Factfulness

Factfulness หนังสือที่จะทำให้คุณมองโลกแตกต่างไปจากเดิม

Factfulness เป็นหนังสือที่แนะนำโดยบิล เกตส์ และถูกพูดถึงในรายการ TED TALK จนทำให้เกิดกระแสไปทั่วโลก แปลไปกว่า 36 ภาษา และมียอดขายทะลุ 1 ล้านเล่มไปเรียบร้อยแล้ว

ความดีงามของหนังสือเล่มนี้คือมันสามารถเปลี่ยนมุมมองเรา เปลี่ยนสายตาที่เราใช้มองโลกมาแทบจะตลอดชีวิตโดยใช้ข้อมูลทางสถิติและผลวิจัยมายืนยันว่า “จริงๆ โลกไม่ได้แย่นะ แกนั่นแหละชอบคิดไปเอง” จนทำให้เราฉุกคิดได้ว่า จริงๆ แล้วโลกนี้เป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลงแค่ไหน รวมไปถึงการละทิ้งค่านิยมต่างๆ ที่ถูกฝังหัวมาตลอดเวลา ทำให้เราซึมซับความรู้สึกแย่ๆ ที่มีต่อโลกโดยไม่รู้ตัว

Factfulness จะทำให้คุณมองโลกต่างไปจากเดิมอย่างไร มาดูกัน

 

โลกแบ่งเป็นสองส่วน

ความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงว่า “โลกแบ่งเป็นสองส่วน” ทำให้คนรับรู้โลกผิดไปอย่างมาก ผลกระทบแรกนั้นเลวร้ายที่สุด การแบ่งโลกออกเป็นสองกลุ่มด้วยคำว่าจนและรวยนั้นบิดเบือนสัดส่วนของโลกในใจของผู้คนโดยสิ้นเชิง

“ผู้คนประเทศนั้นไม่มีทางใช้ชีวิตได้แบบเรา” นี่ก็เป็นอีกประโยคหนึ่งที่มักได้ยินเวลามีคนพูดถึงประเทศที่มักจะมีคนคิดว่าเป็นประเทศยากจน ซึ่งนั่นคือการมองโลกแบบแบ่งแยก ประเทศเรา = ประเทศรวย / ประเทศนั้น = ประเทศจน

มันจะเกิดภาพในหัวและสื่อความหมายที่ผิดเพี้ยน แต่ความเป็นจริงแล้วมันมีช่องว่างระหว่างกลางอยู่ และผู้คนส่วนมากอยู่ตรงกลาง ไม่ได้อยู่ส่วนซ้ายหรือขวาของโลก

 

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จริงๆ แล้วประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้นด้วยความเร็วมาก ประชากรจะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งพันล้านคนในอีก 13 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นความจริงไม่ใช่ความเข้าใจผิด แต่นั่นไม่ใช่การเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คำว่า “เรื่อยๆ” หมายความว่า หากเราไม่ทำอะไรบ้างอย่าง ประชากรจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุด สื่อความหมายว่าต้องมีการกระทำจริงจังบางอย่างเพื่อหยุดการเพิ่มของประชากร ซึ่งนั่นคือความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดนี้เกิดจากสัญชาตญาณที่คิดว่าเส้นกราฟต่างๆ มากจะเป็นเส้นตรง นั่นคือพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

แต่สัญชาตญาณแห่งเส้นตรงของเรานี้ไม่ใช่ผู้นำทางที่เชื่อถือได้เสมอ ตัวอย่างเช่น เมื่อเห็นแผนภาพที่เป็นเส้น คงยากที่จะไม่จินตนาการว่าอนาคตจะมีเส้นตรงต่อออกไปจากเส้นเดิมที่มีอยู่ โดยพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ หรือดิ่งลงหากกราฟนั้นเริ่มจากจุดที่สูงพอสมควร

ปัจจุบันโลกมีประชากร 7.6 พันล้านคน และประชากรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การเพิ่มขึ้นนั้นเริ่มจะช้าลงแล้ว ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติแน่ใจว่าการเพิ่มของประชากรจะช้าลงเรื่อยๆ ในช่วงหลายสิบปีจากนี้ พวกเขาคาดว่าเส้นในแผนภาพจะกลายเป็นแนวราบช่วงระหว่างหนึ่งหมื่นล้านและหนึ่งหมื่นสองพันล้านคนเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้

เราต้องมั่นใจว่าเราเข้าใจรูปร่างต่างๆ ของเส้น เพื่อเข้าใจประกฎการณ์ที่เกิดขึ้น หากเราคิดไปเองว่า เรารู้ว่าเส้นที่เรายังมองไม่เห็นจะไปในทิศทางใด ก็มักเกิดข้อสรุปที่ผิด และนั่นคือสิ่งที่ทุกคนคิดว่าประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

