Move On จากทุกความเจ็บปวด และเปลี่ยนแผลให้เป็นพลัง

Move On ไม่ได้ ไปต่อไม่ถูก เหมือนถูกทิ้งกลางทะเลทราย ทุกคนรู้ดีว่าบาดแผลทางจิตใจรักษายากกว่าบาดแผลที่เกิดจากร่างกาย เมื่อเราเจอกับความทุกข์ก็ยากที่จะผ่านมันไปได้ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของเราว่าเราแข็งแกร่งพอที่จะผ่านมันไปได้หรือไม่ คนที่ภูมิต้านทานดีจะสามารถผ่านมันไปได้และเจ็บปวดจากรอยแผลที่เกิดจากความทุกข์นี้เล็กน้อย แต่คนที่ภูมิต้านทานน้อยจะจมอยู่กับความทุกข์นี้อยู่นาน เกิดเป็นรอยแผลที่ใหญ่และเจ็บปวดกับมัน ซึมเศร้า และสุดท้ายถึงขั้นฆ่าตัวตายได้

แต่เราสามารถเยียวยาแผลนี้ได้ด้วยตัวเองได้ หากทำอย่างถูกวิธีเราก็จะ Move On กับแผลเป็นนี้ได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

 

รอยกรีด ความเจ็บปวดของสมบัติที่มีชีวิต

            “นลิน” เป็นลูกของคนสุดท้องของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ พ่อแม่ของนลินเป็นคนไทยเชื้อสายจีนในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง นิสัยค่อนข้างขี้บ่นและบังคับให้ลูกทำตามทุกเรื่อง คนที่โดนหนักที่สุดคือน้องเล็กของบ้าน ในช่วงวัยเด็กนลินยอมทำตามทุกอย่างเพื่ออยากเป็นคนพิเศษ แต่เมื่อโตขึ้นเธอไม่สามารถแสดงอาการต่อต้านออกมาได้ เพราะยิ่งถกเถียงก็จะโดนตอบโต้กลับมาแรงขึ้น ความรู้สึกลบยิ่งก่อเกิดในใจเรื่อยๆ จนสุดท้ายนลินเริ่มกรีดแขนตัวเองในห้องน้ำและเริ่มคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่อีก

            การกรีดแขนตัวเองเป็นการแสดงออกถึงความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่อธิบายทางคำพูดไม่ได้ หากเห็นเด็กทำร้ายตัวเองนั่นคือสัญญาณว่าต้องการความช่วยเหลือ ควรรับฟังอย่างจริงจังและเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเรื่องราวความทุกข์บ้าง เพราะคนที่กรีดแขนทำร้ายตัวเองมักคิดว่าตัวเองมีคุณค่าน้อยกว่ามนุษย์เหมือนสมบัติชิ้นหนึ่งของพ่อแม่ วิธีแก้คือต้องให้พ่อแม่รู้ว่าลูกนั้นไม่ใช่สมบัติ ลูกมีสิทธิ์ต่อรองและออกแบบชีวิตตัวเองได้

 

 

วันแรกของคนอมทุกข์ที่ตื่นจากฝันร้าย

                “คุณสุภางค์” เป็นเศรษฐีนีเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จิเวลรี่และเหมืองพลอยที่เคยผ่านชีวิตยากจนมาก่อน ตอนเด็กๆเออาศัยอยู่บ้านญาติ เมื่อแม่แวะมาเยี่ยมเยียนคุณสุภางค์ เธอมักจะเห็นสีหน้าและน้ำตาจากความทุกข์ของแม่เสมอ ทำให้เธอคิดแค่ว่า อยากให้แม่ได้ยิ้มและอยากทำตัวให้เป็นประโยชน์ เธอจึงทำทุกอย่างให้กับทุกคน แต่เมื่อรวยขึ้นกลับไม่ได้สบายขึ้น เธอยังต้องทำทุกอย่างให้คนอื่นเหมือนเดิมถึงจะโดนเอาเปรียบ ทั้งสามีที่มีคนอื่น ลูกที่เอาแต่ใจมากขึ้น การที่อยู่ในที่ที่ไม่มีประโยชน์เธอจะเกิดความทุกข์เพราะผูกติดความสุขกับคนอื่นมากเกินไป

การที่ทำตัวให้เป็นประโยชน์มากไปจะนำมาสู่ความทุกข์ได้ ต้องเริ่มต้นจากการสร้างความสุขให้ตัวเอง หยุดทำตัวให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นมากไป ยอมเจ็บปวดบ้าง และยอมเปิดใจคุยเพื่อเผยความรู้สึกกันและกัน ทำให้ชีวิตของคุณสุภางค์เริ่มใหม่ได้อีกครั้งในวัย 50 ปีเหมือนกับคนที่ลุกออกจากฝันร้ายได้

