สาเหตุที่เป็นอุปสรรคของ “ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง” มีอยู่หลายอย่าง แต่สรุปได้ว่าในบรรดาสาเหตุต่าง ๆ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ “การเคี้ยวเอื้อง” ความหมายของ “การเคี้ยวเอื้อง” คือ พฤติกรรมของวัวที่สำรอกหญ้าจากกระเพาะ แต่ “การเคี้ยวเอื้อง” ในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมการคิดถึงข้อด้อยหรือความผิดพลาดของตัวเองในอดีตซ้ำไปมา “3 เทคนิคเพื่อเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง” จะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง ซึ่งเป็นต้นตอทำให้ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงหายไปจากชีวิตของคุณ ! 1. เทคนิคเพิ่มความตระหนักรู้ให้ตัวเอง เทคนิคที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมการตระหนักรู้ในตัวเองคือ “คำถาม What” ซึ่งหมายความตามชื่อเรียกคือเป็น วิธีใช้คำถาม “อะไร” (What) ในการจัดการกับปัญหาหรือข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนสำหรับการคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมองตามความเป็นจริง ขอยกตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาโปรเจ็กต์ที่ทำมาเกิดล้มเหลว คำถาม What “ควรทำ ‘อะไร’ เพื่อควบคุมให้ความล้มเหลวนี้ก่อความเสียหายน้อยที่สุด และสิ่งจำเป็นเพื่อให้สามารถใช้ความล้มเหลวนี้ให้เกิดประสิทธิภาพคือ ‘อะไร’” อาจมีหลายคนที่เห็นตัวอย่างนี้แล้วคิดว่า “ก็เรื่องปกตินี่” เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วคิดว่า“ควรทำอะไรดี” ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วไม่เห็นต้องยกขึ้นมาเป็น “เทคนิคสุดยอด” ให้ดูเป็นเรื่องพิเศษเลย แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น เรามักมีแนวโน้มเผลอใช้คำถามว่า “ทำไม” (Why) […]
Tag Archives: Mentalist DaiGO
ความเข้าใจที่นักอ่านมือใหม่ คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ และคนที่อ่านหนังสืออยู่บ้าง แต่ไม่รู้สึกว่ามีประโยชน์สักเท่าไหร่ เชื่อกันอย่างผิด ๆ ก็คือ ต้อง “อ่านเร็ว” “อ่านเยอะ” และ “เลือกอ่าน” ความเชื่อที่ทึกทักกันไปเองนี้เป็นสิ่งที่รบกวน “การเตรียมตัวก่อนอ่าน” และกีดขวางวิธีอ่านเพื่อใช้ประโยชน์จากหนังสือ เมื่อยึดติดกับ “การอ่านเร็ว” เนื้อหาสำคัญก็จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ถ้าคิดแต่ว่า “ต้องอ่านให้ได้เยอะ ๆ” ก็จะพลาดเป้าหมายในการอ่านไป และเมื่อจุกจิกกับ “การเลือกอ่าน” ก็จะเผลออ่านแต่หนังสือตามใจตัวเองเท่านั้น มาปรับทัศนคติในการอ่านหนังสือของคุณกับ “3 เรื่องหลอกลวงเกี่ยวกับการอ่านหนังสือแบบผิด ๆ ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง” แม้แต่งานวิจัยระดับโลกก็ยังปฏิเสธเรื่องการอ่านเร็ว ปี 2016 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ตรวจสอบว่า “การอ่านเร็วทำได้จริงหรือไม่” จากข้อมูลวิจัยกว่า 145 ชิ้น สรุปผลไว้ดังนี เมื่อเพิ่มความเร็วในการอ่าน ระดับความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านจะลดลง (ระหว่างความเข้าใจกับความเร็วในการอ่าน คุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) จากปัจจัยที่กำหนดความเร็วและเวลาในการอ่านการเคลื่อนไหวของดวงตาและวิสัยทัศน์ในการมองเห็น มีผลน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคการอ่านโดยมองตัวอักษรแล้วจำเป็นภาพแทบไม่มีผลใด ๆ และเทคนิคการอ่านเร็วก็ไม่ได้ช่วยให้สมองจดจำเนื้อหาของหนังสือได้เลย สรุปก็คือ การอ่านเร็วเป็นแค่เทคนิคการอ่านข้ามไปแบบลวก ๆ เท่านั้น เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง […]