หลังเลิกงาน พอกลับถึงบ้านก็รู้สึกสมองตึงๆ ปวดขมับ อยากนอนตลอดเวลา บางทีงานอาจจะไม่ได้หนักขนาดนั้น แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากสมองล้านั่นเอง อาการสมองล้าสามารถหายไปได้เพียงบริหารด้วยท่าทางเหล่านี้อาจจะสักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็ช่วยให้สมองตื่นตัวได้แล้วมาเริ่ม บริหารสมองให้สดชื่น ไปพร้อมๆ กันเลย! บริหารสมองให้สดชื่น ด้วยการ หมุนแขนซ้ายขวาไปคนละทิศทาง การบริหารสมองให้สดชื่น ด้วยการหมุนแขนซ้ายขวาไปคนละทิศทางจะช่วยให้การทํางานของคอร์ปัสคัลโลซัมมีความกระตือรือร้นขึ้น จริงอยู่ว่าการขยับเคลื่อนไหวในรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากเกิน อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏบัติได้ตามที่ตั้งใจ แต่ถ้าแค่ขยับแขนซ้ายและขวาไปคนละทิศทางละก็ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะทําได้คล่องขึ้นเอง อนึ่ง การประสานมือซ้ายกับมือขวาเข้าด้วยกันอย่างเช่นปรบมือ หรือพนมมือไหว้พระ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้แก่คอร์ปัสคัลโลซัม เพราะคอร์ปัสคัลโลซัมจะตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของมือทั้งสองข้างซึ่งขยับคนละทิศทางเสมอ เดินกลับไปกลับมา บนพรมม้วน อันดับแรก ให้เตรียมพรมขนาดไม่ต้องใหญ่มากไว้หนึ่งผืน จากนั้นม้วนพรม แบบเดียวกับเวลาทําข้าวห่อสาหร่าย ลําดับต่อไปคือ ขึ้นยืนบนพรมที่ม้วนพร้อมกับกางแขนทั้งสองข้างออก เดินกลับไปมา หรือนอนหงายบนพรม แล้วงอขาสลับเหยียดตรงโดยระหว่างเคลื่อนไหว จะต้องรักษาสมดุลร่างกายให้มั่นคง เมื่อยืนอยู่บนพรมม้วนซึ่งไม่รู้ว่าจะกลิ้งไปมาเมื่อไร ประสาทท้ังหมดในร่างกายย่อมเพ่งสมาธิอยู่ที่ปลายเท้า พร้อมพยายามรักษาสมดุลอย่างสุดความสามารถ ทําให้คอร์ปัสคัลโลซัมได้รับการบริหารจากการส่งผ่านข้อมูลท้ังหลายไปมา ระหว่างสมองซีกซ้ายกับซีกขวา เดินสลับ ขวา – ซ้าย โอกาสที่เราทุกคนจะได้คํานึงถึงหรือใส่ใจเกี่ยวกับการทรงตัวในชีวิตประจําวันนั้นมีอยู่น้อยมาก สาเหตุเป็นเพราะสมองทําหน้าที่ควบคุมสมดุลร่างกายซ้าย-ขวาให้เบ็ดเสร็จ ด้วยเหตุนี้การลองเปลี่ยนมาขยับเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งต้องใช้ความพยายามในการรักษาสมดุลร่างกาย […]
Tag Archives: บริหารสมอง
คุณมีพฤติกรรมที่ทำให้สมองไม่แข็งแรงจนเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ มาสำรวจและกระตุ้นให้สมองแข็งแรง โดยการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความตั้งใจกันดีกว่า อยากให้ สมองแข็งแรง อย่าอยู่ในชุดอยู่บ้านทั้งวัน ในวันหยุด การอยู่ในชุดอยู่บ้านหรือชุดนอนทั้งวัน ตื่นสายหน่อย กินมื้อเช้าตามสบาย นั่งดูทีวีไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อนทำอะไร ไม่มีธุระ ต้องออกไปข้างนอก ก็เป็นเรื่องสบายดี แต่จำไว้ว่า “การปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจเสื้อผ้าหน้าผม” คือสัญญาณอย่างหนึ่งของความแก่ชรา เพราะการปล่อยปละละเลยรูปลักษณ์ตัวเองนาน ๆ จะทำให้ “สูญเสียทักษะการสวมใส่เครื่องนุ่งห่ม” ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ของการเป็นโรคสมองเสื่อม ดังนั้น เพื่อให้สมองแข็งแรง ไม่ให้สมองของเราแก่ลง เมื่อตื่นนอนต้องเปลี่ยน เสื้อผ้าชุดใหม่ทันทีให้เป็นนิสัย เตรียมเสื้อผ้าที่จะใส่ในวันต่อไปไว้ข้างหมอน โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและกิจกรรมที่จะทำในแต่ละวัน พรุ่งนี้อากาศจะเป็นอย่างไร แดดจะร้อนหรือฝนจะตก จะต้องออกไปพบใคร จะใส่ชุดลำลองหรือชุดทางการดี… การนึกวาดภาพและวางแผน ล่วงหน้าเป็นการกระตุ้นให้กลีบสมองส่วนหน้าทำงาน และช่วยให้สมองห่างไกลความชราได้ในที่สุด อย่ามัวแต่ถ่ายรูปพร่ำเพรื่อ ทุกวันนี้การใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกลายเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน แต่อยากให้ระวังการตั้งหน้าตั้งตากับการถ่ายรูปมากเกินไป ทันทีที่เดินทางถึงสถานที่ท่องเที่ยวก็กด “แชะ” เห็นเหตุการณ์อะไร หรือเจอคนที่มีชื่อเสียงก็กดถ่ายทันทีโดยไม่สนใจสิ่งใด การทำเช่นนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองเสื่อม ทั้งนี้เพราะ […]
เช็ก 4 พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้ สมองล้า ถ้าเช็กแล้วใช่ รีบหาเวลาว่างไปพักผ่อนสมองบ้างนะ สมองล้ามาก ชีวิตก็เหนื่อยมาก เรากำลังใช้สมองมากเกินไป จนชีวิตเหนื่อยล้าหรือเปล่า สมองล้า เพราะกลับบ้านดึก งานแน่นเอี๊ยดตลอดทั้งวัน เวลากินข้าวยังต้องยกมากินหน้าคอมฯ แถมยังทำงานจนกลับดึก เมื่อไหร่ที่กลับบ้านดึก เวลานอนหลับของเราก็จะถูกริดรอนไปด้วย มาทำงานตอนเช้าด้วยสภาพหมีแพนด้า สติไม่ครบถ้วน สมองล้าเนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ เอางานกลับมาทำที่บ้าน บางคนไม่กลับบ้านดึก แต่หอบงานกลับบมาทำที่บ้าน งานที่คุณนำกลับมาทำที่บ้าน อาจจะไปเบียดเบียนเวลาครอบครัว สังสรรค์กับเพื่อน สมองเลยไม่ได้พักผ่อนไปด้วย เพราะเครียดกับการทำงานตลอดเวลาจนสมองไม่ได้พักผ่อน ทำงานวันเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดที่สมองควรได้รับการพักผ่อน กลับเอางานมาทำเสียนี่ กลายเป็นวันหยุดที่ไม่ได้หยุด ขอทำงานก่อนแล้วไว้หยุดทีหลัง ในหนึ่งอาทิตย์ควรทานข้าวกับครอบครัวอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว แต่มัวเอางานมาทำที่บ้านเสียอย่างนั้น ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง ทุกครั้งที่ออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ทำให้หลับสบายด้วย […]
เรามาดูข้อเท็จจริงจากการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าการกระตุ้นนิ้วโป้งเพื่อ ผ่อนคลายสมอง ส่งผลให้สมองตื่นตัวมีชีวิตชีวาขึ้น และส่งผลดีต่อชีวิตมากเพียงใด การกดจุดที่นิ้วโป้ง ผ่อนคลายสมอง มีผลดีดังนี้ ป้องกันโรคสมองเสื่อม นิ้วและมือมีสัดส่วนพื้นที่ภายนอกร่างกายประมาณ 1 ใน 10 แต่ครองพื้นที่การควบคุมจากสมองถึง 1 ใน 3 เมื่อเราเคลื่อนไหวนิ้วและมือ ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังส่วนปฏิบัติงานและส่วนรับความรู้สึกของสมองจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สมองใหญ่ได้รับแรงกระตุ้น