 

Midlife Crisis เพราะเป็นผู้ใหญ่จึงเจ็บปวด

            “วิกฤติวัยกลางคน” หรือ Midlife Crisis เกิดกับคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป มักเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงครอบครัวหนึ่งที่สามีเคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ยักษ์และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง สร้างความภูมิใจให้ตัวเองและครอบครัว แต่ต่อมาสามีได้เข้าสู่ช่วงขาลง เขาจึงตัดสินใจลาออกมาเริ่มต้นธุรกิจเอง แต่บริษัทล่มและก่อหนี้สินจนทำให้ภรรยาต้องกลับมาทำงาน ตัวเขาเองรับไม่ได้จึงพยายามแก้ไขและยิ่งแย่ลง และเรื่องที่แย่ที่สุดคือเรื่องผู้หญิง ทำให้ลูกและภรรยาหมดศรัทธาในตัวสามี และลูกมีอาการของโรคซึมเศร้า

            ถ้าหากว่าคุยกับภรรยาตั้งแต่ต้นเรื่องราวจะไม่บานปลายไปมากกว่านี้ คนที่เจอกับวิกฤติวัยกลางคนจะใช้ตรรกะที่ผิดและการแก้ไขปัญหาที่ผิด วิธีแก้ปัญหาคือให้ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนบทบาทกันบ้าง จากที่เคยพึ่งพาก็เปลี่ยนมาให้กำลังใจกัน และสิ่งที่สำคัญคือต้องยอมรับความเป็นจริงในตอนนี้ให้ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นเรื่องธรรมดา

 

เมื่อความคล้ายทำร้ายเรา

          เมื่อโลกเหวี่ยงให้เรามาเจอกันและมีบางอย่างที่เหมือนกันจนเหลือเชื่อนั้นทำให้เราต่างตกหลุมรักซึ่งกันและกัน แต่ว่าความคล้ายกันนั้นทำให้ความสัมพันธ์กลับไม่ยืนยาว เหมือนกับคู่รักศิลปินคู่หนึ่งที่ลักษณะการเลี้ยงดูเหมือนกัน คือการเลี้ยงลูกแบบตามใจ เอาใจ ปกป้องมากเกินไป ไม่ปล่อยให้ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ทำให้ทั้งคู่พยายามเอาใจกัน ตามใจเพราะคิดว่านี่คือวิธีที่ถูกต้อง ในช่วงแรกรักย่อมหวานชื่น แต่เมื่อผ่านไปต่างฝ่ายย่อมอยากได้ความรักและการตามใจเหมือนแม่จนทำให้มองว่าอีกฝ่ายเห็นแก่ตัวและอยากหาคนใหม่

            การตามใจเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่ใช้ความพยายามนั้นเป็นเพลงที่จะช่วยประครองชีวิตคู่ได้ และปรับตัวให้ความเหมือนและความแตกต่างนั้นลงตัวให้ได้ เพราะคนที่ใช่ไม่จำเป็นต้องคล้ายกับเราทุกอย่าง เพียงแค่เราต้องหา “จุดร่วม” ของเราทั้งสองให้ได้ก็พอ

 

บาดแผลของความสัมพันธ์เพราะเราไม่เท่ากัน

            ศิลปินสาววัย 20 ปีที่เกิดมาในจังหวะที่ชีวิตของพ่อยังไม่ลงตัว ทำให้ไม่ได้เอาใจใส่ ให้ความอบอุ่นเธอเท่าไหร่นัก ทำให้ตัวเองคิดว่าเป็นส่วนเกินเสมอ และรู้สึกขาดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต แต่เมื่อเธอมีชื่อเสียงทำให้กลายเป็นจุดศูนย์กลางความสนใจ โดยเฉพาะกับแฟนคลับ เป็นความสัมพันธ์ที่มีจุดศูนย์กลาง เท่าเทียม ให้กำลังใจกันและกันได้

            หากย้อนกลับไปได้เธอจะเข้าไปทำความเข้าใจกับพ่อแม่ถึงเหตุผลมากขึ้นว่าอาจจะทำไปเพราะความจำเป็นในสถานการณ์นั้นๆ แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปแล้ว หากมองพ่อกับแม่ว่าคือแฟนคลับหมายเลข 1 ได้จะสามารถกลับไปสนิทสนมกับพ่อแม่ได้อีกครั้ง และต้องเปิดใจให้กับความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมนี้ด้วย

 

 

ข้อมูลจากหนังสือ เปลี่ยนแผลเป็นพลัง From Pain to Power

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

หมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) โรคยอดฮิตของเหล่ามนุษย์เงินเดือน

ทำอย่างไร เมื่อตัวเองหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคไบโพลาร์

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า