Author Archives: AMARINBOOKS TEAM

แบบทดสอบ คุณเป็นคนเก็บเงินเป็นหรือไม่ ฉบับมนุษย์เงินเดือน

การ เก็บเงิน ออมเงินเป็นเรื่องลำบากสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมชวนให้เสียเงินตลอด ที่ทำงานอยู่ใกล้แหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหารน่านั่งอีกเพียบ บางครั้งเก็บเงินเข้าบัญชีเงินเก็บไปแล้ว ต้องเอาออกมาใช้ปลายเดือนเพราะใช้เงินเยอะเกินไป เงินเก็บเลยไม่ค่อยจะเหลือ   ลองมาดูกันว่าคุณทำพฤติกรรมแบบไหนบ้าง บางนิสัยที่คุณคิดว่าดีแล้ว มันเป็นการประหยัดเงินอาจจะเป็นความเข้าใจผิดก็ได้ รู้ไว้ตอนนี้จะได้ปรับพฤติกรรมก่อนที่เงินจะค่อยๆ บินออกจากกระเป๋าสตางค์แบบไม่ทันรู้ตัว   เล่นเฟซบุ๊กและไลน์บ่อยๆ หรือแทบไม่ได้เล่นเลย   ภาพที่พบเห็นบ่อยๆ เวลาขึ้นรถไฟฟ้าคือคนที่กำลังจดจ่อกับเฟซบุ๊ก ไลน์ และโซเชียลมีเดียต่างๆ รู้หรือไม่ว่าเมื่อมองจากมุมมองเรื่องเงิน เรื่องนี้ถือเป็นการใช้เงินอย่างสิ้นเปลืองพอสมควรเลย   หลายคนอาจให้เหตุผลว่า “โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก เพราะช่วยเชื่อมโยงฉันกับเพื่อนๆ และคนรู้จัก แถมไม่ต้องเสียเงิน และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการติดต่อกับคนอื่นๆ” ซึ่งก็จริง การใช้โซเชียลมีเดียโดยตัวมันเองไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ “ระยะเวลาที่ใช้” ต่างหาก   เวลาที่เราใช้เล่นโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น คนอายุ 20-29 ปีใช้ไลน์ถึงร้อยละ 90 ขณะที่คนอายุ 30-39 ปีก็ใช้มากถึงร้อยละ 70    หากใครรู้ทั้งรู้และลดไม่ได้ก็ลองนึกถึง “รายได้ต่อชั่วโมง” ของคุณดู เช่น คุณได้ค่าจ้างชั่วโมงละ 150 บาท […]

รู้จัก เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง “หัวเว่ย HUAWEI”

จากเด็กยากจนสู่ CEO ระดับโลก เหรินเจิ้งเฟย คือใคร..? เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและแม่ทัพของหัวเว่ย เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง เกิดเมื่อปี 1944 ในอำเภอเจิ้นหนิง เขตอ่านซุ่น เมืองกุ้ยโจว ซึ่งเป็นเขตภูเขา เป็นที่อาศัยของชนกลุ่มน้อยและยากจน พ่อของ เหรินเจิ้งเฟย ชื่อเหรินโมซุ่น ทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่เมืองติ้งไห่ มณฑลเจ้อเจียง และเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู  ส่วนแม่ชื่อเฉิงหย่วนเจา แม้จะมีความรู้เพียงระดับมัธยมปลายแต่ด้วยอิทธิพลจากสามี จึงพยายามศึกษาด้วยตนเองจนได้เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์มัธยมปลายผู้มีชื่อเสียง ติดตามสามีสู่เขตภูเขากุ้ยโจวที่แร้นแค้นเพื่อมอบชีวิตให้กับเด็กยากจน เป็นผู้ขยันอดทน จิดใจดีงาม และประหยัดมัธยัสถ์ เหรินเจิ้งเฟยมีพี่น้องเจ็ดคน เขาเป็นคนโต ครอบครัวทั้งเก้าคนต้องยังชีพด้วยเงินเดือนอันน้อยนิดของพ่อแม่ เมื่อลูกเจ็ดคนโตขึ้นทุกวัน เสื้อผ้าก็สั้นลงทุกวัน และเด็กต้องเรียนหนังสือ รายจ่ายครอบครัวสูงมาก เหรินเจิ้งเฟยจำได้ว่าทุกวันเปิดเทอมต้องจ่ายค่าเล่าเรียนสองถึงสามหยวน แม่ก็จะกลุ้มใจ ทุกครั้งพอสิ้นเดือนแม่ต้องขอยืมเงินจากเพื่อนบ้านเพื่อประทังความหิว  บางครั้งก็หายืมไม่ได้  เหรินเจิ้งเฟยตอนก่อนจบมัธยมจึงไม่เคยสวมชุดนักเรียน แม้อากาศร้อนก็ยังคงสวมเสื้อหนาๆ เพื่อนนักเรียนก็ยุให้เขาขอเสื้อใหม่จากแม่ แต่เขาบอกว่าไม่กล้า เพราะรู้ดีว่าแม่ทำไม่ได้   หลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย แม่ให้เสื้อเชิ้ตแก่เขาสองตัว ยามนั้นเขาอยากจะร้องไห้ เพราะ “ถ้าฉันได้ น้องๆ ก็ต้องลำบากแน่”   เหรินเจิ้งเฟียในวัย […]