จึงช่วยป้องกันการเกิดอาการของโรคสมองเสื่อม ยืดอายุให้ยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี เมื่ออายุเกินหกสิบ มักจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง อยากมีอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานหรือคนอื่นๆ การกระตุ้นนิ้วโป้งนอกจากช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมแล้ว ยังช่วยปรับการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย สมองผ่อนคลาย จึงช่วยเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้ “อายุยืนยาวและมีสุขภาพดี” ขจัดอารมณ์โกรธและหงุดหงิด ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักอยู่กับที่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ขยับตัวมากนัก เช่น นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งเล่นสมาร์ทโฟน เป็นต้น จึงทำให้สมองเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา เช่น ความรู้สึกเบื่อหน่าย จิตใจไม่แจ่มใส อารมณ์หงุดหงิดกระวนกระวาย ไม่มีความสุข มือเท้าบวม […]
เทคนิค บริหารสมอง ให้ตื่นตัวอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน จะสามารถช่วยให้เราห่างไกลจากภาวะขี้หลงขี้ลืมได้ เพราะสมองจะยังคงพัฒนาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้คือ เทคนิค บริหารสมอง ที่ทุกคนสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที ไม่ว่าจะอายุ 70 หรือ 80 ปี ก็ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มลงมือ บริหารสมอง ด้วยการฝึกประสิทธิภาพความจำ เพื่อป้องกันโรคหลงลืม เคยไหมที่อยู่ๆ ก็นึกชื่อคนไม่ออกเวลาสนทนา มักไม่สามารถระบุชื่อสิ่งที่ต้องการพูดถึงได้ นึกไม่ออกว่าเมื่อวานกินอะไรเป็นมื้อเย็น ลืมนัด ไปซื้อของแต่กลับลืมซื้อสิ่งของสำคัญที่ต้องการจะซื้อ เป็นต้น การลืมสิ่งต่างๆ หลังจากเวลาผ่านไปสักพัก คืออาการ ที่บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพความจำเริ่มลดลง ดังนั้น การบริหารสมองเพื่อป้องกันอาการขี้ลืมคือ ให้หมั่นสังเกตและดูนาฬิกา ตลอดจนพยายามใช้ชีวิตประจำวันโดยใส่ใจเรื่องเวลาให้มากขึ้น และพยายามฝึกใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะหลงลืมได้ ฝึกจดจำตำแหน่งสิ่งของ เคยไหมที่หากุญแจประตูบ้านไม่เจอ หรือลืมว่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ไหน หากรู้สึกว่าเริ่มมีพฤติกรรมหาของบ่อยขึ้น นั่นแสดงว่า ประสิทธิภาพการจำเรื่องสถานที่เริ่มเสื่อมถอยลง และหากมีพฤติกรรมหลงลืมตำแหน่งที่วางสิ่งของบ่อยตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะลืมได้ง่ายขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อาการหลงลืมบางอย่างก็ไม่น่ากังวล เช่น ขณะที่กำลังจัดตู้เสื้อผ้า ก็มีบุรุษไปรษณีย์นำของมาส่งให้ พอได้รับของแล้วก็รีบโทร.ไปขอบคุณเพื่อน แล้วก็เผลอคุยกับเพื่อนเพลินจนลืมไปว่า ก่อนหน้านี้กำลังทำอะไร โดยทั่วไปแล้วขณะที่เรากำลังทำกิจกรรมบางอย่างอยู่ […]