Q&A กับทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ The Clound เจ้าของหนังสือ โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว

หลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับหนังสือ โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11 จากสำนักพิมพ์ piccolo ว่ามีความแตกต่างกับการพิมพ์ครั้งก่อนอย่างไร มีอะไรพิเศษเพิ่มขึ้นมาบ้าง

วันนี้พาคุณทรงกลด บางยี่ขัน มาตอบคำถามด้วยตัวเองเลยว่าฉบับนี้มีความแตกต่างจากฉบับเดิมอย่างไร และทำไมถึงเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา

 

Q ทำไมถึงตั้งชื่อหนังสือว่า ‘โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว’

ทรงกลด : ชื่อนี้มาจากบทความบทความนึง ตอนสมัยยังอยู่ในวัยเยาว์มากๆ มีโอกาสได้ส่งบทความไปลงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ชื่อคอลัมน์เสาร์สวัสดี ตอนนั้นเขียนเรื่องการดูฝนดาวตก ระหว่างที่รอฝนดาวตกอยู่ในเต๊นท์ เปิดไฟฉาย เลยนึกถึงคำคำนึงขึ้นมาคือคำว่า โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว เพราะกำลังเขียนบันทึกอยู่ใต้แสงดาวอยู่จริงๆ

ผมเลยนำชื่อนี้ไปตั้งเป็นชื่อบทความ และคนที่หนังสือพิมพ์เขาคิดว่าชื่อนี้มันเพราะดี เลยถูกชวนให้เขียนคอลัมนิสต์ประจำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ราวๆ 2 ปี ซึ่งในตอนนั้นส่วนใหญ่เขียนในเรื่องการดูดาว ทริคต่างๆ ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องคนเท่าไรนัก

 

Q ทำไมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ ในเมื่อเคยถูกตีพิมพ์มาแล้ว

ทรงกลด : เพราะมีการเขียนเนื้อหาเพิ่มเติม และปรับการเล่าเรื่องโดยการเขียนเรื่องเก่าด้วยวิธีการเขียนแบบใหม่ให้เข้ากับยุคนี้ และเพิ่มเข้าไปเป็นตอนพิเศษสำหรับเล่มนี้ นอกจากนั้นแล้วยังมีการออกแบบรูปเล่มและหน้าปกใหม่ทั้งหมดด้วยการเล่นกับคำว่า “แสง” ทั้งแสงไฟบนตึกที่คนทั่วไปเห็น และค่อยๆ ไล่ขึ้นไปเป็นแสงดาวบนท้องฟ้า

 

Q ความรู้สึกหลังเขียนจบเวอร์ชันตีพิมพ์ครั้งแรก

ทรงกลด : รู้สึกเหมือนหลุดพ้น (หัวเราะ) เนื่องจากเป็นงานที่ต้องส่งรายสัปดาห์ และผมเป็นคนที่เขียนช้ามาก ต้องเขียนหลายรอบกว่าจะเสร็จ โดยจะใช้การเขียนสามรอบคือหนึ่ง เขียนจากข้อเท็จจริง สองคือเขียนล่อหลอกให้ผู้อ่านเดาทางไม่ถูกว่าจะเล่าอะไรกันแน่ รอบที่สามจะเป็นการ เล่นคำ ขัดเกลาภาษา งานหนึ่งชิ้นเลยใช้เวลาการเขียนนานมาก

งานชิ้นไหนที่เราเขียนดีมากๆ ก็จะรู้สึกมีความสุขครับ เหมือนสอบได้คะแนนดี รู้สึกดีมากๆ โดยเฉพาะชื่อเรื่อง ถ้าเรื่องไหนเขียนชื่อเรื่องได้ดีๆ จะมีความสุขมากเป็นพิเศษ

