Tag Archives: ความสุข

เพิ่มความสุขง่าย ๆ ด้วยแบบบันทึก OUTPUT ความสุขในแต่ละวัน

ทุกคนสามารถเพิ่มความสุขง่าย ๆ ด้วยบันทึกสำหรับสร้าง OUTPUT ความสุขสามแบบ เริ่มจากความสุขแบบเซโรโทนิน คือความสุขจากการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ความสุขแบบออกซิโตซิน คือความสุขจากความรัก ความผูกพัน มิตรภาพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือชุมชน และความสุขแบบโดพามีน คือความสุขจากทรัพย์สิน เงินทอง ความสำเร็จ การบรรลุเป้าหมาย ชื่อเสียงและเกียรติยศ หากต้องการให้ความสุขทั้งสามแบบอยู่กับเราอย่างยาวนาน ก็จำเป็นต้องสร้างออกมาเป็น OUTPUT ด้วยการบันทึกลงในแบบบันทึก OUTPUT ความสุขในแต่ละวัน เราไปทำความรู้จักวิธี “เพิ่มความสุขง่าย ๆ ด้วยแบบบันทึก OUTPUT ความสุขในแต่ละวัน” ทำไมต้องสร้างความสุขสามแบบให้กับชีวิต สารแห่งความสุขที่เป็นส่วนประกอบของความสุขในชีวิตประจำวันที่ควรให้ความสนใจมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เซโรโทนิน ออกซิโตซิน และโดพามีน ดังนั้น “ความสุข” ที่เรารู้สึกในยามปกติน่าจะแบ่งได้เป็น 1. ความสุขแบบเซโรโทนิน คือความสุขจากการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ 2. ความสุขแบบออกซิโตซิน คือความสุขจากความรัก ความผูกพัน มิตรภาพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือชุมชน 3. ความสุขแบบโดพามีน คือความสุขจากทรัพย์สิน […]

4 กลเม็ดช่วยคนเครียดง่าย เพราะความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าง่ายเวอร์

การสัมผัสรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น อารมณ์ความรู้สึกของผู้คน เสียงแค่เพียงแผ่วเบา หรือกระทั่งแสงเลือนราง คือสาเหตุที่ทำให้คนอ่อนไหวง่ายเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป คนที่อ่อนไหวง่ายยังคาดเดาสภาพร่างกายของตัวเองได้ดีเยี่ยม จึงยิ่งเหนื่อยง่ายมากขึ้น ขอแนะนำ “4 กลเม็ดช่วยคนเครียดง่าย เพราะความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าง่ายเวอร์” วิธีพลิกแพลงเพื่อลดแรงบั่นทอนที่คนอ่อนไหวง่ายได้รับจากสิ่งกระตุ้นเร้าจนทำให้เครียด 1. พลิกแพลงเพื่อปกป้องตัวเองจาก “สิ่งกระตุ้นเร้า” วิธีนี้เป็นเคล็ดลับป้องกันในเชิงกายภาพแทนการปิดกั้นหัวใจ การข่มประสาทรับรู้ไว้ระยะหนึ่งเวลาอยู่ในสถานที่ที่ไม่ชอบหรือเวลาเจอกับคนไม่ถูกชะตาเป็นเรื่องจำเป็นก็จริง แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่า ไม่จะเป็นการอิ่มเอมกับเรื่องน่ายินดี การสัมผัสสิ่งไม่น่าพิสมัยหรือสิ่งชวนให้เจ็บปวด ล้วนต้องใช้ “ประสาทรับรู้” หากทำให้ประสาทรับรู้ด้านชาก็จะเท่ากับว่า “รับรู้เรื่องไม่น่าพิสมัยหรือเรื่องชวนให้เจ็บปวดน้อยลง แต่ก็ได้สัมผัสการใช้ชีวิตอย่างปลื้มปริ่มยากขึ้นเช่นกัน” ยิ่งถ้าปิดกั้นประสาทรับรู้เป็นเวลานาน คราวนี้อาจกลายเป็นไม่รู้ว่าอะไรคือความสุขสำหรับตน และเกิดคำถามเช่น “ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอย่างไร” หรือ “คำว่าสนุกสนานเป็นความรู้สึกแบบไหน” เพราะฉะนั้น กรณีจำเป็นต้องหาทางรับมือในระยะสั้น ขอให้ใช้วิธี “เริ่มจากป้องกันด้วยวัตถุ” เพื่อลดสิ่งกระตุ้นเร้าอันเป็นบ่อเกิดของความเครียด แทนการปิดกั้นประสาทรับรู้ แล้วค่อย ๆ ถอยห่างออกจากสถานที่หรือบุคคลที่ก่อให้เกิดความเครียด เพียงแค่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องปิดกั้นประสาทรับรู้แล้ว 2. แยกประสาทสัมผัสทั้งห้า วิธีป้องกันสิ่งกระตุ้นเร้า การมองเห็น : การจำกัดสิ่งที่มองเห็นให้เหลือแค่เท่าที่จำเป็น ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการป้องกันสมองไม่ได้พัก การได้ยิน : แค่เตรียมที่อุดหูไว้ในกระเป๋าเวลาออกนอกบ้าน แล้วหมั่นนำมาใช้เพื่อป้องกันเสียงระคายหู ก็ลดความเครียดได้มากแล้ว […]

