เรื่องราวของความสัมพันธ์สองชนชั้นของสองสาวในฐานะภรรยา หนึ่ง “จูรัน” แม่บ้านและภรรยาที่มีชีวิตสวยหรู อาศัยในบ้านหลังงามและมีสามีเป็นคุณหมอ และสอง “ซังอึน” พนักงานขายของในห้างสรรพสินค้า อาศัยอยู่ในอพาร์ตเม้นต์เล็กๆ กับสามีที่เป็นเซลส์ขายยา ที่ต่างต้องมาเจอกันเพราะเรื่องราวที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และแน่นอนว่าตามมาด้วยผลลัพธ์ที่ไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกัน
Nak-อ่าน มีแต่หนังสือน่าอ่านทั้งนั้นเลย! เป็นรายการที่พูดถึงหนังสือต่างๆ พิธีกรคือ เมย์ บรรณาธิการในเครือหนังสืออมรินทร์ แขกรับเชิญคือ กิ๊ฟ ธัญญ์พิศา อดีตบรรณาธิการหนังสือเล่มของสำนักพิมพ์อมรินทร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาเอเชียศึกษาที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนนี้เป็นอาจารย์พิเศษเกี่ยวกับวิชาสังคม เคยมีผลงานหนังสือเรื่อง เกาหลีเล่มเดียวรู้เรื่อง
ใน EP นี้จะมาคุยหนังสือจากแพรวสำนักพิมพ์ เรื่อง มีอะไรในสวนหลังบ้าน ในช่วงนี้หนังกระแสที่มาแรงคือเรื่อง Parasite ชนชั้นปรสิต และได้มีโอกาสอ่านหนังสือ มีอะไรในสวนหลังบ้าน โดยหนังเรื่องนี้สะท้อนถึงปัญหาของสังคมเกาหลีใต้ และหนังสือเล่มนี้มีความใกล้เคียงกันกับหนังเรื่องนี้
เรื่องย่อของหนังสือเรื่องนี้คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงสองคนที่สถานะทางสังคมต่างกัน จูรัน เป็นแม่บ้านและภรรยาที่มีชีวิตสวยหรู แต่งงานกับสามีที่มีอาชีพหมอ มีลูกชายหน้าตาดี โดยครอบครัวนี้เพิ่งย้ายเข้ามาในบ้านที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ และ ซังอึน เป็นผู้หญิงที่อยู่ในฐานะปานกลางถึงล่าง อยู่ในอพาร์ตเม้นต์เล็กๆกับสามีและกำลังตั้งท้อง และตัวซังอึนเองที่เป็นคนฆ่าสามี โดยใช้ถานะที่ตัวเองกำลังตั้งท้องใช้ในการอำพรางเรื่องฆาตกรรม ถึงจะอยู่กันคนละสถานะ แต่มีเรื่องที่ทำให้ต้องมาเจอกัน
เมย์ : อ่านจบแล้วรู้สึกอย่างไร
กิ๊ฟ : ส่วนตัวเป็นคนชอบเกาหลีอยู่แล้ว และไปประเทศเกาหลีบ่อย พูดภาษาเกาหลีได้บ้าง แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้อ่านหนังสือแปล เป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือแปล รู้สึกว่าหนังสือแปลภาษาจะแข็ง ถ้าอ่านนิยายจะเป็นนิยายที่คนไทยเขียน หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ รู้สึกว่าภาษาดีมาก ลื่นไหล เนื้อเรื่องสนุก อ่านแล้ววางไม่ลง อ่านจบเร็วมาก วางไม่ลง
ถึงจะเป็นนิยายที่ไม่อบอุ่น แต่ก็ไม่ได้หดหู่มากนัก การเขียนของนิยายเรื่องนี้ทำให้มองเห็นความรู้สึกของตัวละครทั้งสองตัว และคำพูดของหนังสือเล่มนี้ก็คือจุดเด่นที่ใช้บรรยายความคิดของตัวละคร เขียนได้ดีมาก และการแปลก็แปลได้ดีมากเช่นกัน มีการหยิบประเด็นในสังคมมาเขียน เหมือนตีแผ่ด้านมืดของสังคมเกาหลี โดยคล้ายกันกับหนังเรื่องparasiteในแง่นี้