ผมจะคิดชื่อเรื่องก่อน แล้วค่อยเริ่มเขียนเนื้อเรื่องตามชื่อเรื่อง

Q ความรู้สึกหลังเขียนจบเวอร์ชันตีพิมพ์ครั้งล่าสุด

ทรงกลด : รู้สึกว่ายังสามารถมองโลกที่ช่างฝันแบบเดิมได้ แม้ว่าความคิดจะโตขึ้นไปตามวันและวัยก็ตาม แม้ว่างานเขียนอาจจะไม่หวานหยดย้อยเหมือนเมื่อก่อน เพราะเราโตขึ้นตามวัย

งานชิ้นนี้ทำให้เรากลับไปตั้งคำถามกลับอดีตที่ยังไม่มีโซเชียลมีเดียเยอะเหมือนตอนนี้ งานยังไม่เยอะเท่าตอนนี้ เราก็จะคิดว่าการกลับไปมองทุกอย่างอย่างใส่ใจกับมันก็ดีเหมือนกัน

 

Q คิดว่านักอ่านให้ยุคนี้จะเข้าใจสิ่งของในอดีตที่อยู่ในหนังสือไหม

ทรงกลด : มันเป็นบันทึกอนาล็อกแบบสุดๆ ในยุคนี้ทุกอย่างเป็นดิจิทัลและออนไลน์หมดแล้ว เล่มนี้คือตรงข้ามสุดๆ เพราะตอนที่เขียนยุคออนไลน์ยังไม่เฟื่องฟู

คิดว่าอาจจะงงๆ นิดหน่อยว่าเพจเจอร์ ไปรษณียบัตร โทรเลขคืออะไร แนะนำให้ไปถามคุณพ่อคุณแม่ดูว่ามันเป็นอย่างไรในยุคนั้น แต่คิดว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรง

คนที่ชอบเรื่องอนาล็อกก็จะรู้สึกชอบมาก เพราะเหมือนเป็นยุคที่สวยงามยุคนึง

 

Q รู้สึกอย่างไรกับการเขียนไดอารี

ทรงกลด : ทุกวันนี้ก็ยังเขียนอยู่ เพิ่งเริ่มเขียนอีกครั้งได้ไม่นาน และรู้สึกชอบมาก เพราะทำให้เรากลับมาเขียนด้วยมือ เมื่อก่อนลายมือแย่มากเพราะไม่ค่อยได้ใช้บ่อยๆ ลายมือเลยแย่ พอได้กลับมาเขียน ทำให้เราพยายามตั้งใจคัดลายมือ มันทำให้เราคิดและเรียบเรียงเรื่องราวก่อนเขียนมากขึ้น  ทำให้เราได้ทบทวนกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากขึ้น

หากใครมีโอกาสก็อยากให้ลองเขียนเอาไว้ ในอนาคตอีกสักปีสองปีแล้วลองกลับมาอ่าน มันอาจจะมีค่าขึ้นมาเหมือนกับบันทึกประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุดังๆ ของประเทศเลยด้วยซ้ำ

 

Q จะมีงานเขียนใหม่เร็วๆ นี้ไหม

ทรงกลด : ในเร็วๆ นี้ยังไม่มี แต่ว่าก็ยังอยากจะเขียนอยู่

Q ฝากหนังสือเล่มนี้กับผู้อ่าน

ทรงกลด : หนังสือเล่มนี้โคตรดีเลยครับ มันสนุกมันครบรส มันหักมุม มันมีความโรแมนติก มันน่ารัก เป็นงานที่หาได้ค่อนข้างยากในยุคนี้ ถ้าใครได้อ่านหนังสือเล่มนี้ จะเหมือนมันเป็นเพื่อนที่พาเราย้อนอดีตไปด้วยกัน หรืออยากจะซื้อเล่มนี้ให้เพื่อนที่เกิดในยุคเดียวกันที่ชอบเหมือนๆ กัน เป็นบันทึกของนักเขียนหนุ่มคนนึง ถ้ามีไว้ประดับชั้นหนังสือที่บ้านก็คงเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก และมันเป็นงานเขียนชิ้นสำคัญของผมเช่นกัน

 

โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว

ผลงานของทรงกลด บางยี่ขัน

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

สัมภาษณ์พิเศษ เบียร์-อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี ผู้แปล ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far) ผลงานของจิมมี่ เลี่ยว

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า