5 กลยุทธ์การทำธุรกิจแบบ หัวเว่ย HUAWEI

หัวเว่ย HUAWEI แบรนด์จากประเทศจีน ที่ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงและทำรายได้มหาศาล สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนแซงแอปเปิลสำเร็จ จนขึ้นแท่นผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกลายเป็นแบรนด์จีนที่ได้รับการยอมรับที่สุดในปัจจุบัน   หัวเว่ยHUAWEI มีเคล็ดลับในการพาองค์กรขึ้นไปสู่ระดับโลกได้อย่างไร โดยจุดเริ่มต้นมีแค่พนักงานเพียง 6 คนเท่านั้น กลยุทธ์ที่เขาใช้ต้องไม่ธรรมดาแน่นอน มาดูกันว่ามีกลยุทธ์แบบใดบ้าง     การพัฒนาอย่างสมดุลคือการจับไม้ซี่ที่สั้น การปรับปรุงการบริหารจะต้องเน้นที่การปรับปรุงไม้ซี่ที่สั้นที่สุด หัวหน้าทุกหน่วยงานจะต้องหาส่วนที่อ่อนแอที่สุดให้เจอ ต้องยืนกรานที่จะทำการพัฒนาอย่างสมดุล เน้นที่การพัฒนากระบวนการและการบริหารเชิงระบบ พยายามทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มคุณประโยชน์ให้มากยิ่งขึ้น   และเน้นการพัฒนาที่สมดุล จะมัวแต่เน้นอยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้   วิพากษ์ตนเองคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์ การวิพากษ์ตนเองคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์ความคิด จริยธรรม ความรู้ และความสามารถ จะต้องมีกิจกรรมเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง เพื่อเสริมกำลังการแข่งขันของบริษัท   หัวเว่ย ส่งเสริมการวิพากษ์ตนเอง แต่ไม่ส่งเสริมการวิจารณ์ซึ่งกันและกัน เพราะถ้าวิจารณ์รุนแรงเกินไปก็จะเกิดความบาดหมาง ส่วนการวิพากษ์ตนเองนั้นปกติคงไม่มีใครรุนแรงกับตนเอง แม้จะเป็นการใช้ไม้ขนไก่ตีเบาๆ สักครั้งก็ยังดีกว่าไม่ตีเลย   การวิพากษ์ตนเองต้องเริ่มจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทุกๆ ปีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะมีการประชุมแบบประชาธิปไตย ปัญหาที่เสนอในที่ประชุมจะเฉียบคมอย่างยิ่ง และการเสนอความเห็นต้องนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป หลังจากนั้นก็จับมือกันไปสู้รบต่อ   อย่าหลับหูหลับตาสร้างนวัตกรรม หัวเว่ยยืนกราน “ก้าวหน้าเล็กๆ […]

3 วิธีคิดนอกกรอบแบบอัจฉริยะ โดย ทันตแพทย์สม สุจีรา

นับแต่กำเนิดผึ้งตัวแรกของโลก เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนจวบจนปัจจุบัน รังผึ้งก็ยังมีรูปร่างแบบเดิมๆ นั่นเป็นเพราะผึ้งไม่มีความคิด มันทำทุกอย่างตามสัญชาตญาณ เรียกได้ว่า สัตว์ไม่มีความสามารถในการ คิดนอกกรอบ มนุษย์เท่านั้นที่มีความสามารถการ คิดนอกกรอบ แต่ว่าทุกคนมีไม่เท่ากัน เพราะการคิดในกรอบง่ายและปลอดภัยกว่าการคิดนอกกรอบ จึงมีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่กล้าคิดต่าง และคนส่วนนี้คือคนที่ประสบความสำเร็จในสาขาต่างๆนั่นเอง   นายแพทย์เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Dr. Edward de Bono)ผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking หรือ การคิดนอกกรอบ บอกว่า “มีไม่กี่ครั้งที่การคิดนอกกรอบจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น จงคิดทางเลือกไว้หลายๆ ทาง คิดนอกกรอบหลายๆ แบบ แต่ถ้ามีเพียงครั้งเดียวที่ประสบความสำเร็จ ผลของมันก็คุ้มค่าที่สุด”

“เลี้ยงลูกให้ฉลาด” ไม่สำคัญเท่ากับเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีความสุข

เมื่อเอ่ยถึงการเลี้ยงลูก เป้าหมายหลักในการเลี้ยงลูกของคุณพ่อคุณแม่คืออะไร…? หลายท่านตอบว่าอยาก เลี้ยงลูกให้มีความสุข เป็นคนดี เป็นคนเก่ง ให้เขาเติบโตเลี้ยงดูตัวเองได้ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ และอีกหลายท่านบอกว่าไม่ต้องการอะไรมาก แค่อยากเห็นเขาเติบโตเป็นคนที่มีความสุข เท่านั้นพอ คำถามต่อมาคือ คุณพ่อและคุณแม่จะมีวิธีเลี้ยงลูกอย่างไรให้เขาเป็นคนดี เป็นคนเก่งและยังเป็นคนที่มีความสุขไปพร้อมๆ กัน ลองมาคำแนะนำจาก คิม มูกี ผู้เขียนหนังสือ “สอนลูกให้ได้ดีและมีความสุข” กันค่ะ     นับตั้งแต่เด็กคนหนึ่งลืมตาดูโลก จนกระทั่งเติบโตพอจะดูแลตัวเองได้ เขาต้องพบสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ได้ยาก ต้องพบเจอผู้คนในสังคมที่มีคนนิสัยดีและไม่ดีปะปนกัน โลกอินเทอร์เน็ตที่พร้อมจะเป็นยาพิษสำหรับเขาหากเขาไม่รู้เท่าทัน และปัญหาอันซับซ้อนอีกมากมายเสมือนเป็นเส้นทางขรุขระในชีวิต หลายปีที่ผ่านมานี้ คิม มูกี นักธุรกิจผู้ทำงานสายสถาบันทางการเงินต่างประเทศพบว่า คนญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จและมีความสุขล้วนมีทักษะความเป็นผู้นำ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนทั่วไป และนั่นยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขาอยากรู้เพิ่มเติมว่า พ่อแม่ของคนเหล่านี้มีวิธีเลี้ยงดูลูกอย่างไร และลูกๆ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเลี้ยงดูตามแบบฉบับของพ่อแม่ จึงได้สัมภาษณ์นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น เช่น มหาวิทยาลัยเกียวโต มหาวิทยาลัยวาเซดะ มหาวิทยาลัยเคโอ กว่า 200 คน รวมถึงบุคคลที่ทำงานในองค์กรระดับโลก แล้วจัดกลุ่ม นำเสนอแนวทางการเลี้ยงดูเด็กเป็นรายข้อ มีหนังสือคู่มือพ่อแม่มากมายที่บอกเราว่า พ่อแม่ควรจะเลี้ยงดูลูกอย่างไร แต่หนังสือเล่มนี้ “สอนลูกให้ได้ดีและมีความสุข” […]

คำพูดแบบไหนทำให้ ความรักสมหวัง ฉบับไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ถ้าอยากมี ความรักสมหวัง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ลองมาดูคำแนะนำจากหนังสือ “พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข” กันค่ะ อ่านจบแล้วรับรองว่า ความรักสมหวัง และได้พบแต่เรื่องดีๆ มีความสุขแน่นอน

5 วรรณกรรมเยาวชน ต้นแบบโรคผิดปกติทางจิต

โรคผิดปกติทางจิต หรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับจิตใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้บนโลกใบนี้ บางครั้งคุณหมอจะตั้งชื่อของโรคผิดปกติทางจิตเหล่านั้น ตามอาการที่เกิดขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า โรคผิดปกติทางจิต หลายๆ โรค ตั้งชื่อขึ้นตามตัวละครในวรรณกรรมคลาสสิกก้องโลก  และแน่นอนว่า อาการของโรคที่ผู้ป่วยต้องประสบนั้น มีอาการเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องนั้นๆ ด้วย เราลองมาดูกันว่า มีโรคอะไรบ้าง จะมีตัวละครโปรดของเราเป็นหนึ่งในนั้นไหมนะ…?   อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ ซินโดรม (Alice in Wonderland Syndrome)   ‘อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์’ หรือ ‘อลิซผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์’ วรรณกรรมเยาวชนที่มีอายุกว่า 150 ปี แต่งโดย ลูอิส แคร์รอล (Lewis Carroll)  เป็นเรื่องราวการผจญภัยสุดแฟนตาซีของเด็กสาว “อลิซ” โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโพรงกระต่ายสุดอัศจรรย์ “อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ ซินโดรม” เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ชื่อของโรคนำมาจากการผจญภัยตอนหนึ่งที่อลิซหลงเข้าไปในบ้านลึกลับแล้วต้องเลือกระหว่าง ‘Drink Me’ เครื่องดื่มที่ทำให้ตัวเล็กลง หรือทานเค้ก ‘Eat Me’ […]

