ทักษะ 5 อย่าง ปกเว็บ

แก้ปัญหาในทีมด้วย ” ทักษะ 5 อย่าง “จากมาเอดะ คามาริ

มาเอดะ คามาริ จัดการฝึกอบรมโดยอธิบาย 5 ทักษะนี้ที่หัวหน้าควรเรียนรู้ไว้ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะสร้างผลงานอย่างต่อเนื่องไม่ได้ เวลาพบปัญหาบางครั้งก็ต้องนำ ทักษะ 5 อย่าง นี้ไปใช้แก้ไขปัญหาด้วยความชำนาญและการตัดสินใจที่รวดเร็ว ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทักษะต่างๆ จะเรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือทำ

มาเอดะบอกเคล็ดลับว่าให้ฝึกฝนทักษะทั้ง 5 อย่างนี้พร้อมกัน สิ่งเหล่านี้ใครลงมือก่อนย่อมได้เปรียบ และหากตนเองไม่นำ ทักษะ 5 อย่าง นี้ไปใช้งานจริงอย่ากระตือรือร้น ก็จะไม่เกิดการพัฒนา

อย่างไรก็ตาม มาเอดะกลับตีความคำนี้จากมุมมองของหัวหน้าโดยมองว่า ไม่อยากให้หัวหน้าทุกคนพอใจกับสภาพในปัจจุบันแต่จงมีความปรารถนาอยู่เสมอ หรือจะพูดว่า “จงอย่าพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี” หมายความว่า อยากให้หัวหน้าอยากพัฒนาตัวเองอยู่เสมอว่า “จุดนี้ของเรายังไม่ดีพอ” หรือ “เราต้องเข้าใจเรื่องนี้อย่างแจ่มแจ้งและลึกซึ้งกว่านี้”

อย่าหยุดอยู่กับที่
ถ้าจะหยุด เอาไว้ภายหลัง
เพราะตอนนี้เป็นเวลาแห่งการท้าทาย
ขอให้เราค่อยๆ ไขว่คว้ามากันครับ

ทักษะที่ 1 ทักษะการสื่อสาร

หัวหน้าจำนวนมากกลุ้มใจเรื่องการสื่อสารกับลูกน้อง ไม่ใช่เพราะการขาดทักษะการสื่อสาร แต่เพราะมีเวลากับลูกน้องไม่เพียงพอต่างหาก การสื่อสารเพื่อทำให้รู้จักกับอีกฝ่ายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างความน่าเชื่อถือ วิธีการคือเริ่มต้นจากการจับสถานการณ์ปัจจุบันหรือปัญหาของลูกน้อง จากนั้นจึงทำความเข้าใจเขาให้ลึกมากขึ้นโดยการถามถึงความฝันของเขา

สิ่งสำคัญคือ การสร้างสิ่งแวดล้อมให้พูดคุยกันได้ตลอด โดยหัวหน้าเป็นคนเริ่มเดินไปหาลูกน้องถึงที่ หรือเพิ่มเวลาอยู่ที่โต๊ะทำงานของตัวเอง รวมถึงห้ามคาดหวังว่า “ลูกน้องจะมีการเปลี่ยนแปลง

ทักษะการสื่อสารที่หัวหน้าควรเรียนรู้คือ “ทักษะการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ง่ายต่อการสื่อสาร” มากกว่า “ทักษะการสนทนา”

ทักษะที่ 2 ทักษะการเจรจาต่อรอง

บริษัทหลายแห่ง ต้องการหัวหน้าที่สามารถจัดการภารกิจในด้านต่างๆ ได้ด้วยการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ หรือเวลา ทางผู้บริหารจะใช้วิธีมอบหมายงานต่างๆ ให้เสมอ ในตอนนั้นหากต้องจัดการงานทั้งหมดที่ได้รับคำสั่ง ทรัพยากรที่มีคงไม่พอ

ในบริษัทจะมีกระบวนการภายในองค์กร ดังนั้น ห้ามตัดสินจากมุมมองของตนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องแสดงความคิดเห็นไปยังหัวหน้าตัวเองหรือหน่วยงานอื่นๆ ในฐานะตัวแทนของทีม พร้อมกับมองจากมุมมองต่างๆ ของผู้อื่น หัวหน้าจึงจำเป็นต้องเจรจาต่อรองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ตัวเองต้องการ
บางครั้งก็จำเป็นต้องขอให้หัวหน้าหรือหน่วยงานอื่นเข้าใจว่า “จะขอรีบทำงานนี้ก่อน ส่วนอีกงานหนึ่งขอยืดเวลาออกไปอีกสองวันได้ไหมครับ”

ทักษะที่ 3 ทักษะเฉพาะด้าน

ระหว่างคนที่มีทักษะและไม่มีทักษะเฉพาะด้าน ความน่าเชื่อถือในองค์กรมักแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด “ความสามารถเฉพาะด้าน” คือ การรู้ในสาขาหรือทักษะใดๆ มากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท เวลาคุยกับหัวหน้าหรือคนในหน่วยงานอื่นว่า “ผมเคยดูแลข้อมูลความพึงพอใจลูกค้าที่ฝ่ายบริการลูกค้ามาก่อน ทำให้ค่อนข้างจะเข้าใจปัญหานั้นครับ” จึงมักถูกเรียกให้ไปช่วยในการประชุมตัดสินใจของระดับบริหารในฐานะ “สมองภายนอก”