ความกลัว VS อันตราย

ความกลัวฝึงลึกอยู่ในสมองของเรา เพราะเหตุผลด้านวิวัฒนาการ ความกลัวอันตรายต่อร่างกาย การถูกกักขัง และยาพิษ การได้รับรู้อันตรายเหล่านี้จึงกระตุ้นสัญชาตญาณความกลัวของเรา และเรื่องของสิ่งอันตรายก็ปรากฎอยู่ในข่าวทุกวัน เช่น ความรุนแรงที่เกิดจากคน สัตว์ ของมีคมหรือธรรมชาติ การถูกจองจำ หรือการสูญเสีย การปนเปื้อนจากสารเคมีที่มองไม่เห็นที่ทำให้เกิดโรค

ความกลัวนั้นมีประโยชน์ แต่เฉพาะความกลัวในสิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น สัญชาตญาณแห่งความกลัวเป็นตัวชี้นำให้เข้าใจโลกผิดไป เช่น การฆาตกรรม ภัยธรรมชาติ เครื่องบินตก หรือก่อการร้าย ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ไม่ถึงร้อยละ 1 ต่อปี จนทำให้เราสนใจสิ่งที่ไม่น่าเป็นอันตรายแต่คนส่วนใหญ่กลัว และละเลยสิ่งอื่นๆ ที่อันตรายยิ่งกว่า

“สิ่งที่น่ากลัว”และ “สิ่งที่อันตราย” นั้นต่างกัน สิ่งที่น่ากลัวคือสิ่งที่เรารับรู้ ส่วนสิ่งที่อันตรายคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง การมุ่งความสนใจไปที่สิ่งน่ากลัวจะทำให้เสียพลังไปในทางที่ผิด ทำให้ประชาชนทั้งหมดสนใจเครื่องบินตก และสารเคมีที่มองไม่เห็น ขณะที่ผู้คนเป็นล้านกำลังเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วงและสิ่งมีชีวิตกำลังจะหมดไปจากท้องทะเล

 

เล่นเกมหาคนผิด

การตัดสินว่าสิ่งต่างๆ ไม่ถูกต้องนั้นดูจะเป็นธรรมชาติที่เหนียวแน่นของมนุษย์ สิ่งที่ไม่ถูกต้องนี้ต้องเกิดจากคนไม่ดีและความตั้งใจไม่ดี เราชอบเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมีคนอยากให้เป็นแบบนั้น สัญชาตญาณแห่งการตำหนิทำให้เราเห็นความสำคัญของคนบางคนมากเป็นพิเศษ สัญชาตญาณที่จะหาผู้ทำผิดนี้ทำให้ความสามารถในการทำความเข้าใจโลกโดยอาศัยข้อเท็จจริงบิดเบือนไป

เมื่อเราตัดสินใจไปแล้วว่าคนนี้ผิด เราก็หยุดมองหาคำอธิบายอื่น ทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก เพราะมัวแต่ติดอยู่กับการชี้คนผิดที่ง่ายเกินไป ทำให้เราไม่สนใจความจริงที่ซับซ้อนกว่านั้นและทำให้เราไม่ได้ใช้พลังไปกับสิ่งที่ถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น การโทษว่าเครื่องบินตกเป็นเพราะนักบินง่วงนอน คงไม่ช่วยให้เครื่องบินไม่ตก การแก้ปัญหาคือต้องถามว่า ทำไมนักบินจึงง่วงนอน จะจัดการกับนักบินที่ง่วงนอนอย่างไรต่อไป หากเราหยุดคิดเมื่อเราพบแล้วว่าเพราะนักบินง่วงนอน เราจะไม่คืบหน้าไปไหน ในการเข้าใจปัญหาที่สำคัญของโลกส่วนใหญ่นั้น เราต้องมองข้ามผู้กระทำผิดไปที่ระบบ

หากคุณอยากจะเปลี่ยนโลก คุณต้องทำความเข้าใจโลกก่อน การทำตามสัญชาตญาณเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เข้าใจโลกเลย และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะสามารถเปลี่ยนมุมมองของคุณที่มีต่อโลกใบนี้ได้เช่นกัน

 

ข้อมูลจากหนังสือ Factfulness จริงๆ แล้วโลกดีขึ้นทุกวัน

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์  คลิก

 


บทความอื่นๆ

Factfulness ฉบับแปลไทย! หนังสือที่บิล เกตส์มอบให้นักศึกษาจบใหม่ทุกคน

บทเรียนแห่งชีวิตจาก จอห์น โอเลียรี่ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจระดับโลก

แค่รู้จักและเข้าใจตัวเอง ก็สามารถเข้าใจคนทั้งโลกได้

บทเรียนและข้อคิดดีๆ ในการใช้ชีวิตจากคนดังระดับโลก

ทำความรู้จักปัญญาประดิษฐ์ (AI) แรงงานสำคัญในโลกอนาคต

ทำความรู้จัก คริปโต ก่อนเข้าสู่สังคมไร้เงินสดในอนาคตอันใกล้นี้

1 thoughts on “Factfulness หนังสือที่จะทำให้คุณมองโลกแตกต่างไปจากเดิม

  1. Pingback: 10 สัญชาตญาณ จอมลวง ที่ทำให้คุณเข้าใจโลกผิดมาตลอด!

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า