ทุกคนสามารถเพิ่มความสุขง่าย ๆ ด้วยบันทึกสำหรับสร้าง OUTPUT ความสุขสามแบบ เริ่มจากความสุขแบบเซโรโทนิน คือความสุขจากการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ความสุขแบบออกซิโตซิน คือความสุขจากความรัก ความผูกพัน มิตรภาพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือชุมชน และความสุขแบบโดพามีน คือความสุขจากทรัพย์สิน เงินทอง ความสำเร็จ การบรรลุเป้าหมาย ชื่อเสียงและเกียรติยศ หากต้องการให้ความสุขทั้งสามแบบอยู่กับเราอย่างยาวนาน ก็จำเป็นต้องสร้างออกมาเป็น OUTPUT ด้วยการบันทึกลงในแบบบันทึก OUTPUT ความสุขในแต่ละวัน เราไปทำความรู้จักวิธี “เพิ่มความสุขง่าย ๆ ด้วยแบบบันทึก OUTPUT ความสุขในแต่ละวัน” ทำไมต้องสร้างความสุขสามแบบให้กับชีวิต สารแห่งความสุขที่เป็นส่วนประกอบของความสุขในชีวิตประจำวันที่ควรให้ความสนใจมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เซโรโทนิน ออกซิโตซิน และโดพามีน ดังนั้น “ความสุข” ที่เรารู้สึกในยามปกติน่าจะแบ่งได้เป็น 1. ความสุขแบบเซโรโทนิน คือความสุขจากการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ 2. ความสุขแบบออกซิโตซิน คือความสุขจากความรัก ความผูกพัน มิตรภาพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือชุมชน 3. ความสุขแบบโดพามีน คือความสุขจากทรัพย์สิน […]
Tag Archives: วิธีสร้างความสุข
วิธีสร้างความสุข มีด้วยกันหลายวิธี และเรารู้ดีกันอยู่แล้วว่าสารแห่งความสุขอย่างโดพามีนและเซโรโทนินนั้นสร้างขึ้นจากสมอง การที่เรามีความสุขหรือความทุกข์นั้นเกิดจากสมองของเราทั้งสิ้น การควบคุมสมองต้องอาศัยการฝึกฝน หากปล่อยให้ตัวเองไหลไปกับการทำงานแบบอัตโนมัติของสมอง เราจะมีความสุขได้น้อยลง เพราะสมองได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องเพื่อน ไหนจะข่าวทะเลาะเบาะแว้งในโซเชียล การรับสื่อเช่นนี้จะทำให้สมองหลั่งสารแห่งความเครียดออกมาได้ มาดูกันว่า วิธีสร้างความสุข ด้วยการควบคุมสมองทำอย่างไร สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนในชีวิตจริง ถ้าดูจากเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เราจะคิดไปว่าเราทุกคนล้วนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากกว่าที่เคย แค่วิดีโอคอลไปก็ได้เห็นหน้า หรือคุยกันได้ตลอดเวลาผ่านแอพลิเคชันต่างๆ ในแต่ละวันคนหลายพันล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อสื่อสารกันทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อีเมล ฯลฯ แต่ถึงอย่างั้น ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนกลับบอกเล่าเรื่องราวที่ต่างกันออกไป ชาวอเมริกัน 1 ใน 4 คน บอกว่าตนต้องเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยว และ 1 ใน 5 คน จมกับความรู้สึกดังกล่าวเป็นเวลายาวนาน ภาวะซึมเศร้าพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ภาวะนี้จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้เป็นอันดับสองของโลก ในทางเทคนิคแล้วเราอาจจะมีความสัมพันธ์ต่อกัน แต่ความสัมพันธ์ในโลกดิจิทัลไม่ได้ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกันเสมอไป ที่จริงแล้วมันอาจทำให้เรารู้สึกเหงากว่าเดิมด้วยซ้ำ และการสานสัมพันธ์กับเพื่อนที่พบเจอกันได้จริงๆ ก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสุขให้ชีวิตได้ อย่ามัวแต่คุยกับเพื่อนในโลกดิจิทัล หมั่นไปพบปะเพื่อนในชีวิตจริงบ้าง หน้าจอไม่ได้ทำให้เรามีความสุข […]