ก่อนอื่น ให้วางเป้าหมายการศึกษาค้นคว้าทักษะเฉพาะด้านหนึ่งอย่าง แล้วค่อยวางเป้าหมายไปศึกษาเรื่องที่สองและสามให้เต็มที่ คนที่สามารถนำวิชาและทักษะที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ ถือว่าเป็นคนจำเป็นในบริษัทและนอกบริษัท

ทักษะที่ 4 ทักษะการสอนงาน

เรื่องที่มาเอดะอยากให้ฟังหน้าตระหนักและฝึกฝนมากขึ้น คือ ทักษะการสอนงาน
การเป็นพนักงานธรรมดานั้น ต่อให้เก่งและมีความสามารถขนาดไหน ตอนแรกจะมีทักษะการสอนงานเป็นศูนย์

มาเอดะเข้าใจดีว่า การเรียนรู้มุมมองของผู้บริหารหรือรูปแบบ “การขับเคลื่อนผู้อื่นเพื่อสร้างผลงาน” ค่อนข้างยากกว่าการทำงานในฐานะพนักงานธรรมดาด้วยความมุ่งมั่นจะช่วยให้มีมุมมองกว้างไกลมากขึ้น การเข้าร่วมประชุมผู้บริหาร หรือการพยายามสื่อสารกับหัวหน้าจะช่วยให้มีมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น

วิธีพัฒนาการสอนงานที่ดีที่สุดคือ การทำตัวเองให้ไม่ว่าง โดยมาเอดะเริ่มด้วยการทำงานควบกันหลายอย่าง เมื่อสร้างภาพแวดล้อมนี้แล้ว การทำงานทั้งหมดด้วยตัวเองจะยากขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าเจอลูกน้องที่เราวางใจที่จะมอบหมายงานให้ หรือเป็นการใช้สมองภายนอกก็จะทำให้วิธีทำงานในฐานะหัวหน้าพัฒนาขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยพัฒนาทักษะการเป็นหัวหน้าและการสอนงานลูกน้องได้อีกด้วย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

ทักษะที่ 5 ทักษะการสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเอง

สิ่งจำเป็นเวลาเลื่อนตำแหน่ง คือทักษะการสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเอง โดยการสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองนั้นมาเอดะได้แยกความจำเป็นต่อสถานการณ์ออกมาทั้งหมด 2 แบบ

แบบที่ 1 คือการสร้างภาพตัวเอง ด้วยแนวคิดว่า “จะให้คนอื่นเห็นตัวเองเป็นอย่างไรในบริษัท” ดูเหมือนว่าหัวหน้าส่วนใหญ่ต่างก็ทำเรื่องนี้อยู่เสมอ

แบบที่ 2 คือ การสร้างลูกน้อง โดยเลื่อนตำแหน่งลูกน้องให้เป็นหัวหน้าคนถัดไปก่อนจะเป็นผู้จัดการฝ่ายที่บริษัทซอฟท์แบงค์ หัวหน้าพูดกับมาเอดะว่า “ขอบใจที่ช่วยสร้างผลงานของทีมได้ดีเสมอ แต่ถ้านายได้ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายแล้ว ใครจะมารับช่วงงานผู้จัดการแผนกที่นายทำอยู่กันล่ะ” ในตอนนั้นเองที่มาเอดะเพิ่งจะรู้สึก ถึงปัจจัยเรื่องความก้าวหน้าของลูกน้อง ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเลื่อนตำแหน่งของตัวเขาเอง

เพราะฉะนั้นความก้าวหน้าของลูกน้อง ต้องได้รับการยอมรับจากภายในบริษัทตั้งแต่แรก โดยเริ่มจากหัวหน้าของตัวเองยอมรับก่อน ตัวเองจะยอมรับคนเดียวไม่ได้ มาเอดะจึงขอหัวหน้าว่า “ผมขอเวลาอีก 3 เดือนครับ” และในระหว่างนั้น มาเอดะเลื่อนตำแหน่งลูกน้องที่มีคุณสมบัติจะเป็นผู้จัดการแผนกคนถัดไป

มาเอดะพยายามพาลูกน้องคนนั้นเข้าร่วมประชุมผู้บริหารให้มากที่สุด เพื่อปั้นเขาให้ได้พูดแทนหลายต่อหลายครั้ง แม้ว่าหัวหน้าจะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าลูกน้องไม่พัฒนา องค์กรไม่มีวันเลื่อนตำแหน่งให้เขาอย่างแน่นอน หัวหน้ามักใช้วิธีการเลื่อนตำแหน่ง ทั้งๆที่ลูกน้องของมาเอดะยังไม่พัฒนาเช่นนี้บ่อยครั้ง ส่งผลให้บุคลากรในที่ทำงานรู้สึกอ่อนล้า และเกิดความระส่ำระสายตามมา หัวหน้าจึงต้องคอยดูว่าลูกน้องในทีมมีการพัฒนาด้วยดีหรือไม่

สุดท้ายนี้อย่างที่มาเอดะได้บอกไว้ว่า ทักษะ 5 อย่างนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้วยความชำนาญและการตัดสินใจที่รวดเร็ว ซึ่งความจริงแล้วทักษะต่างๆ จะเรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือทำเสมอ หากไม่ลงมือทำอ่านทฤษฎีเข้าใจเท่าใดก็ไม่อาจนำไปใช้ได้ โปรดจงลงมือทำทันทีเพื่อการเป็นหัวหน้าที่ดีอยู่เสมอ

หนังสือ กฎ 4 ข้อของการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
เขียนโดย มาเอดะ คามาริ

กฎ 4 ข้อของการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

วางขายแล้ววันนี้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
หรือซื้อออนไลน์ คลิก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า