6 วิธี เยียวยาโรคซึมเศร้า คำแนะนำจากอดีตผู้ป่วยที่รับมือโรคซึมเศร้านานกว่า 7 ปี

รู้ไหมว่า…  “ในคนจำนวน 5 คน จะมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 1 คน”  นั่นหมายความว่าทุกที่ที่เราไป หรืออาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือเราก็มีสิทธิ์ที่จะเป็น โรคซึมเศร้า ด้วยกันทั้งนั้น     หากพบว่าคนใกล้ตัวของเราเป็นโรคซึมเศร้าแล้วเราต้องทำอย่างไรเมื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเยียวยาความทุกข์ให้กับตัวเองหรือพวกเขาเหล่านั้น  ลองมาดู 6 คำแนะนำดีๆ จาก “ดาวเดียวดาย” อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รับมือกับอาการป่วยอย่างเข้มแข็งและกล้าหาญมานานกว่า 7 ปี ซึ่งเธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวและคำแนะนำผ่านหนังสือ “เรื่องเล่าจากยอดภูเขาน้ำแข็ง” หนังสือเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า ที่มีคนบอกต่อมากที่สุด   ทีมงาน Amarinbooks หวังว่าคำแนะนำส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้ที่กำลังเผชิญกับ โรคซึมเศร้า สามารถรับมือและเยียวยาโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกวิธี    พบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้ป่วยจิตเวชบางคนมักกลัวการไปพบจิตแพทย์ กลัวสายตาคนรอบข้าง กลัวเพื่อนหาว่าไม่ปกติ จริงๆ แล้วการพบแพทย์เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอันดับต้นๆ จะได้รักษาได้ถูกต้องตามอาการ กินยาตามกำหนด และห้ามหยุดยาเองก่อนแพทย์สั่งเด็ดขาด หากมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจากการกินยา เช่น นอนทั้งวัน ท้องผูก ให้จดบันทึกอาการเหล่านั้นไว้ แล้วนำไปแจ้งจิตแพทย์ในครั้งต่อไป     ได้รับความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนใกล้ชิด จิตแพทย์เล่าว่า […]

โรคหลายบุคลิกคืออะไร? มาทำความรู้จัก “โรคหลายบุคลิก” ผ่าน 5 เคสดัง

โรคหลายบุคลิก คืออะไร โรคหลายบุคลิก (Dissociative Identity Disorder – DID หรือ Multiple Personality Disorder – MPD)  คืออาการทางจิตที่ความทรงจำ การรับรู้ตัวเองหายไปชั่วขณะ  ผู้ป่วย โรคหลายบุคลิก จะจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  บางคนอาจจะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันตั้งแต่ 2 บุคลิกขึ้นไป (อาจมากถึง 20 เลยก็ได้!)  โดยผู้ป่วย โรคหลายบุคลิก จะดึงบุคลิกภาพที่แตกต่างกันเหล่านั้นออกมาสลับกันมีบทบาทในโลกภายนอก  ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ ลักษณะนิสัย น้ำเสียงในการพูด และที่น่าประหลาดใจคือ บางครั้งพวกเขาดูอ่อนแอเหลือเกิน แต่กลับทำเรื่องแปลกๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถทำได้และพวกเขาก็จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยทำอะไรแบบนั้นได้

นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

ปัญหา นอนไม่หลับ เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความเครียด ไม่ว่าจะเป็นเครียดเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องครอบครัว อาการ นอนไม่หลับ ถ้าเกิดไม่บ่อยก็ไม่ส่งผลกระทบกับร่างกายมากนัก แต่ถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำ ก็อาจจะส่งผลให้เราเกิดปัญหาได้นะ  เช่น เข้านอนตอนสี่ทุ่ม แต่นอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนเตียง ตาหลับแต่นอนไม่หลับ ไปหลับจริงๆ ราวตีสาม แถมพอตื่นขึ้นก็รู้สึกว่าไม่สดชื่น ไม่สดใส รู้สึกเหมือนยังไม่ได้นอนจริงๆ  แบบนี้เรียกว่า อาการนอนไม่หลับเริ่มส่งผลกับร่างกายแล้ว ปล่อยไว้นานๆ คงไม่ดีแน่

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า