หลายคนต้องการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่รู้วิธีที่ถูกต้อง โคโนะ เก็นโตะ ได้อธิบายวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนของเขา ในหนังสือว่า ถ้าอยากเรียนรู้เร็ว ต้องเริ่มจัดการที่ความเครียดก่อน
โคโนะ เก็นโตะ มีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนอย่างไร มาดูกัน
ลดความเครียด
เทคนิคแรกคือ “ระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องลดสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อการเรียน เพื่อทำให้การเรียนของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น” ต้องสนุกกับการเรียน และอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป จะช่วยลดความเครียดได้เช่นกัน
หากเรากำลังอ่านหนังสืออยู่แล้วคิดถึงเรื่องอื่นขึ้นมา ย่อมทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง โดยเฉพาะเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งสลัดออกจากหัวได้ยาก และยังส่งผลเสียต่อการเรียนด้วย
ใครๆ ก็ต้องเคยเครียดกับการต่อสู่กับความง่วง สิ่งล่อตาล่อใจจากโทรศัพท์มือถือ เรื่องรบกวนเหล่านี้มักวนเวียนอยู่ในหัวไม่ยอมออกไปสักที เราคงเคยฝืนที่จะอ่านหนังสือในสภาวะแบบนี้แล้วผิดพลาดมานักต่อนัก
เมื่อตั้งใจจะอ่านหนังสือแล้ว เราก็ต้องใช้เวลานั้นให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เราต้องคิดอยู่เสมอว่าจะเรียนอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำให้ตัวเองเครียด
เวลาเครียดให้รีบนอน
ถ้าบอกว่าความง่วง กับ ความกังวล คือศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนก็คงไม่ผิดนัก การทนอ่านหนังสือเป็นสิบชั่วโมงทั้งที่ง่วงจนเบลอไปหมดนั้นไม่มีประโยชน์เลย
สิ่งสำคัญสำหรับการเรียนคือ การลดความเครียดจากการเรียนให้ได้มากที่สุด สภาพ “ความอ่อนล้าของร่างกาย” เช่น หิวข้าว ปวดไหล่ หรือง่วงนอนนั้นส่งผลต่อความเครียดไม่น้อยเลย
ความเครียดจากการเรียนของคนส่วนใหญ่เกิดจากความง่วง คงเพราะคิดกันว่า ต้องอ่านหนังสืออย่างคร่ำเคร่งตั้งแต่เช้าจรดค่ำ แต่ถ้าเราง่วงจนเบลอ สมองจะไม่ทำงาน การอ่านหนังสือทั้งที่ยังง่วงแบบนั้นไม่ได้ช่วยให้จำอะไรได้เลย
“ความกังวล” ก็เป็นตัวป่วนอีกอย่างเหมือนกัน หากคุณเคยนั่งอ่านหนังสือแล้วคิดขึ้นมาว่า “ถ้าสอบไม่ผ่านจะทำอย่างไรดี” หรือ “การเรียนนี่มันเหนื่อยจริงๆ” ไหม
ความกังวลเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เช่นเดียวกับความง่วง เมื่อเราเกิดความกังวลหรือง่วงขึ้นมาเมื่อไร เรื่องเรียนก็จะไม่เข้าหัว ดังนั้นเมื่อเกิดความรู้สึกง่วงหรือกังวลขึ้นมาเมื่อไร ให้รีบนอนทันที
สร้างสภาพแวดล้อมให้มีสมาธิ
หมายความว่า ให้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวเอง เช่น ถ้าวางสมาร์ทโฟนไว้ใกล้เมื่อไรจะไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ ก็ให้ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน แล้วไปร้านกาแฟที่ใกล้บ้านที่สุด จากนั้นก็หมกตัวอยู่ในร้านนั้น
บางครั้งขณะอ่านหนังสือเราอาจจะอยากเล่นโทรศัพท์ขึ้นมา แต่ก็เล่นไม่ได้เพราะไม่ได้เอามา เมื่อทำบ่อยๆ ขึ้นจนเป็นนิสัย เราจะไม่รู้สึกลำบากที่ต้องพยายามเอาชนะความอยากเล่นโทรศัพท์อีกเลย
ใช้ดนตรีให้เป็นประโยชน์
เก็นโตะบอกว่าถ้าการฟังเพลงทำให้เราอ่านหนังสือได้อย่างผ่อนคลายก็ฟังได้เลย ดนตรีมีหลายประเภท ตั้งแต่เพลงคลาสสิกไปจนถึงเฮฟวี่เมทัล การฟังเพลงไปด้วยอ่านหนังสือไปด้วยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าคนคนนั้น “มีความสามารถในการฟังเพลงให้เป็น BGM หรือไม่” (Background Music)
การไม่ได้ฟังเพลงถือเป็นเรื่องเครียดของเก็นโตะ เขาจะฟังเพลงบรรเลง เวลาอ่านบทความที่ต้องทำความเข้าใจ และฟังดนตรีสนุกสนานเมื่อต้องท่องศัพท์ภาษาอังกฤษหรือทำการบ้านง่ายๆ นี่คือวิธีสร้างสมดุลระหว่าง “การฟังเพลงเพื่อลดความเครียด” กับ “การมีสมาธิกับการเรียน” สไตล์เก็นโตะ
กำหนดระยะเวลาเรียนให้เหมาะสม
สิ่งที่ต้องระวังเวลาอ่านหนังสือก็คือการกำหนดระยะเวลาในการอ่าน แต่ไม่ได้ต้องทำตามตารางอย่างเคร่งครัด ยืดหยุ่นได้ตามสมควร เพราะบางครั้งเราก็ต้องรู้สึกกันบ้างว่า “ไม่มีกำลังใจ พอก่อนดีกว่า”
ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยและสอบเนติบัณฑิต เก็นโตะไม่เคยกำหนดเวลาว่าวันหนึ่งเขาจะต้องอ่านหนังสือให้ได้กี่ชั่วโมง แต่คิดว่าต้องอ่านหนังสือไปตามที่สภาพร่างกายเอื้ออำนวย ถ้ามีแรงอยากอ่านก็อ่าน เหนื่อยก็นอน พอหายเหนื่อยก็อ่านใหม่
ข้อมูลจากหนังสือ โคโนะ เก็นโตะราชาสมองเพชร
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เทคนิคเรียนให้สนุกจาก โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร
เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด
บทเรียนและข้อคิดดีๆ ในการใช้ชีวิตจากคนดังระดับโลก
8 วิธีเรียนรู้ได้รวดเร็ว และมีความจำเป็นเลิศ
Pingback: วิธีการเรียนรู้ ด้วยตัวเองจากมุมมองใหม่ๆ แบบไม่กดดัน ไม่เครียด
Pingback: โคโนะ เก็นโตะ หนุ่มญี่ปุ่นยอดอัจฉริยะ ฉายาราชาสมองเพชร