โยคะนิ้ว

“โยคะนิ้ว” ออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว ไม่เหนื่อยแถมสุขภาพดี

โยคะนิ้ว เป็นวิธีเสริมสร้างสุขภาพรูปแบบใหม่ด้วยการกระตุ้นนิ้วมือด้วยการกดปลายนิ้วให้มีแรงกดสูง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมทั่วร่างกายและการทำงานของระบบประสาท ทำให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น

 

มาดูกันว่า โยคะนิ้ว ดีต่อสุขภาพของคุณอย่างไรบ้าง

นิ้วมือสำคัญอย่างไร

นิ้วมือเปรียบเสมือนสมองที่สองของมนุษย์ ผู้ออกคำสั่งการเคลื่อนไหวทุกอย่างคือสมอง เช่น เวลามือหยิบสิ่งของ เราใช้ดวงตาระบุตำแหน่ง รูปร่างและขนาดของสิ่งนั้น เมื่อยื่นมือไปจับ ร่างกายจะรับรู้ความรู้สึก น้ำหนัก อุณหภูมิของสิ่งนั้นแล้วสื่อสารไปยังสมอง สมองจะพิจารณาว่าต้องออกแรงแค่ไหน เคลื่อนไหวอย่างไรเพื่อที่จะยกสิ่งนั้นขึ้น แล้วส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อมือ ทุกอย่างเกิดขึ้นในพริบตาและมือก็รับหน้าที่เป็นทั้งอวัยวะเคลื่อนไหวและสื่อสัมผัส ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “นิ้วมือคือสมองที่สอง เมื่อได้ใช้ประสาทผ่านการสัมผัส ได้ขยับนิ้วมือ ซีรีบรีมหรือสมองใหญ่ก็ได้ใช้งานไปด้วย”

 

ทำไมถึงต้องโยคะนิ้วมือ

1.บริเวณส่วนปลายของร่างกาย เช่น ปลายนิ้ว เป็นสื่อกลางในการชาร์จพลังงาน เหมาะกับการกระตุ้นให้เกิดแรงกดสูงขึ้น ทำให้เกิดการหมุนเวียนพลังงาน

2.ปลายนิ้วเป็นส่วนที่มีพื้นที่น้อย เทียบกับส่วนที่มีพื้นที่มากแล้ว พื้นที่น้อยสามารถเกิดแรงกดได้มากกว่า จึงได้แรงกดดันที่สูงและแน่นอนกว่า

3.การประกบมือซ้ายและมือขวา ทำท่าพนมมือไว้ที่หน้าอก ช่วยให้เส้นไขสันหลังยืดตรงไปเอง ร่างกายที่เคยบิดเบี้ยวจะถูกแก้ไขให้เข้าที่โดยอัตโนมัติ ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก

4.เมื่อเราขยับนิ้ว สมองจะขยับด้วย การออกกำลังกายด้วยโยคะนิ้วจะช่วยป้องกันไม่ให้สมองฝ่อได้

 

วิธีฝึกโยคะนิ้วขั้นพื้นฐาน

1.พนมมือ

ยืนกางขาให้ห่างกันประมาณความกว้างของสะโพก ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ยืดหลังให้ตรง ประกบฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากันไว้ที่กึ่งกลางอก หายใจ 2-3 ครั้ง ผ่อนคลายทั้งกายและใจ

 

2.กางนิ้วมือ

ประกบฝ่ามืออยู่เช่นเดิม ค่อยๆ กางนิ้วมือ พยายามให้เกิดช่องว่างแต่ละนิ้วให้มากที่สุด

 

3.กางศอกออกทั้งสองข้าง

ผ่อนคลายบ่าทั้งสองข้าง ไม่เกร็ง ค่อยๆ กางศอก ให้ข้อศอกทั้งสองข้างชี้ออกไปด้านข้างและยกสูงขึ้น ลดระดับฝ่ามือลงเล็กน้อย พร้อมๆ กับแยกฝ่ามือออกจากกันเหลือเพียงปลายนิ้วทั้งห้าแตะกันอยู่เช่นเดิมแล้วนิ่งไว้ ปล่อยลมหายใจออกทางจมูกให้สุด

 

4.ท่าพื้นฐานคือท่านี้

ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างสัมผัสกันไว้ ทำมือเป็นรูปพีระมิดค้ลายๆ กับกำลังพยุงลูกบอลกลมๆ ที่มองไม่เห็น

 

5.นิ้วกับนิ้วดันกันไว้

ออกแรงดันนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าหากัน สร้างแรงกดขึ้นที่ปลายนิ้วแล้วหายใจลึกๆ “หายใจเข้า หายใจออก” 3 ครั้ง ปล่อยปลายนิ้วจากกัน ปล่อยแขนลง หายใจออก ผ่อนคลายบ่า แขนและนิ้วมือทั้งสองข้างตามสบาย

ทำตามขั้นตอน 1 ถึง 5 นับเป็น “1 เซต” ทำ 3 เซต แนะนำให้ทำตอนเช้า 3 เซต กลางวัน 3 เซต ค่ำ 3 เซตโดยเริ่มทำช่วงละ 1 เซตก่อน เมื่อทำได้คล่องจึงค่อยๆ เพิ่มจนครบ 3 เซต

การฝึกโยคนิ้วขั้นพื้นฐานจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น คืนความมั่นคงให้แก่จิตใจ และบรรเทาความเหนื่อยล้าสะสม

 

ความสัมพันธ์ระหว่างนิ้วมือและส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อเข้าใจหลักของโยคะนิ้วขั้นพื้นฐานแล้ว คราวนี้ลองมาบริหารนิ้วมือเฉพาะจุดกันบ้าง คือต้องการให้อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใดดีขึ้นก็เลือกฝึกโยคะนิ้วท่านั้นตามแต่สภาพร่างกายของเรา โดยแต่ละนิ้วจะเชื่อมกับส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนี้

 

นิ้วโป้ง – ใบหน้า ลำคอ

ปัญหาผิวพรรณต่างๆ ใบหน้าหย่อนคล้อยหรือบวม อาการตัวเย็ก อาการปวดประจำเดือน อาการวัยทอง ผมร่วง ผมบาง

 

นิ้วชี้ – แขน บ่า อก

กระเพาะอาหารอักเสบและอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รับประทานอาหารมากเกินไป เมาค้าง บ่าและคอตึงแข็ง หอบหืด

 

นิ้วกลาง – สมอง หลัง ท้อง

อาการนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หลงลืม มีปัญหาเรื่องความจำ ปวดบั้นเอว

 

นิ้วนาง – ท้องส่วนล่าง

ท้องผูก ปัสสาวะบ่อยหรือท้องเสียจากภาวะเครียด โรคที่เกี่ยวกับสตรี

 

นิ้วก้อย – ขาทั้งสองข้าง (ตั้งแต่โคนขาไปถึงฝ่าเท้า)

อาการบวมของร่างกายครึ่งล่าง ปวดเมื่อยข้อเข่า เท้าชา

 

สามารถติดตามท่าโยคะนิ้วเฉพาะจุดได้ในหนังสือ โยคะนิ้ว

เขียนโดย นายุมิ ฟุคะโบริ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

โยคะลดพุง แค่ 3 ท่านี้ ก็หุ่นสวย หุ่นดี เอวคอดกิ่ว เอวเอส ด้วยโยคะ

3 ท่าลดต้นขา ท่าโยคะลดความอ้วนที่จะช่วยให้ขาเรียวสวย เห็นผลใน 1 เดือน

5 ท่ายืดเหยียด คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย เพื่อสุขภาพที่ดี

หลักการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี

อาการวัยทอง ปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า