เรามีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกคน แต่สิ่งที่มีไม่เท่ากันคือการ บริหารเวลา นั่นเป็นเหตุผลหลักที่บางคนทำงานเสร็จเร็วมาก แต่อีกคนกลับทำงานไม่ทัน การใช้เวลาให้คุ้มค่าเป็นลักษณะของคนรวย พวกเขาจะไม่ยอมเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สำหรับคนรวยแล้ว เวลามีค่ามากกว่าเงิน เขายอมจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา เช่น การเดินทางโดยเครื่องบินแทนการขับรถ จ้างคนทำความสะอาด ตัวเองจะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน เป็นต้น ลองมาดูกันว่าเทคนิคการ บริหารเวลา แบบคนรวยเขาทำอย่างไร ทำงานอย่างมีสมาธิ คนที่ดูเหมือนไม่ได้ทำงานแต่ทำงานเก่ง เป็นคนที่มีผลิตภาพต่อเวลาสูง เขาใช้การระเบิดพลังยามมีสมาธิ จนสามารถทำงานได้มากในระยะเวลาอันสั้น ในทางตรงข้าม ก็มีบางคนที่ทำงานช้าทำงานได้ปริมาณน้อย ผลิตภาพต่ำ ทั้งยังใช้เวลานาน วิธีแก้ไขปัญหานี้คือต้องรู้ช่วงเวลาและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เรามีสมาธิที่สุด และทำงานที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น สมมติว่าช่วงเวลาที่เรามีสมาธิมากที่สุดคือช่วงเช้า เราก็ใช้เวลานั้นทำงานที่สำคัญที่สุด งานที่ซับซ้อน งานที่ยากมาก ส่วนงานอื่นๆ ไว้ทำหลังจากนั้น งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งรีบอย่างการทำบัญชีหรือทำเอกสารจิปาถะก็ให้ทำตอนบ่าย ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าประชุมช่วงเช้า แต่จำเป็นต้องประชุมช่วงเช้าจริงๆ ให้เข้างานก่อนเวลาทำงานสักชั่วโมง วิธีนี้จะทำให้คุณได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครมาคุยด้วย นอกจากนี้การปรับสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อสมาธิเช่นกัน ให้จัดโต๊ะด้วยการนำงานที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ออกไปให้พ้นสายตา และวางเอกสารหรืองานที่ต้องทำในวันพรุ่งนี้บนโต๊ะก่อนกลับบ้านทุกครั้ง เมื่อมาถึงโต๊ะทำงานจะได้รู้ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง เคารพเวลาของคนอื่น คนทำงานเก่งและเร็วจะให้ความสำคัญกับเวลามาก ไม่เพียงแค่เวลาของตัวเองเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับเวลาของคนอื่นด้วย […]
Tag Archives: บริหารเวลา
เพราะเวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่า คนที่บริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ จึงได้เปรียบที่สุด มาดูกันว่าอะไรคือ 3 สิ่งที่ไม่ควรทำในการ บริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ บริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ ต้องไม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยไม่อาศัยตัวช่วย แผนการหรือวิธีบริหารที่่มีอยู่ในใจจะเป็นการ บริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เลย หากแผนเหล่านั้นเราคิดเอง ทำเองโดยไม่คิดหาเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เข้ามาเป็นตัวช่วย อย่างน้อยควรเขียนใส่กระดาษและแปะไว้ในที่ที่มองเห็นทุกวัน เพราะถ้าเพียงแค่ตัดสินใจและคิดว่าจะทำโดยไม่มีอะไรคอยเตือนตัวเอง ก็อาจจะทำให้ทำได้ไม่เกิน 3 วัน นอกจากนี้ การสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ โดยเริ่มเรียนรู้จากผู้อื่นและหนังสือ ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพิ่มแผนการใหม่ โดยไม่ลดกิจกรรมเดิมๆ การทดลองกิจวัตรประจำวันใหม่เป็นสิ่งที่ดี แต่การที่เราต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น แม้จะแค่ 5-10 นาทีต่อวันก็อาจจะทำให้เรารู้สึกว่ากิจวัตรที่เพิ่มมาเหล่านั้นเป็นภาระต่อตัวเราได้ ตัวอย่างเช่น มีแผนว่าจะสรุปสิ่งที่ทำในแต่ละวัน แต่จนแล้วจนเล่าก็ยังไม่ได้สรุปอะไร เพราะหาเวลาที่จะนำไปสรุปสิ่งที่จะทำไม่ได้ แทนที่จะทำอย่างนั้น ลองปรับเปลี่ยนมาเป็นเลิกอ่านหนังสือระหว่างเดินทางเพื่อนำเวลานั้นไปใช้สรุปสิ่งที่จะทำในช่วงเดินทาง ไม่ตรวจสอบขั้นตอน “วางแผน – ลงมือทำ – ตรวจสอบ” การ “วางแผน” ทำอะไรใหม่สักอย่างเป็นเรื่องสนุก เมื่อได้ “ลงมือทำ” […]