กัมบัตเตะ ปรัชญาการยืนหยัดและการฟื้นคืนกำลังใจของญี่ปุ่น นี่ศิลปะการข้ามผ่านอุปสรรคในวันที่หมดไฟในการทำงาน ! กัมบัตเตะไม่ใช่แค่ถ้อยคำแสดงการให้กำลังใจ หรือการพูดกระตุ้นจูงใจด้วยคำเพียงคำเดียว แต่เป็นวิถีการมองชีวิต กัมบัตเตะเป็นกรอบความคิดที่เรียนรู้และใช้ได้ในชีวิตประจำวัน กัมบัตเตะเป็นเครื่องมือสำหรับให้กำลังใจตัวเองและคนที่รัก กัมบัตเตะจะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าเสมอพร้อมรอยยิ้ม ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรก็ตาม กัมบัตเตะคือแสงสว่างนำทาง ที่ช่วยให้เราไม่ติดหล่มความเฉยเมยเย็นชาหรือความสิ้นหวัง เมื่อต้องเผชิญกับโชคร้ายที่ไม่คาดคิด เราไปรู้จัก “กัมบัตเตะ ปรัชญาเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคในวันที่หมดไฟในการทำงาน” พร้อมกัน ขอให้แล่นเรือฝ่าชีวิตไปด้วยจิตวิญญาณแบบกัมบัตเตะ ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์อย่างไร เรื่องหนึ่งที่แน่ใจได้เสมอคือ แม้แต่คลื่นลูกใหญ่ที่สุดก็ต้องสลายไปในวันหนึ่ง บางเวลาเราอาจประสบอุบัติเหตุหรือดูเหมือนจะเจอแต่ข่าวร้าย แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราเลือกพุ่งไปข้างหน้าได้เสมอ ขอให้แล่นเรือฝ่าชีวิตไปด้วยจิตวิญญาณแบบกัมบัตเตะ จงทำให้ดีที่สุด กระโจนเข้าหาคลื่นเหล่านั้นแล้วเรียนรู้จากมัน และพึงระลึกเสมอว่าคลื่นจำนวนหนึ่งอาจหนักหนาเกินต้านและจะพัดคุณกลับเข้าฝั่ง ถ้ายืนนิ่ง ๆ และ “ตะไคร่ไม่ดี” เติบโตบนตัวคุณ ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้ว ถ้ายืนนิ่ง ๆ และ “ตะไคร่ไม่ดี” เติบโตบนตัวคุณ ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้ว แต่ถ้าคุณกลิ้งอยู่ตลอดและไม่ยอมให้ “ตะไคร่สวยงาม” เติบโตบนตัวคุณ ก็ต้องหยุดพักและจัดการกับเรื่องนี้ต่อไป คำถามสำคัญคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรยืนอยู่นิ่ง ๆ หรือกลิ้งเพื่อค้นหาเป้าหมายถัดไปถึงจะดีกว่า มีแต่คุณเท่านั้นที่ตอบคำถามนี้ได้ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องไม่รู้สึกเหมือนติดกับ […]
Tag Archives: เทคนิคการทำงาน
“เมื่อปราศจากฟีดแบ็ก พนักงานย่อมขาดความสามารถ ส่วนหัวหน้าก็จะกลายเป็นเผด็จการ !” นี่คือพลังของฟีดแบ็กที่หลายคนไม่รู้ เพราะมักคิดว่าการให้หรือได้รับฟีดแบ็ก ต้องเป็นเรื่องแง่ลบเสมอ แต่จริง ๆ แล้ว ฟีดแบ็กเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันศักยภาพคนทำงานให้พัฒนาได้ง่าย ๆ เราไปดูกันว่า “พลังของฟีดแบ็กมีดีกว่าที่คุณคิด !” มากแค่ไหนกัน คนทำงานต้องรู้ว่าสถานะของตัวเองเป็นอย่างไร คนทำงานจำเป็นต้องรู้ว่าสถานะของตัวเองเป็นอย่างไร เพื่อชดเชยข้อบกพร่องในปัจจุบันและปรับปรุงประสิทธิภาพในอนาคต ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เพราะอย่างนี้นี่เอง หลายคนจึงไม่สามารถรับรู้ความจริงข้อนี้ได้ และปัญหาก็เริ่มต้นจากตรงนี้ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อปรับปรุงผลงานคือ การระบุรูปแบบพฤติกรรมที่คุณแสดงออกมาจนถึงตอนนี้อย่างถูกต้องแม่นยำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอะไรและต้องทำอย่างไรหากไม่รู้รูปแบบพฤติกรรมในปัจจุบันของตัวเอง จริง ๆ แล้วมีหลายครั้งที่คนรอบตัวที่เฝ้าจับตาดูเราอยู่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของเราได้ถูกต้อง ในขณะที่เรากลับไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองดี เพราะการวิเคราะห์และประเมินตัวเองจากมุมมองของผู้อื่นเป็นเรื่องยากนั่นเอง ลองถามคนที่ทำงานใกล้ชิดกับคุณที่สุดว่า พฤติกรรมใดของคุณที่พวกเขาคิดว่ามีอิทธิพลมากที่สุดต่อการทำผลงาน แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่า เพื่อนร่วมงานจะเข้าใจพฤติกรรมของคุณชัดเจนกว่าตัวคุณเอง เพราะนอกจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมของตัวเองจะขาดความเป็นกลางแล้ว เมื่อถูกงานไล่ล่าทุกวัน เราก็ไม่ค่อยมีเวลานึกถึงพฤติกรรมตัวเองนัก การสังเกตและการจดบันทึก คือทักษะหลักในการให้ฟีดแบ็ก การสังเกตเป็นนิสัยที่นักธุรกิจที่เป็นผู้นำแห่งยุคมีเหมือน ๆ กัน แม้แต่อัจฉริยะในด้านต่างๆ เช่น สตีฟ จ็อบส์ ผู้มีพรสวรรค์อันยอดเยี่ยมในการมองเห็นถึงแก่นแท้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเกตอย่างจริงจัง และลีโอนาร์โด ดาวินชี ผู้ใช้ดวงตาแห่งจินตนาการมองลึกลงไปกว่าสิ่งที่ตามองเห็น […]
ทักษะ OUTPUT เป็นทักษะสำคัญ ที่จะช่วยให้คนทำงานสามารถถ่ายทอดและสื่อสารอย่างทรงพลัง เข้าเป้า เข้าตา ทักษะ OUTPUT จึงเป็นทักษะคนทำงานที่ต้องมี เพราะคนเก่งงานไม่สามารถทำงานโดยถ่ายทอดข้อมูลไม่เป็นไม่ได้ ขอแนะนำ “3 เคล็ดลับ OUTPUT เพื่อเป็นคนทำงานเก่งจนทึกคนต้องตะลึง” เทคนิคเพื่อพัฒนาคนทำงานให้เก่งและมีผลงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ! 1. เทคนิคพูดให้เก่ง คนทำงานปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าพัฒนาเทคนิคการพูดให้ลื่นไหลน่าฟังเหมือนเช่น นักพากย์ หรือนักแสดง เพราะจริง ๆ แล้วการเป็นคนพูดเก่งในเรื่องงานไม่ได้ต้องการเทคนิคอะไรมากนัก ขอแค่มีจังหวะจะโคนสม่ำเสมอ ไม่ว่าสถานการณ์ใดก็ใช้โทนเสียงคงเส้นคงวาและฟังเข้าใจง่าย เมื่อทำได้เช่นนี้ ใจความสำคัญที่พูดก็จะไหลเข้าสู่โสตประสาทของอีกฝ่ายโดยอัตโนมัติอย่างถูกต้องชัดเจน หรือจะสรุปว่า สิ่งสำคัญในการพูดคือ ความคงเส้นคงวาที่พร้อมจะแทรกสู่สมองอีกฝ่ายอย่างเป็นธรรมชาติก็คงไม่ผิดนัก เคล็ดลับในการพูดให้ฟังเข้าใจง่ายประกอบด้วย ไม่พูดรัวเร็ว หรือพูดแบบท่องบทก็ไม่สมควรระหว่างพูดให้คิดตามสิ่งที่พูด และคอยรักษาจังหวะจะโคนให้คงเส้นคงวา หมั่นฝึกซ้อมประโยคที่ใช้บ่อย : ซ้อมพูดประโยคที่ใช้บ่อย เช่น “เปิดเอกสารไปที่หน้าหนึ่งครับ/ ค่ะ” หลาย ๆ ครั้ง เว้นวรรค : ควรเว้นวรรคหลังจบประโยค “ไปที่หน้าถัดไปครับ/ค่ะ” ซึ่งการเว้นวรรคจะแสดงให้เห็นถึงความไม่เร่งร้อน ฟังดูมีศิลปะในการพูด เน้นเสียงและพูดให้ช้าลงเล็กน้อย เมื่อถึงประโยคสำคัญ หรือคำศัพท์เฉพาะ 2. […]