หลังจากตกตะกอนนิยายเรื่องนี้ออกมา มีทั้งหมด 4 ประเด็น
ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว สถานะของเพศหญิง การสร้างภาพลักษณ์ และเรื่องของชนชั้น
ประเด็นแรก ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของหนุ่มสาว ครอบครัว ช่วงเจอกันครั้งแรกๆ จะพยายามทำให้ตัวเองดูดี อย่างซังอึน ก่อนเจอสามีเธอเป็นคนไม่ใช้เงิน ไม่แต่งตัวต้องประหยัด จนได้เจอกับสามีที่ได้บอกกับเธอว่า ซังอึนคือแม่ของลูก มนุษย์เราต้องการเป็นที่รัก คนเรามักจะแสดงด้านดีๆแต่เมื่ออยู่กันไปนานๆ มนุษย์เราจะแสดงนิสัยที่แท้จริงออกมา และแต่ละฝ่ายจะยอมรับข้อเสียของอีกฝ่ายได้หรือไม่ ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ ถ้ายอมรับได้ เรื่องร้ายๆจะไม่เกิดหรือความสัมพันธ์จะยังอยู่ ซึ่งความรับได้ของจูรัน และ ซังอึนนั้นต่างกัน และนำมาซึ่งจุดจบที่ต่างกัน
ประเด็นที่สอง สถานะของเพศหญิง หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างชี้ชัดในเรื่องสถานภาพของผู้หญิงในสังคมเกาหลี
กิ๊ฟ: คุณเมย์เห็นอะไรในเล่มนี้บ้าง
เมย์: ผู้หญิงไม่มีวันได้เป็นช้างเท้าหน้า
กิ๊ฟ: สำหรับกิ๊ฟรู้สึกว่าไม่ใช่แค่ในเกาหลี ใช้คำว่าสังคมในเอเชีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทุกคนเชื่อในลัทธิขงจื๊อ
เป็นความเชื่อตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์โชซ็อนว่า หากสามีไม่เฆี่ยนภรรยาภายในสามวันภรรยาจะไม่เชื่อฟัง เรื่องแต่งงานถือเป็นเรื่องใหญ่มากในสังคมเกาหลี
กิ๊ฟ: ส่วนตัวกิ๊ฟเคยไปเกาหลีในช่วงแตะเลขสาม เพื่อนที่เกาหลีกดดันมากเกี่ยวกับเรื่องแต่งงาน เพราะจะเจอคำถามตลอดเวลาจากผู้ใหญ่ เช่น มีแฟนหรือยัง ทำไมไม่แต่งงาน ถ้าเทียบกับสังคมไทย จะไม่ได้กดดันแบบนี้ ไม่มีแฟนก็ไม่ได้เป็นอะไร ทางเกาหลีจะไม่ค่อยชอบการคบกันนานๆโดยไม่แต่งงาน และสังคมเกาหลีจะคาดหวังว่า ผู้หญิงจะเป็นแม่และภรรยาที่ดี และมีปัญหาเรื่องแม่สามี ลูกสะใภ้ เป็นเพศอ่อนแอในสังคมเกาหลี
กิ๊ฟ: เราสามารถมองอีกแง่ได้หรือไม่ ว่าผู้หญิงในสังคมเกาหลีเป็นเพศชนชั้นที่สอง เป็นผู้ตาม ว่าเป็นสิ่งที่พึ่งพาประโยชน์กันและกัน
เมย์: เมื่อผู้หญิงแต่งงานเข้าบ้านแล้ว ผู้หญิงเพียงทำแค่สิ่งที่ผู้ชายบอก เหมือนกำหนดบทบาทมาให้แล้ว เหมือนกับในเรื่องที่จูรันแต่งงานแล้วหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น จะมองว่าได้ประโยชน์แค่ฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่ได้
ประเด็นที่สาม การสร้างภาพลักษณ์
