สาวๆ หลายคนอาจเคยเจอประสบการณ์ ประจำเดือนมาไม่ปกติ และคิดว่า “การที่ประจำเดือนไม่มานี่สบายจังจะได้ทำอะไรได้อย่างเต็มที่” และปล่อยเรื่องนี้ไว้ ไม่ได้ใส่ใจ แต่แท้จริงแล้วการที่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ นั้นถือว่าเป็นเรื่องอันตรายกับร่างกาย เพราะเป็นสัญญาณว่าฮอร์โมนเพศหญิงไม่ได้ทำงานตามปกติ และมีความเสี่ยงในโรคต่างๆ ตามมาได้
มาดูกันว่า สาเหตุ ความเสี่ยง และวิธีแก้ปัญหา ประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้องทำอย่างไรบ้าง
ความเครียดเป็นสาเหตุ
เมื่อเราเครียดเรื่องในชีวิตประจำวัน ก็สามารถส่งผลต่อประจำเดือนได้ เช่น เครียดเรื่องงาน ความสัมพันธ์ ความเครียดนี้จะส่งผลไปถึงศูนย์ควบคุมฮอร์โมนที่สองทำให้การถ่ายทอดคำสั่งจากสมองไปยังรังไข่ไม่ดี การทำงานของรังไข่จะลดลงและนำไปสู่ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติและเกิดการขาดประจำเดือนได้ นอกจากนั้น การพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นหนึ่งในสาเหตุด้วยเช่นกัน
ลดน้ำหนักอย่างหักโหมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุ
นอกจากความเครียด การลดน้ำหนักก็เป็นหนึ่งในสาเหตุความผิดปกติของประจำเดือนได้ การลดน้ำหนักอาจเป็นเรื่องที่ดีต่อร่างกาย แต่ถ้าเป็นการลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารมากเกินไป ร่างกายจะเกิดการป้องกันตนเอง ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ลดลง ประจำเดือนไม่มาและมีภาวะขาดประจำเดือนได้
สิ่งที่ควรกังวลเมื่อประจำเดือนขาดอย่างต่อเนื่อง
เราต้องแยกก่อนว่าแบบไหนคือการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือรอบประจำเดือนห่าง การที่ประจำเดือนมาภายใน 39 -90 วันนั้นคือ รอบประจำเดือนห่าง ถ้าหาก 90 วันขึ้นไปคือ การขาดประจำเดือน ยิ่งประจำเดือนขาดเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคหรือความเสี่ยงต่างๆ ได้ เช่น
• ยิ่งขาดประจำเดือนนานเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีโอกาสที่ประจำเดือนจะกลับมายากขึ้นเท่านั้น อาจส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนอีกเลย
• หากขาดเป็นเวลานานจะทำให้มีลูกยากขึ้นและมดลูกฝ่อได้
• ประจำเดือนนั้นมีหน้าที่คอยขับเชื้อโรคและเซลล์ที่ผิดปกติ หากไม่มีจะนำไปสู่มะเร็งมดลูกได้มากขึ้น
• ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เพราะเกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
• มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเพิ่มขึ้น
วิธีปรับให้ประจำเดือนมาปกติ
เมื่อมีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ เราควรที่จะรู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นคืออะไร เช่น ความเครียด การลดน้ำหนักที่หักโหม จึงสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่ในระหว่างนั้นเราสามารถใช้วิธีรักษาด้วยฮอร์โมน โดยเรียกว่าวิธีรักษาแบบ “Holmstrom” วิธีรักษาคือใช้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนให้ตรงกับรอบประจำเดือนก่อน 1 รอบเดือน หากมีประจำเดือน หลังหยุดยาให้ใช้วิธีนี้ซ้ำ 3 – 6 รอบเดือนแล้วสังเกตอาการ
แต่ถ้าหากรักษาแล้ว 1 รอบยังไม่มีประจำเดือนให้ใช้วิธีรักษาแบบ “Kaufmann” โดยใช้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและฮอร์โมนเอสโทรเจน 3 – 6 เดือนและสังเกตอาการ การวิธีรักษาแบบนี้เป็นการกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ประจำเดือนมาหลังหยุดยา แต่ถ้าฮอร์โมนโพรแล็กตินที่ใช้ผลิตน้ำนมและฮอร์โมนไทรอยด์สูงขึ้นจนทำให้ขาดประจำเดือนต้องรักษาด้วยวิธีอื่นแทน
หากเราสามารถดูแลร่างกายตัวเองและขจัดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความผิดปกติของประจำเดือนได้ ร่างกายของคุณก็จะแข็งแรงไร้โรคภัยไปอีกนานแน่นอน
ข้อมูลจากหนังสือ รู้จริงเรื่องฮอร์โมน สุขภาพดีตลอดชีวิต
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เทคนิคง่ายๆ เพิ่มฮอร์โมนชะลอวัย ผิวสวยหน้าใส ห่างไกลความแก่
สาเหตุของ PMS อาการหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน และวิธีรักษา
เคล็ดลับการเลือกกินที่ทำให้หน้าอ่อนเยาว์ ดูเด็กกว่าอายุจริง
เทโลเมียร์ ยิ่งยาวยิ่งดี! เคล็ดลับความอ่อนเยาว์ที่เราสร้างเองได้
เพิ่มความยาวเทโลเมียร์ ได้ง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายให้ถูกวิธี