การกำหนดสิ่งที่อยากทำตอนเย็นหลังเลิกงาน แล้วลงมือทำตามแผนที่วางไว้ทีละขั้น ทำสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วสร้างผลสำเร็จขึ้นมา ทั้งหมดนี้จะทำให้ชีวิตมีสีสัน ก่อนเข้านอนก็เฝ้ารอให้วันพรุ่งนี้มาถึง และทำให้ตอนเช้าตื่นขึ้นมาอย่างมีความสุข เราไปดูกันว่าเมื่อตอนเย็นเปลี่ยนไปจะทำให้เช้าวันใหม่ดีขึ้นได้อย่างไรในบทความนี้ “เช้าเปลี่ยนไปทันทีที่เย็นเปลี่ยน เทคนิคออกแบบชีวิตด้วยการทำกิจวัตรยามเย็น” “ความภูมิใจในตัวเอง” หลักฐานที่บอกว่าฉันเป็นคนมีค่า การที่เราท้อใจง่ายกับเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ การที่ชีวิตเราดูซอมซ่อ และการที่เราผูกสัมพันธ์กับคนอื่นได้ยาก ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเพราะไม่มีความภูมิใจในตัวเอง จึงดูเหมือนว่าถ้าสามารถเรียกคืนความภูมิใจในตัวเองให้กลับมาได้ทุกปัญหาก็จะได้รับการแก้ไข หลายคนจึงตามหาเทคนิคหรือเข้าคอร์สต่าง ๆ เช่น การเข้าโปรแกรมให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่บอกว่าช่วยให้มีความภูมิใจในตัวเองเพิ่มขึ้น การฝึกเขียนบันทึกเรื่องราวดี ๆ หรือการทำสมาธิ หากวิธีเหล่านั้นช่วยฟื้นฟูความพึงพอใจในตัวเองให้กับคุณได้ก็ถือเป็นเรื่องดี ทว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ความภาคภูมิใจจะเพิ่มขึ้นจากการเข้าคอร์สเพียงแค่ 2-3 ครั้ง บางคนมีความภูมิใจในตัวเองต่ำมากจนโทษว่าทุกอย่างเป็นความผิดของตัวเอง หลังเลิกงานจึงไม่ควรจมอยู่กับความเครียดจากที่ทำงาน แต่จะจดจ่อกับตัวเองเท่านั้น ขยับเขยื้อนร่างกายตามกิจวัตรที่วางแผนไว้ ค้นหาสิ่งที่ทำได้ดี เริ่มต้นทำโปรเจ็กต์เสริม ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่าและมีความพิเศษแม้จะไม่ได้ท่องคาถาว่า “ฉันเป็นคนมีค่า ฉันเป็นคนพิเศษ” ก็ตาม เมื่อไม่จำกัดบทบาทตัวเองอยู่แค่ที่ทำงานและค้นพบประโยชน์ของตัวเองตอนอยู่นอกที่ทำงาน งานจึงไม่ใช่ทั้งหมดในชีวิตอีกต่อไป การทำสิ่งที่ชอบตอนเย็นหลังเลิกงานช่วยให้หลุดพ้นจากชีวิตที่ทำงานเป็นหนูถีบจักรเพื่อหาเลี้ยงชีพ แล้วมองว่าที่ทำงานคือหนึ่งในเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกในการเรียนรู้และเข้าใจตัวเอง ซึ่งจะทำให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้นและทำงานได้ดีขึ้นด้วย เป็นการมุ่งมั่นทำงานเพื่อความสุขที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ทำงานเพื่อไม่ให้ถูกต่อว่า และหลุดพ้นจากชีวิตที่เฝ้ารอแค่เวลาเลิกงานหรือวันหยุด มาค้นพบชีวิตอีกด้านหนึ่งของเราในยามเย็น ตั้งเป้าหมายแล้วลงมือทำให้เห็นด้วยตาคุณเองว่าหากตั้งใจแล้วย่อมทำได้อย่างแน่นอน แม้บางครั้งจะถูกหัวหน้าต่อว่าเพราะทำงานผิดพลาด แต่คุณที่รู้ว่าตัวตนเวลาอยู่ที่ทำงานเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดของความเป็นตัวเอง โลกทั้งใบของคุณก็จะไม่แตกสลาย เมื่อฉันเป็นพนักงานออฟฟิศที่มีความฝันอีกอย่าง […]
เป็นธรรมดาที่มนุษย์ทำงานจะทำงานจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการทำงาน จนทำให้เกิดความรู้สึกแย่… ที่บั่นทอนร่างกายและจิตใจ ขอแนะนำขั้นตอนการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจหลังจากทำงานมาแล้วทั้งอาทิตย์ เพื่อช่วยเติมพลังภายในให้มีความสุขในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ทั้ง 3 เคล็ดลับจะช่วยเติมไฟเติมพลังให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากขนาดไหน เราไปติดตามเทคนิคดี ๆ พร้อมกันที่ “เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อลดความรู้สึกแย่ !” 1. วิธีย่นสัปดาห์การทำงานให้สั้นลง สำหรับพวกเราหลาย ๆ คน การทำงานวันละหกชั่วโมงอาจเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อม แต่อย่างน้อยที่สุด เราทุกคนควรมุ่งทำชั่วโมงการทำงานสี่สิบชั่วโมง (หรืออาจน้อยกว่านั้น) ในแต่ละสัปดาห์ให้กลายเป็นชั่วโมงการทำงานที่กระตือรือร้นและจดจ่อ แค่นั้นพอ! ลองทํากิจกรรมต่อไปนี้ เพื่อช่วยย่นสัปดาห์การทำงานของคุณให้สั้นลง เลิกยกย่องการทำงานที่หนักเกินไป การทำงานในช่วงที่มีสมาธิจดจ่อเต็มที่ช่วยให้คุณทำงานเสร็จได้มากพอกัน อีกทั้งยังทำให้คุณเหลือเวลาสำหรับการพักผ่อน ใช้ความคิดและมีความสร้างสรรค์ ฝึกวินัยให้ตัวคุณด้วยการออกจากที่ทำงานให้ตรงเวลาในวันที่ไม่มีงานเร่ง หรืองานที่คุณจำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันนั้นจริง ๆ และส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงานทำเช่นเดียวกัน แบ่งงานออกเป็นก้อน ๆ ก้อนละหนึ่งชั่วโมง หากคุณจะเพิ่มงานที่นอกเหนือจากนั้นลงไป ให้ถามตัวเองว่างานก้อนไหนที่คุณจะเลิกทำเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน จำไว้ว่า ผลเสียที่เบาที่สุดของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานคือมันจะทำให้พลังงาน ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการจินตนาการของคุณลดน้อยลง ส่วนผลเสียที่ร้ายแรงที่สุดคือ มันจะนำไปสู่ภาวะเหนื่อยล้า และภาวะหมดไฟในการทำงาน 2. วิธีกำหนดแบบแผนของตัวเอง เมื่อคนเราต้องผลัดเวรกัน สมาชิกในทีมจะเริ่มร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน พวกเขาเริ่มขออนุญาตกลุ่มเพื่อขอหยุดงานในคืนสำคัญ ๆ พวกเขาเล่าเรื่องราวส่วนตัวและชีวิตตอนอยู่บ้านให้สมาชิกคนอื่น […]
การลดความสะเพร่าจำเป็นต้องใช้เวลา แต่ก็ใช่ว่าจะร่นระยะเวลานั้นให้สั้นลงไม่ได้เลย วิธีจัดการปัญหาที่ดีที่สุดคือ วิเคราะห์แนวโน้มว่า “มักทำพลาดในจุดใด” และคิดหามาตรการรับมือว่า “ควรเพิ่มความระมัดระวังจุดใดบ้าง” ลองใช้วิธีเขียนแนวโน้มความผิดพลาดและวิธีแก้ไขลงบนกระดาษโน้ต เราไปดูเทคนิค “ใช้กระดาษโน้ตลดความสะเพร่าด้วยการบันทึกจุดผิดแบบเห็นผล” กันเลย 1. หยิบกระดาษคำตอบข้อสอบเก่ามาค้นหาจุดผิดพลาดจากความสะเพร่า ขอยกตัวอย่างความสะเพร่าของการทำข้อสอบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น หลายคนได้กระดาษคำตอบข้อสอบกลับมาไม่เคยเก็บไว้ ดังนั้นนับจากนี้ขอแนะนำให้เก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสอบย่อยหรือสอบใหญ่อย่างน้อยที่สุดหนึ่งปี เนื่องจากข้อสอบเก่าเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขจุดผิดพลาด สิ่งที่ต้องทำหลังจากรวบรวมกระดาษคำตอบได้มากสุดเท่าที่หาได้แล้วก็คือ การระบุจุดผิดจากความสะเพร่า จากนั้นใส่เครื่องหมายด้วยการเขียนตัวเลขกำกับที่โจทย์คำถามซึ่งคิดว่า “ผิดเพราะสะเพร่า” ผิดเพราะสะเพร่า หมายถึง “ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการขาดความระมัดระวัง (สะเพร่า)” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจ เนื่องจากบางคนอาจเหมารวมคำว่า “ผิดอย่างน่าเสียดาย” ทั้งหมดมาอยู่ในกลุ่มผิดเพราะสะเพร่า ซึ่งจริงๆ แล้วถือว่าไม่ถูกต้อง “รู้ว่าคำตอบคืออะไร (ตอบถูกเสมอ) แต่กลับผิดเพราะขาดความระมัดระวัง…” ต่างหาก ที่เข้าข่ายผิดเพราะสะเพร่า 2. รวมคะแนนที่พลาดจากผิดเพราะสะเพร่าเพื่อหา “คะแนนที่ควรได้” รวมคะแนนของจุดที่ผิดเพราะความสะเพร่า นำมาบวกเพื่อตรวจสอบว่า “หากไม่ทำผิดเพราะความสะเพร่าจะได้คะแนนเท่าไร” การให้เด็กซึ่ง “ผิดเพราะสะเพร่าค่อนข้างมาก” ได้เห็นคะแนนของตัวเองชัด ๆ จะช่วยให้ตระหนักว่า “ถ้ารู้ว่าจะได้คะแนนเพิ่มขนาดนี้ ตั้งใจให้มากขึ้นเพื่อจะได้ไม่ทำพลาดเสียก็ดี!” ผู้มีเวลาน้อยสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ แต่หากเพิ่งเคยเขียน “จดจุดพลาด” ควรลองคำนวณดูสักครั้ง ยิ่งถ้าเป็นคนที่คะแนนลดลง […]
“การอ่านผ่านตา” ไม่มีทางช่วยให้อ่านหนังสือหรือตำราเรียนดีขึ้น การอ่านพร้อมกับเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดกำกับเอาไว้ ถึงจะนำไปสู่การฝึกฝนทักษะการตีความ และพลังความคิดได้ “กระดาษโน้ต” จึงเข้ามามีบทบาท ในการเขียนบันทึกลงบนกระดาษโน้ตแล้วติดลงบนหนังสือหรือตำราเรียน นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้หน้าหนังสือสกปรกแล้ว ยังดูสะดุดตาน่าอ่านมากขึ้นด้วย เราไปดู “วิธีบันทึกการอ่านด้วยกระดาษโน้ต เพื่อให้เป็นคน Input เก่งขึ้น!” พร้อมกัน อ่านพร้อมคิดตามว่า “ต้องกลับมาทบทวนเรื่องใด” การอ่านหนังสือหรือตำราเรียนแตกต่างจากการอ่านนิยายและหนังสือที่สนใจ ดังนั้นอ่านแค่ครั้งเดียวแทบไม่มีประโยชน์ ถ้าอยากจดจำเนื้อหาให้แม่นยำจริง ๆ ควรอ่านทวนสัก 3 รอบ เคล็ดลับสำคัญคือ “ไม่อ่านนาน ๆ รวดเดียวจนจบ แต่ให้แบ่งอ่านทีละน้อย” รอบแรกที่หยิบหนังสือหรือตำราเรียนขึ้นมาอ่าน อย่าลืมคิดตามด้วยว่า “ต่อไปควรทบทวนเรื่องอะไร” เพราะการเตรียมเรื่องที่ต้องทบทวนเอาไว้ล่วหน้า เป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนและการทำงาน ติดกระดาษโน้ตบนจุดที่ต้องการทบทวน เวลาติดกระดาษโน้ต อย่าลืมเขียนกำกับไว้ด้วยว่า “ติดเพราะเหตุใด” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ จดบันทึกความประทับใจและสิ่งที่ตนคิดเสมอระหว่างการอ่านแล้วติดเอาไว้ในหน้านั้น ๆ หากไม่ทำเช่นนี้ ตอนย้อนกลับมาอ่านอาจงงว่า “ติดกระดาษโน้ตไว้ตรงนี้ทำไม” สำหรับคนที่ชอบจดลงบนหน้ากระดาษโดยตรง เพราะไม่ต้องการให้มีอะไรมาบดบังบรรทัดอักษร ลองใช้กระดาษโน้ตแบบฟิล์มใส ซึ่งติดแล้วยังมองเห็นตัวหนังสือที่อยู่ใต้กระดาษโน้ต การระบุวันที่บนกระดาษโน้ต เช่น “จะทบทวนเมื่อไร” เป็นกลเม็ดสำหรับย้ำเตือนให้รู้ว่าต้องทบทวนซ้ำเนื่องจากเนื้อหาของสิ่งที่จดจำได้ในการอ่านครั้งแรกถือเป็นความทรงจำระยะสั้น หรือความทรงจำที่ลืมได้ง่าย การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นให้เป็น […]