สังเกตว่าคนเกาหลีจะชอบแต่งตัวดูดีเพื่อรักษาภาพลักษณ์ ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ตัวเอง เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยยกระดับชีวิตของตัวเองขึ้นมา คนเกาหลีจะให้ความสำคัญทั้งหมดสามสิ่ง ภาพลักษณ์ตัวบุคคล ภาพลักษณ์ครอบครัว และภาพลักษณ์องค์กร จะทำให้เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม คำนิยามสองคำการรักษาภาพลักษณ์ เชมยอน แปลว่าภาพลักษณ์การรักษาหน้าตา ถ้าไปเที่ยวเกาหลีใต้ จะมีกระจกทุกๆที่ให้เราดูตัวเอง ศัลยกรรมตัวเองหลังเรียนจบ แม้กระทั่งสอบเข้าของมหาวิทยาลัยเกาหลีกลุ่ม SKY เรียกได้ว่าคือใบเบิกทาง และอีกคำคือ ชานันซอก คำนี้จะไปทางลบมากกว่า เพราะมันคือการสร้างภาพ อย่างการใช้แบรนด์เนม ทำให้ตัวเองดูดี การมีบ้านที่อยู่ในย่านเศรษฐกิจ อย่างกังนัม เหมือนกับจูรันเลือกที่แต่งงานกับสามีที่ดี สังคมเกาหลีค่อนข้างจะชัด และสะท้อนออกมาผ่านหนังหรือหนังสือ
ประเด็นที่สี่ ชนชั้น
บางคนอาจจะนึกถึงในอินเดีย แต่จริงๆในเกาหลีใต้มันเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เป็นในแง่การเคารพ อย่างเช่นเจ้านายชวนไปกินเหล้าหลังเลิกงานก็ต้องไป ผู้น้อยต้องฟังผู้ใหญ่ ในญี่ปุ่นก็เช่นกัน ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องนั้นสำคัญมากๆ ในหนังสือเล่มนี้จะสะท้อนให้เห็นชัดในชีวิตของซังอึน ในเรื่องนั้นการท้องถือเป็นเรื่องที่ต้องลาออก หรือแม้กระทั่งการโฆษณาเตียง และการศึกษาจะสามารถเปลี่ยนชนชั้นได้ เหมือนจูรัน ที่มีสามีที่ดีที่ดันตัวเองให้ไปอยู่อีกชนชั้นได้ แนวคิดของคนในเกาหลีนั้นจะจัดคนออกเป็นทั้งหมดสี่ช้อนด้วยกัน คือ ช้อนทอง ช้อนเงิน ช้อนทองแดง และ ช้อนดิน
ช้อนทองคือ กลุ่มคนที่รวยมาก นักธุรกิจ เป็นประชากรที่น้อยมาก
ช้อนเงินคือ กลุ่มคนชนชั้นกลาง พนักงานบริษัท รายได้ปานกลาง และ คนที่เรียนจบปริญญา
ช้อนทองแดง กลุ่มคนรายได้น้อย ฐานะลำบาก หาเช้ากินค่ำ อย่างเช่น รปภ. แม่บ้าน
ช้อนดิน กลุ่มคนผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชนชั้นล่างสุด
ซึ่งระบบนั้นแทบไม่ต่างจากอินเดีย เป็น mindset แบบพีระมิดเทียบกับชนชั้น คนที่รวยจะอยู่บนยอดพีระมิด แต่นั่นไม่ได้แปลว่าจะนำความสุขเข้ามาอย่างแท้จริง
สุดท้าย หนังสือเรื่องนี้เหมาะสำหรับคู่รักนั้นควรอ่าน เพราะการพูดกันตรงๆเป็นเรื่องที่ดี ดีกว่าการทำลับหลัง สุด้ทายจะนำพาแต่ปัญหา และถ้าอีกฝ่ายทำในสิ่งที่รู้สึกไม่ดี แต่เราสามารถปล่อยมันได้ ความสัมพันธ์ไม่ได้สวยหรูตลอดเวลา คนเราเปลี่ยนแปลงทุกวัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะยอมรับมันได้หรือไม่ เข้าใจมันหรือไม่ หวังว่าจะทำให้เข้าใจสังคมของประเทศเกาหลีมากขึ้น
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก