ลาออกจากงานประจำ

5 เหตุผลที่คุณไม่ควรลาออกจากงานประจำ มาเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว

หลายคนอยาก ลาออกจากงานประจำ มาทำธุรกิจของตัวเองแบบเต็มตัว แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่อยากให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า เราพร้อมที่จะลงไปลุยสิ่งเหล่านั้นแบบเต็มตัวจริงหรือเปล่า

การทำธุรกิจเสริมควบคู่ไปกับงานประจำเป็นเรื่องที่ดี หากคุณเป็นคนที่บริหารเวลาเป็น ไม่ทำให้ธุรกิจเสริมกระทบกับงานหลัก แต่เมื่อธุรกิจเสริมของคุณทำเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ ความคิดที่อยากลาออกจากงานประจำก็จะเข้ามาวนเวียนในสมองทันที

แต่ช้าก่อน! มีผู้ประกอบการหลายรายที่สร้างธุรกิจได้ดีในช่วงแรก แต่หลังๆ ยอดกลับหล่นฮวบเพราะไม่รู้จักปรับปรุงธุรกิจจนโดนคนอื่นแซงหน้าไปไกลโข จะกลับไปซบงานประจำก็กลายเป็นคนว่างงานเพราะทุกวันนี้งานหายากเหลือเกิน

ลองมาดูกันว่าทำไมเราถึงไม่ควร ลาออกจากงานประจำ ไปเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว

 

ไลฟ์สไตล์ไม่น่ารื่นรมย์

เวลาและความมุ่งมั่นที่ต้องใช้ในการสร้างบริษัทส่งผลแก่คุณและทุกคนในชีวิต คุณต้องคิดเกี่ยวกับเป้าหมายทางการเงิน ไลฟ์สไตล์ และความหมายของคำว่าความสำเร็จอีกครั้ง อัตราการหย่าร้างระหว่างผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพนั้นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาอาชีพอื่นๆ เป็นผลมาจากการทำงานเป็นเวลานานและความเครียด

แม้ว่าบริษัทจะโตขึ้น แต่ไลฟ์สไตล์ของคุณอาจไม่ได้หรูหรานัก ถ้าคุณลาออกจากบริษัทกฎหมายชื่อดังมาเปิดร้านเบเกอรี่ แล้วสุดท้ายก็สร้างธุรกิจจากคุกกี้ตำรับของคุณย่า นั่นคือคุณอาจทำงานยาวนานขึ้นเพื่อแลกกับเงิน แน่นอนว่าคุณมี ‘อิสรภาพ’ แต่ก็มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน มีลูกค้าที่ต้องการนู่นนี่จุกจิก และมีความเครียดที่อาจทำเงินได้น้อยลง หลังจากได้ทำงานและทุ่มเทอย่างหนัก คุณจะรู้สึกแย่แค่ไหนถ้าเปิดร้านเบเกอรี่เพียงเพื่อจะพบว่าคุณควรจะทำงานในบริษัทกฎหมายที่เดิม

คุณต้องทุ่มตัวหมดหน้าตักกว่าจะรู้ซึ้งว่าคุณสนุกกับการอบคุกกี้ให้เพื่อนชิม 2 ถาด แต่คุณเกลียดการอบขนม 12 ชั่วโมงต่อวัน

 

คุณอาจทำการเงินพังได้

การศึกษาไม่นานมานี้เกี่ยวกับผู้ก่อตั้งธุรกิจมากกว่าหมื่นคนเปิดเผยว่า 73% จ่ายเงินเดือนให้ตัวเองน้อยมากเมื่อเทียบกับรายจ่ายที่ต้องจ่ายในการบริหารธุรกิจตลอดปี

อาจไม่ค่อยเป็นธรรมนัก แต่ข้อตกลงก็เป็นเช่นนั้นละ นักลงทุนคาดหวังให้เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพลงทุนลงแรงทั้งหมดไปกับธุรกิจเพราะมูลค่าหุ้นจะได้สูงขึ้น โจนาธาน ออลเซน ผู้ประกอบการธุรกิจกล่าวว่า “ถ้าคุณต้องการจะเป็นผู้ประกอบการ คุณจะต้องเลิกทำอะไรบางอย่าง เริ่มจากเลิกดูโทรทัศน์” นอกเหนือจากนี้แล้ว คุณอาจไม่สามารถช่วยเหลือพ่อแม่เวลามีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด

 

คุณกำลังจะละทิ้งสถานะทางสังคม

งานของคุณแสดงสถานะในสังคม งานที่มีเกียรตินำพาความเคารพและการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและเพื่อนของคุณมาให้ ถ้าทุกๆ คนรู้ว่าคุณคือชายที่ทำงานได้มหาศาลในสายการเงิน คุณน่าจะเคยชินกับการอยู่ใต้แสงไฟ การเปลี่ยนงานส่งผลต่อการที่เพื่อน สังคม หรือแม้กระทั่งตัวคุณมองตัวเอง การนำการยอมรับทางสังคมนี้ไปเสี่ยงอาจทำให้คุณวุ่นวายได้

