การ บริหารแบบ Netflix ที่ทำให้องค์กรมาไกลถึงทุกวันนี้คือเน้นจ้างแต่คนโคตรเก่ง และพร้อมจะบอกลาพนักงานได้ทุกเมื่อหากเขาคนนั้นไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดี
อาจจะฟังดูใจร้ายไปสักหน่อย แต่ไม่เกินจริงเลยสักนิด ที่ Netflix มีวิธีบริหารคนเก่งอยู่สามข้อ
อย่างแรก คือ ต้องมีความรับผิดชอบในการจ้างคนที่ยอดเยี่ยม ตัดสินใจให้เด็ดขากว่าใครควรจะต้องไปโดยให้การตัดสินใจหลักเป็นของหัวหน้างาน
สอง ในทุกๆ ตำแหน่ง เราต้องพยายามจ้างคนที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับงานนั้น ไม่ใช่คนที่แค่พอทำได้
สาม Netflix พร้อมจะบอกลาทุกคน แม้แต่คนเก่งๆ หากทักษะความสามารถของเขาไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องทำอีกต่อไป
นี่คือกฎสามข้อเล็กๆ เท่านั้นการ บริหารแบบ Netflix ที่แท้จริงเป็นอย่างไร มาดูกันเลย
จ้างแต่คนเก่งระดับท็อป
การรักษาพนักงานไว้ในองค์กร ไม่ใช่วิธีที่ดีในการวัดความสำเร็จหรือสร้างทีม ตัววัดไม่ควรจะขึ้นอยู่กับว่าบริษัทสามารถเก็บพนักงานไว้ได้กี่คน แต่ขึ้นอยู่ที่ว่ามีคนเก่งผู้ทักษะและประสบการณ์อย่างที่บริษัทต้องการอยู่กี่คนต่างหาก และจะสามารถรักษาพวกเขาไว้ได้มากแค่ไหน
Netflix ใส่ใจเป็นพิเศษเรื่องการประเมินคนที่ต้องถูกเปลี่ยนตัวอย่างเข้มข้นและจริงจิงมาก และยังจัดการกับการตัดสินใจนั้นอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
งานดีไม่ได้ดูที่ผลประโยชน์อย่างเดียว
ที่ Netflix มีตู้แช่เบียร์ประจำแผนก รวมไปถึงชิงช้ากับเปลญวนอยู่ตามจุดต่างๆ ในบริษัทด้วย เคยมักพนักงานสงสัยว่าทำไม Netflix ถึงมีสิ่งที่เอื้ออำนวยกับการพักผ่อนเยอะขนาดนี้ Netflix ได้ให้คำอธิบายว่า การที่พนักงานมีความสุขมันวิเศษแน่นอน แต่ที่ดีที่สุดสำหรับตัวพวกคุณและบริษัทก็คือ ถ้าพวกคุณมีความสุข นั่นก็เพราะว่าคุณทำผลงานได้ยอดเยี่ยมและได้ทำงานร่วมกับคนที่ยอดเยี่ยมต่างหาก
ความสุขในการทำงานที่ Netflix ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสลัดหรูหรา เตียงงีบนอน หรือว่าบอลโต๊ะ ความสุขในการทำงานที่แท้จริงและยั่งยืนมาจากการได้ร่วมลงมือลงแรงในการแก้ปัญหา รวมถึงการรับรู้ว่าลูกค้ารักผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกคุณทุกคนตั้งตาทำงานกันอย่างหนักเพื่อสร้างมันขึ้นมา
ไม่มีโบนัส!
