ง่วงแต่ นอนไม่หลับ นอนกระสับกระส่าย นอนหลับยาก ชอบตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างไม่รู้สาเหตุ นอนนับแกะก็แล้ว ดูซีรี่ส์สิบตอนรวดก็ไม่หลับสักที บางทีอาการนอนไม่หลับอาจจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ รีบแก้ไขให้ทันท่วงทีเพราะการนอนไม่หลับอาจส่งผลร้ายตามมาในอนาคต
มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เรานอนไม่หลับมีอะไรบ้าง
หยุดหายใจขณะหลับ
โรคนี้เกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบและหยุดหายใจ 10 วินาที หรือมากกว่า ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง สมองจึงตื่นตัวและสั่งให้ร่างกายหายใจแรงขึ้น มักจะเกิดขณะหลับสิบๆ ครั้ง จึงทำให้ตื่นกลางดึก หลับไม่สนิทนัก และนอนไม่หลับอีกเลย
โรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ ผู้ป่วยมักจะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิเรียนหรือทำงาน อารมณ์ไม่แจ่มใส ท้อแท้ เบื่อ และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคอ้วนอีกด้วย
ขากระตุกขณะหลับ
จะมีอาการขาหรือแขนกระตุกเป็นพักๆ ตลอดทั้งคืน อาการมักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งคืนแรกของการนอน การกระตุกจะเกิดขึ้นนานประมาณ 0.5 – 5 วินาที และเกิดซ้ำทุกๆ 20-40 วินาที หากขยับมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปต่อชั่วโมง จะทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะอาจตื่นขึ้นมากลางดึกหลายครั้งจากการที่ขากระตุก แต่บางรายอาจไม่รู้ตัวว่าตื่นมากลางดึกก็ได้ โดยรวมแล้วอาการเหล่านี้จะทำให้มีคุณภาพการนอนที่แย่ลง
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสารโดพามีนลดต่ำกว่าปกติ ระบบรักษาสมดุลของธาตุเหล็กในร่างกายทำงานผิดปกติ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ขาดสารอาหารบางชนิด สูบบุหรี่ อดนอน และการใช้ยาบางตัว เช่น ยาต้านเศร้า ยาแก้คลื่นไส้ และยาแก้แพ้
กรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนส่งผลต่อการนอนอย่างมาก เพราะการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย และอาจมีอาการคลื่นไส้ จะทำให้ผู้ป่วยหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ และตื่นกลางดึก
วิธีแก้ไขอาการโรคกรดไหลย้อนที่รบกวนการนอน นอกจากจะกินยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุหนุนขาเตียงบริเวณหัวเตียง เช่น ไม้ หรืออิฐ การทำให้ด้านหัวนอนสูงขึ้นจะช่วยให้กรดไหลย้อนน้อยลง
หลายคนคิดว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วให้ยกศีรษะให้สูงขึ้นโดยใช้หมอนรองศีรษะ วิธีนี้จะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น และมีกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งอาจมีปัญหาปวดต้นคอตามมา
ออกกำลังกายมากเกินไป
การออกกำลังกายเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดีแน่นอน เพราะร่างกายจะเครียด เนื่องจากถูกใช้งานหนักจนต่อมหมวกไตทำงานได้ไม่ดี จนทำให้มีฮอร์โมนแห่งความเครียดมากจนเกินไป นอกจากนี้สภาพร่างกายขณะออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ไม่ควรออกกำลังกายเมื่อยังอยู่ในภาวะมีไข้
การออกกำลังกายก่อนนอนจะทำให้หัวใจสูบฉีดเร็ว ร่างกายตื่นตัวเต็มที่ จนส่งผลให้นอนหลับยากขึ้น หรือนอนไม่หลับเลย หากอยากออกกำลังกายก่อนนอนขอให้ออกกำลังกายแบบเบาๆ จะดีที่สุด เช่น ซิทอัพ หรือยกเวท เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
Pingback: นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
Pingback: วิธีแก้ “เจ็ตแล็ก” อาการสุดฮิตของคนเดินทาง โดย หมอแอมป์ นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ
Pingback: นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า
Pingback: วิธีแก้ เจ็ตแล็ก อาการสุดฮิตของคนเดินทาง โดย นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ
Pingback: นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า
Pingback: เคล็ดลับ สร้างบรรยากาศในห้องนอน : ถ้าหลับมีคุณภาพก็ลดน้ำหนักได้ผลดี
Pingback: วิธี แก้ง่วงตอนเช้า เข้านอนหัวค่ำแต่ทำไมตอนเช้ายังง่วงอยู่