ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ก็อาจก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง เรามักมี พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม อยู่หลายประการที่ควรรู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม 1 ลืมกินยา ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางคนเคยลืมกินยาก็ไม่มีอาการผิดปกติ จึงคิดว่า “ไม่จำเป็นต้องกินยาทุกวันก็ได้” ซึ่งเป็น พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง เพราะโชคดีว่าวันนั้นอาการไม่กำเริบต่างหาก แต่ถ้าช่วงไหนโชคร้ายมีเรื่องให้เครียด อดนอน อากาศร้อน อาการก็อาจกำเริบรุนแรงพร้อมจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้ทันที ดังนั้นการป้องกันด้วยการใช้ยาควบคุมโรคเรื้อรังจึงมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยารักษาภาวะแทรกซ้อน พฤติกรรมที่ 2 เปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเอง การเปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเองแบ่งออกเป็นสองกรณี • ลดปริมาณยาด้วยตัวเอง ผู้ป่วยอาจจะลดยาเองด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น อาการดีขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงการทำเช่นนั้นอาจทำให้โรคกำเริบใหม่ได้ หากไม่ใช้ยาควบคุมโรคไว้ กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหายาเหลือใช้และยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศ • เพิ่มปริมาณยาด้วยตัวเอง การทำเช่นนี้อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดและเกิดอาการข้างเคียงตามมาได้ เช่น อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ทางที่ดีหากความดันโลหิตสูงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาปรับตัวยา หรือแนะนำวิธีการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย พฤติกรรมที่ 3 ไม่อ่านฉลากยา กินยาตามเดิม ยาโรคเรื้อรังจำเป็นต้องกินยาทุกวันจึงเกิดเป็นความเคยชิน แม้ว่าจะได้ยาใหม่ […]
Tag Archives: การใช้ยา
อาหารและยาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ไม่แพ้กัน บ่อยครั้งจึงเกิดอาการสงสัยว่า ห้ามกินยากับอะไร ถ้ากินยาตัวนี้กับอาหารชนิดนี้แล้วจะแสลงไหม จริงๆ แล้วจะเรียกอาหารก็คงไม่ถูกต้อง แต่ต้องเรียกว่า “สารอาหารบางประเภท” ต่างหาก ที่มีผลกับยาบางชนิด มาดูกันว่า “ห้ามกินยากับอะไร” กินยาตัวนี้แล้วห้ามกินอาหารประเภทไหน ผักใบเขียวที่มีวิตามินเคสูง เช่น บรอกโคลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ควรบริโภคอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด วาร์ฟาริน (warfarin) เนื่องจากมีผลต่อระดับความแข็งตัวของเลือด จำเป็นต้องให้คำแนะนำโดยเฉพาะในช่วงกินเจ ผลไม้ประเภทกล้วย ส้ม ที่มีโพแทสเซียมสูง เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีผลต่อการใช้ยาขับปัสสาวะ หากระดับโพแทสเซียมในเลือดผิดปกติจนทำให้เกิดพิษจากยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น ไดออกซิน (digoxin) อาหารหมักจำพวกยีสต์หมัก เบียร์ ไวน์ และอาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก ถั่วปากอ้า ช็อกโกแลตที่มีส่วนประกอบของสารไทรามีน แม้จะมีคุณสมบัติช่วยควบคุมความดันโลหิต แต่ถ้ากินอาหารที่มีสารไทรามีนสูงร่วมกับการกินยาต้านโรคซึมเศร้าบางชนิดในกลุ่ม MAOIs เช่น เซเลจิลีน (selegiline) อาจทำให้สารไทรามีนสะสมมากกว่าปกติจนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง ความดันโลหิตสูงจนเป็นอันตรายได้ ขนมหรือลูกอมที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ หากกินในปริมาณมากและต่อเนื่องนานๆ จะทำให้เกิดการคั่งสะสมของเกลือและน้ำทำให้ตัวบวม ถ้ากินร่วมกับยาลดความดันโลหิตก็จะออกฤทธิ์ขัดแย้งกัน […]