ที่ Netflix ตัดสินใจมาแต่ไหนแต่ไรแล้วว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนจูงใจให้หนัก ต้องแข่งกับกูเกิล เฟซบุ๊ก และแอมะซอนเพื่อดึงตัวเก่งๆ ด้านเทคนิคเอาไว้ และเชื่อว่าการจ่ายหนักให้คนเก่งที่ต้องการตัวนั้นช่วยได้ แต่ไม่อยากให้ราคามาเป็นตัวชี้วัดว่าคนจะเข้ามาร่วมงานกับบริษัทหรือไม่ คนทั่วไปรู้อยู่แล้วว่าที่ Netflix ให้เงินดีขนาดไหน และแน่นอนว่าเรื่องนี้ทำให้คนเก่งๆ อยากจะมาทำงานที่นี่ แต่ก็มีกฎอยู่ข้อหนึ่งว่า จะไม่คุยเรื่องค่าตอบแทนกับแคนดิเดตจนกว่าจะรู้ว่าพวกเขาอยากตอบรับข้อเสนอ แต่จะคุยเรื่องหลักการจ่ายค่าตอบแทน ไม่ใช่เรื่องตัวเงิน
เมื่อคนเริ่มพูดถึงเงินก่อนในขั้นตอนการสัมภาษณ์ พวกเขาจะห่วงแต่ว่ากลัวตัวเองจะไม่ได้เงินเยอะขึ้น หรือมัวแต่คิดถึงเรื่องเงินจนไม่ได้ทุ่มเทความสนใจให้กับงานอย่างแท้จริง และที่ Netflix ไม่มีระบบจ่ายโบนัส ใครที่หวังจะมากอบโกยโบนัสกลางปี ปลายปีบอกเลยว่าไม่มี! เพราะเขามีการตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อในรูปแบบที่ต่างจากบริษัทอื่น พนักงานสามารถบอกได้ว่าต้องการผลตอบแทนในรูปแบบหุ้นเป็นสัดส่วนเท่าไหร่และแทนที่จะบวกเพิ่มไปกับเงินเดือน จำนวนหุ้นนี้จะทดแทนสัดส่วนของเงินเดือนไปเลย สิทธิ์ที่ได้รับจะมีการปันผลเป็นรายเดือน และสามารถใช้สิทธิ์ได้ถึงสิบปี เพื่อเปิดโอกาสให้ถือกินกำไรไปยาวๆ
แรงจูงใจเกิดจากคนเก่งที่หนาแน่น
ที่ Netflix เราไม่ได้เข้าใจมาตั้งแต่แรกเริ่มว่าเพื่อร่วมงานที่เก่งกับอุปสรรคปัญหาหนักๆ ที่มีไว้พุ่งชนคือแรงดึงดูดที่เย้ายวนที่สุดในการมาทำงานที่นี่ แต่คือความกระตือรือร้นที่จะรักษาพนักงานเก่งๆ ให้มีเยอะเข้าไว้ต่างหาก Netflix ให้คำสัญญาไม่ได้ว่าพนักงานทุกคนจะมีเส้นทางอาชีพที่นี่ไปอย่างยาวนาน และเมื่อเวลาผ่านไปก็พบว่าบริษัทได้ดึงดูดพนักงานชั้นเลิศไว้ได้โดยไม่มีอุปสรรคเลย
หลังจากการปลดคนในปี 2011 คนเก่งในบริษัทก็ยังรวมตัวกันอย่างหนาแน่น ทีมผู้บริหารเริ่มคุยกันว่า Netflix คือบริษัทที่มีแต่คนเจ๋งๆ มากความสามารถที่ไปไหนต่อก็รุ่งทั้งนั้น สำหรับพนักงานทุกคน พวกเขาจะรู้ว่า ‘อย่าคาดหวังว่าเส้นทางอาชีพที่นี่จะยาวนาน’ แต่การได้ทำงานกับคนเจ๋ง และได้มีโอกาสพัฒนาสกิล เติบโตนั้นมันสำคัญมากกว่าการได้เลื่อนตำแหน่งเสียอีก
ข้อมูลจากหนังสือ ทำไม Netflix ถึงมีแต่คนโครตเก่ง
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
วิธีการทำงานแบบ Netflix ที่ทำให้องค์กรยิ่งใหญ่และแตกต่างจากที่อื่น!
วิธีพรีเซ้นต์ตัวเองและผลงานแบบเนียนๆ ไม่ให้ดูพยายามเกินไป
จุดเริ่มต้นและการทำงานของ พิกซาร์ บริษัทแอนิเมชั่นชื่อดัง
วิธีแก้ปัญหาในการทำงาน จากโนโบรุ โคยามา CEO ชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น