นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า

ภาวะต่อมหมวกไตล้าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคที่ถูกลืม” เพราะการเจาะเลือดตรวจสุขภาพโดยทั่วไปไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ ซึ่งหากเริ่มมีอาการ นอนไม่หลับบ่อยครั้งเข้า ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหมวกไตล้าเช่นกัน

 

ต่อมหมวกไตคืออะไร

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด และผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด เช่น คอร์ติซอล ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรง หรืออะดรีนาลีน ที่ถูกผลิตออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ โกรธ ตื่นเต้นอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าต่อมหมวกไตล้าเมื่อไหร่ จะส่งผลให้นอนไม่หลับ และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในอนาคต

 

ลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีความเสียงต่อภาวะ “ต่อมหมวกไตล้า” หรือไม่

 

ต่อมหมวกไตล้า

 

หากมีอาการผิดปกติ ที่ตรงกับอาการในตารางเกิน 5 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ดังนี้

 

  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และไม่ควรเกิน 10 ชั่วโมง เพราะการนอนมากเกินไปก็ส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา กินน้อยแต่อ้วนง่าย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
  • รับประทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00 น. ระดับคอร์ติซอลลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย เพราะคอร์ติซอลทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ)
  • รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการรับประทานอาหารมื้อหลักเพียง 1-2 มื้อ
  • ออกกำลังกายแบบปานกลาง เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
  • หาวิธีคลายเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ ท่องเที่ยว นั่งสมาธิ
  • กินอาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดที่ช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้า เช่น โสมอินเดีย สารสกัดจากชาเขียว สารสกัดจากถั่วเหลือง วิตามินซี วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 และวิตามินบี 6

 

หรืออยากเพิ่มเมลาโทนิน (สารที่ช่วยให้นอนหลับ) ก็สามารถจัดบรรยากาศในห้องนอนได้ดังนี้

 

นอนไม่หลับ

 

  • จัดห้องให้มืดสนิท

การสร้างเมลาโทนินถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง ดังนั้นการนอนในห้องที่มืดสนิท จะช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินได้อย่างต่อเนื่อง

  • นอนหลับในช่วง 22.00 น.

เมื่อร่างกายรับรู้ว่าฟ้ามืด ไม่มีแสงสว่าง ร่างกายจะผลิตเมลาโทนินโดยอัตโนมัติและมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 22.00 – 01.00 น. ดังนั้นการนอนหลับในช่วงนี้จะทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนมากที่สุด

  • ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม

อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป จะช่วยให้นอนหลับได้อย่างสบายตัว

  • นอนหลับในที่เงียบสงบ

การนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ควรมีสิ่งรบกวนระบบประสาท โดยเฉพาะประสาทสัมผัสการรับเสียง ดังนั้นเวลานอนควรเลือกสถานที่ที่เงียบสงบ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ที่อุดเสียง (ear plug) จะช่วยให้การนอนมีคุณภาพขึ้น

 

บทความอื่นๆ 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ นอนถูกวิธี สุขภาพดีตลอดชีวิต

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า