8 ข้อคิดในการใช้ชีวิต เพื่อชีวิตที่เบิกบาน โดยองค์ทะไลลามะ และอาร์ชบิชอป เดสมอนด์ ตูตู

จงมีชีวิตที่เบิกบาน โดย องค์ทะไลลามะ และอาร์ชบิชอป เดสมอนด์ ตูตู สองผู้นำทางจิตวิญญาณและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้นำเสนอ ข้อคิดในการใช้ชีวิต เพื่อชีวิตที่เบิกบานไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งบทความนี้จะขอสรุปบางแง่มุมให้ดังนี้ เรื่องต่างๆ มีหลายแง่มุม องค์ทะไลลามะให้ ข้อคิดในการใช้ชีวิตว่า “เราต้องมองสถานการณ์ใด ๆ ก็แล้วแต่จากด้านหน้าและด้านหลัง จากด้านข้างและจากด้านบนและด้านล่าง อย่างน้อย ๆ จากหกแง่มุม สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีมุมมองเกี่ยวกับความจริงที่สมบูรณ์และเป็นองค์รวมยิ่งขึ้น และหากเราทำได้เช่นนั้น การตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ของเราก็จะเป็นในทางที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น” การมีมุมมองที่กว้างขึ้นทำให้เราสามารถมองเห็นสถานการณ์ของตัวเอง และทุกคนที่เกี่ยวข้องในบริบทที่กว้างขึ้น และตั้งอยู่บนความเป็นกลางยิ่งขึ้น เมื่อเรามองเห็นเงื่อนไขและสถานการณ์มากมายที่นำไปสู่เหตุการณ์นี้ เราก็จะตระหนักว่ามุมมองอันจำกัดของเรานั้นไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ มุมมองที่กว้างขึ้นนี้ยังพาเราออกจากการมุ่งมองแต่คุณค่าของตัวเอง การมองตัวเองเป็นศูนย์กลางคือมุมมองที่บกพร่องที่สุดของเรา เป็นมุมมองที่เกิดจากการมองว่าเราเป็นศูนย์กลางของโลกของตัวเอง แต่ทะไลลามะและอาร์ชบิชอปได้แสดงให้เห็นอย่างหนักแน่นว่า เรายังมีความสามารถที่จะมองด้วยมุมมองของผู้อื่นด้วย   ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งทะไลลามะและอาร์ชบิชอปล้วนยืนยันว่าความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งจำเป็นในทุกๆ โอกาสแห่งความเบิกบาน เมื่อเรามีมุมมองที่กว้างขึ้นเราจะมีความเข้าใจตามธรรมชาติต่อสถานภาพของตัวเองในขอบเขตอันไพศาลของทุกๆ สิ่งที่เคยเป็น เป็นอยู่ และจะเป็น สิ่งนี้จะนำเราไปโดยธรรมชาติสู่ความอ่อนน้อมถ่อมตนและการยอมรับว่าในฐานะมนุษย์ เราไม่อาจแก้ไขทุกสิ่งหรือควบคุมทุกแง่มุมในชีวิตได้ เราจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น อาร์ชบิชอปกล่าวได้อย่างกระทบใจว่า ความเปราะบางของเรา ความอ่อนแอของเราและขีดจำกัดของเรา คือเครื่องเตือนให้เรารู้ว่า เราจำเป็นต้องมีกันและกัน เราไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการมีอิสรภาพ ไม่ต้องอาศัยการพึ่งพา […]

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า