การทิ้งงานในบริษัทดีๆ มาเป็นสตาร์ทอัพหมายถึงคุณจะต้องทำตัวให้ชินกับงานกรรมกร บอกลาโรงแรมดีๆ และสวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทจัดหาให้ คุณจะต้องจ่ายเงินทำนามบัตรใหม่เอง ทิ้งโลโก้บริษัทเก่าที่ทุกคนรู้จักไปทำนามบัตรใหม่ที่หน้าตาดูงงๆ ท้ายที่สุดต้องอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องนำเสนอธุรกิจของตัวเองให้คนที่นั่งไขว่ห้างจากบริษัทแบบที่คุณจากมา แล้วบางคนอาจพูดว่า “ไม่ ขอบคุณ”

 

คุณยังไม่เจอไอเดียที่ใช่

ไม่ว่าจะทำงานหนักแค่ไหน คุณต้องมีไอเดียเป็นรูปเป็นร่างและมีแผนกมารองรับ นี่เป็นเพียงหนทางเดียวที่คุณจะสร้างทีม ดึงดูดนักลงทุน หาลูกค้าคนแรกๆ ได้ และกล้าที่จะเริ่มลงมือทำ ไอเดียไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แทบจะไม่มีธุรกิจไหนในช่วงต้นๆ ที่สมบูรณ์แบบ แต่มันต้องดูมีแนวโน้มที่ดี

ผลสำรวจจากนิตยสาร อิงค์. (Inc.) พบว่า 71% ของผู้ก่อตั้งธุรกิจได้ไอเดียธุรกิจมาจากปัญหาที่พบในการทำงานก่อนหน้า นี่หมายความว่า เดิมพันที่ดีที่สุดของคุณคือการก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่ที่เดิมจนกว่าจะได้ไอเดียที่จะสามารถจัดการกับความเสี่ยง ต้นทุน ความเครียด และการปฏิเสธที่คุณจะได้พบ ในขณะกำลังคิดให้ออกว่าธุรกิจคุณใช้ได้หรือไม่ เมื่อคุณได้ความคิดที่ใช่แล้ว ก็ต้องทุ่มเทเวลาและพลังานเพื่อทดสอบ ตรวจสอบ กลั่นกรอง และพัฒนาไอเดียนั้น จนกว่าจะถึงจุดนั้นทางเลือกเดียวที่ทำได้คือรอจังหวะที่เหมาะสม

 

ความล้มเหลวเป็นเรื่องที่แย่

ความเข้าใจพื้นฐานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของผู้ประกอบการคือ การเดินหน้าสู่การเป็นเศรษฐี สิ่งที่คุณคิดมีความเป็นไปได้สูงว่าจะล้มเหลว การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ของศาสตราจารย์ชีการ์ โกช ศึกษาชะตากรรมของธุรกิจสตาร์ทอัพมากกว่า 2,000 แห่ง เขารายงานว่ามีสตาร์ทอัพ 75% ที่ไม่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ลงทุนตามสัญญา ในขณะที่ 30-40% ไม่มีคืนเงินทุนเลย การค้นพบของเขาแสดงความจริงขั้นพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการคือ ความล้มเหลวเป็นเหมือนดีเอ็นเอในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ

ถ้าโอกาสล้มเหลวของคุณมีมากกว่าครึ่ง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่ได้อยู่ในอัตราส่วนที่จะชนะ ถ้าล้มเหลวหลายๆ ครั้ง คุณจะสามารถรับต้นทุนทางการเงิน ทางอารมณ์  และทางสังคมได้ไหม

ถ้าคุณอยากแต่งงาน สร้างครอบครัว หรือซื้อบ้าน ถ้าคุณยัง “ทำไม่สำเร็จ” ความหมายก็ชัดเจนทีเดียวว่า ความล้มเหลวมันแย่ และคุณอาจจะไม่สามารถจ่ายค่าความล้มเหลวได้

 

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทำธุรกิจเริ่มจาก 10 ให้ได้ 100

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

5 กลยุทธ์การทำธุรกิจแบบ หัวเว่ย HUAWEI

วิธีทำให้ลูกค้าจดจำด้วยการ สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องราว (Storytelling)

ก่อนจะทำอาชีพฟรีแลนซ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

4 คำถามเช็กว่าคุณอยากทำงานนี้จริงหรือเปล่า ก่อนที่จะคิด เปลี่ยนงาน

4 ลักษณะของ พนักงานที่ดี ที่องค์กรชั้นนำทั่วประเทศอยากได้

บทเรียนและข้อคิดดีๆ ในการใช้ชีวิตจากคนดังระดับโลก

1 thoughts on “5 เหตุผลที่คุณไม่ควรลาออกจากงานประจำ มาเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว

  1. Pingback: เลิกยึดติด ค่านิยมของสังคม ด้วยการ “ไม่ทำ” เพื่อความสุขของตัวเอง

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า