำชิปที่คิดค้นออกแบบเองนำไปผลิตในซิลิคอนแวลลีย์ของสหรัฐฯ เกาหลี หรือไต้หวัน ต้นทุนชิปต่อชิ้นจะอยู่ในราวสิบดอลลาร์ ถ้าผลิตในปริมาณมากอาจลดได้อีก 0.5 – 1 ดอลลาร์ต่อชิ้น ถูกกว่าร่วมยี่สิบเท่าตัว!

ตู้สาขาโทรศัพท์ขนาดล้านหมายเลขประกอบด้วยแผ่นชิปใหญ่เล็กหลายร้อยชิ้น ชิปสำคัญบางตัวถ้าลดลงได้ 30 – 100 ดอลลาร์ย่อมจะลดต้นทุนการผลิตตู้สาขาโทรศัพท์ของหัวเว่ยลงได้มากทีเดียว จึงเห็นได้ชัดว่าถ้าสามารถเจาะเทคโนโลยีการผลิตแผ่นชิปและใช้ความได้เปรียบด้านแรงงานของจีน หัวเว่ยก็จะได้เปรียบด้านต้นทุนในการแข่งขันและมีโอกาสผงาดขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้ปี ค.ศ.1992 หัวเว่ยจึงตั้งทีมงานเฉพาะกิจ “ศูนย์การออกแบบวงจรรวม”รับผิดชอบการผลิตชิป และบากบั่นพยายามอยู่ถึง4ปี ในเดือนกรกฎาคม ปี 1996 พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการผลิตชิปสำหรับตู้สาขาโทรศัพท์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมระดับล้านหมายเลข หลังสะสมประสบการณ์เหล่านี้ หัวเว่ยจึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการผลิตชิปสำหรับการส่งสัญญาณนำแสงบรอดแบนด์ มัลติมีเดีย GSM CDMA และ 3G กลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตแผ่นชิปของจีน

ในปี ค.ศ. 1998 หัวเว่ยทำยอดขายทะลุแปดพันเก้าร้อยล้านหยวนเพียงแผ่นชิปรายการเดียวก็ทำให้หัวเว่ยประหยัดรายจ่ายได้มหาศาล จากการนี้จึงเห็นได้ว่าการวิจัยแผ่นชิปเชิงลึกคือประเด็นสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติอื่นๆ

 

เทคโนโลยีต้องล้ำหน้าเพียงครึ่งก้าว

[su_quote]“ต่อให้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำยุคเพียงใด หากมันไม่สามารถสร้างมูลค่าทางการค้า สำหรับธุรกิจแล้วไม่เพียงไร้ความหมาย หากยังเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุนมหาศาลด้วย”[/su_quote]

หลังฟองสบู่ไอทีแตกในปี ค.ศ. 2000 ผู้ประกอบการที่บาดเจ็บสาหัสไปตาม ๆ กันจึงเลิกแสวงหาเทคโนโลยีใหม่อย่างหลับหูหลับตา ธุรกิจสื่อสารทั้งวงการพากันคิดจะใช้โครงข่ายไอพี (Internet Protrocol) ให้เป็นประโยชน์เพื่อลดการลงทุน แต่นอร์เทลกลับทุ่มทุนมหาศาลกับเทคโนโลยีเอ็นจีเอ็น8 ขณะเดียวกันก็ความรู้สึกช้าจนพลาดโอกาสการเปลี่ยนผ่านครั้งแรก ปี ค.ศ. 2004 ขณะที่ระบบ 3G กำลังร้อนแรงทั่วโลก บริษัทอุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น อีริคสัน อัลคาเทล หัวเว่ย และจงซิงพากันอัพเกรดหรือขยายเวอร์ชั่น 2G เป็น 3G แต่นอร์เทลกลับทำผิดพลาดด้วยการขายเทคโนโลยี 3G ให้อัลคาเทล จากนั้นนำเงินทุนทั้งหมดไปทุ่มให้กับการวิจัยพัฒนาแอลทีอี9 (LTE) ซึ่งก้าวหน้าที่สุดในขณะนั้น ดูจากเวลานั้นแล้วนอร์เทลคือผู้โต้คลื่นของเทคโนโลยียุคใหม่ แต่น่าเสียดายที่การเปลี่ยนผ่านหลายครั้งล้วนเป็นด้านเทคโนโลยีเป็นหลักโดยละเลยความต้องการของลูกค้า

หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี ค.ศ. 2008 นอร์เทลที่จมปลักอยู่กับการขาดทุนดิ้นรนอยู่แปดปี สุดท้ายก็ล่มสลายโดยแยกส่วนขายให้กับไมโครซอฟท์ แอปเปิลกูเกิล และอีริคสัน หายไปจากตลาดด้วยความจำยอม

ธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ล้วนเคยสร้างคุณูปการให้กับความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ เคยเจิดจ้าไปทั่วโลก แล้วก็ล้มครืน เหรินเจิ้งเฟยเคยขบคิดและสรุปเป็นบทเรียนว่า ธุรกิจที่พิการเหล่านี้ มิใช่เพราะเทคโนโลยีไม่ก้าวหน้า หากเป็นเทคโนโลยี

ที่ล้ำยุคจนผู้คนยากจะรู้จักและยอมรับ จึงทำให้ไม่มีใครมาซื้อผลิตภัณฑ์ ขายไม่ออก แต่กลับสิ้นเปลืองแรงงาน วัตถุ เงิน และสูญเสียกำลังการแข่งขัน”

แต่ธุรกิจจะไม่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไม่ได้ ทัศนะของหัวเว่ยคือ ในแง่นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ หัวเว่ยต้องรักษาความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี แต่ต้องล้ำหน้าคู่แข่งเพียงครึ่งก้าว ถ้าล้ำหน้าสามก้าวก็จะกลายเป็น ‘วีรชน’ ”

 

เรียบเรียงจากหนังสือ

หัวเว่ย

เขียนโดย  หยางเช่าหลง

แปลโดย ชาญ ธนประกอบ

สำนักพิมพ์ Amarin How – To

ราคา 315 บาท


บทความอื่นๆ

รู้จักเหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง หัวเว่ย HUAWEI

5 กลยุทธ์การทำธุรกิจแบบ หัวเว่ย HUAWEI

จากศูนย์สู่ ZARA อามันซิโอ ออร์เตกา จากลูกจ้างการรถไฟสู่อาณาจักรแฟชั่นหมื่นล้าน

6 องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ให้ปัง! ในยุค 4.0

จากมดงานสู่มังกรรบ ด้วย 4 คติพจน์ของ ‘หัวเว่ย’

5 วาทะเด็ดสอนพนักงานของ เหรินเจิ้งเฟย CEO หัวเว่ย

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า