พูดต่อหน้าคนเยอะๆ

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ

สิ่งที่ต้องทำเมื่อต้อง พูดต่อหน้าคนเยอะๆ อันดับแรกๆ นั่นคือการเขียนเนื้อหา จากนั้นจึงพูด แต่กระบวนการจัดระเบียบความคิดที่จะมาแนะนำนี้จะช่วยให้การพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น

มาดูกันว่าเมื่อต้อง พูดต่อหน้าคนเยอะๆ ควรเตรียมตัวอย่างไร

 

พูดให้ใครฟังและพูดทำไม

นักพูดมือใหม่มักกำหนดหัวข้อหรือคำพูดที่ตัวเองอยากพูด แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรกคือ “วิเคราะห์คนฟัง” การพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ไม่ใช่การพูดคนเดียว แต่เป็นการส่งต่อความคิดไปสู่ผู้ฟังและสื่อสารกัน ดังนั้นผู้พูดจะต้องเริ่มจากการคิดว่า “จะพูดให้ใครฟัง” และ “ทำไมถึงต้องพูด” เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การพูดต่อหน้าคนหมู่มากล้มเหลวคือ ไม่ได้วิเคราะห์ผู้ฟังอย่างถูกต้อง

วิธีวิเคราะห์ผู้ฟังแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

1.มองให้ออกว่าผู้ฟังคือใคร

สมมติว่าผู้ฟังคือนักเรียน คุณต้องแบ่งแยกว่าเป็นนักเรียนแบบไหน เช่น ชั้นประถม ชั้นมัธยมต้น ชั้นมัธยมปลาย นักศึกษาปริญญาตรี ฯลฯ และแบ่งแยกย่อยออกเป็นชั้นปี เช่น ประถม 1 ไปเรื่อยๆ

การแบ่งแบบนี้จะทำให้รู้ว่าระดับสติปัญญาของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกัน ความสนใจและจุดประสงค์ก็ต่างกันด้วย เช่น นักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 6 คงสนใจการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่านักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เป็นต้น

 

2.ส่งต่อข้อความที่จำเป็นต่อผู้ฟัง

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมต้องพูดให้พวกเขาฟัง วิธีนี้จะเป็นการคิดถึงเหตุผลว่าทำไมผู้ฟังต้องฟังสิ่งที่คุณพูด ตัวอย่างเช่น การพูดเกี่ยวกับการอ่านให้พนักงานในออฟฟิศฟัง เหตุผลที่ต้องจัดกิจกรรมนี้เพราะ “การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพนักงานออฟฟิศ” “ต้องการให้พนักงานเรียนรู้วิธีอภิปรายให้เก่งจากการอ่าน” ฯลฯ

ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าต้องพูดอะไร ลองคิดดูก่อนว่า ฉันจะพูดให้ใครฟังและพูดไปทำไม แล้วคุณจะตัดสินใจได้เองว่าต้องพูดอะไร

กำหนดหัวข้อด้วยคำเดียว

หากคุณกำหนดคำพูดที่ต้องการพูดเป็นคำเดียวได้ เท่ากับว่าคุณเตรียมการพูดไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว เพราะรายละเอียดส่วนอื่นๆ ของการพูดนั้นเป็นการขยายคำเดียวให้ชัดเจนและสมบูรณ์แบบมากขึ้น

เวลาคิดคำหลัก ไม่ต้องคิดว่าจะใช้คำดีๆ แต่ให้เขียนในมุมมองที่หลากหลายอิสระ ถ้าไม่เกี่ยวกับหัวข้อก็ควรทิ้งไปแล้วหาคำใหม่ เวลาคิดหัวข้อ คุณต้องคิดไอเดียให้มากที่สุดแล้วจดไว้ เพราะอาจนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมโยงกับไอเดียอื่นๆ จนกลายเป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยมได้

 

จดรายการคำถามแล้วเรียงโครงเรื่อง

ถ้ากำหนดหัวข้อการพูดเป็น “การอ่าน” ให้เริ่มจากจัดเรียงโครงเรื่องเกี่ยวกับการอ่านอย่างคร่าวๆ ซึ่งช่วยขยายหัวข้อการพูดให้ชัดเจนขึ้นด้วยวิธี “การตั้งคำถาม” ตัวอย่างเช่น ถ้าบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับ “การอ่านเพื่อการเติบโต” ก็จดรายการคำถามที่เกี่ยวข้องกับในมุมมองที่หลากหลาย แล้วนำมาเรียงตาม “ลำดับที่ฉันอยากพูด” และ “ลำดับที่ผู้ฟังสงสัย” ตัวอย่างเช่น

 

1.ต้องอ่านเมื่อไหร่ -> ช่วงเวลาที่เหมาะกับการอ่าน

2.ใครจำเป็นต้องอ่าน -> บุคคลเป้าหมายที่จำเป็นต้องอ่าน

3.ทำไมต้องอ่าน -> จุดประสงค์ในการอ่าน

4.ต้องอ่านหนังสือประเภทไหน -> ประเภทของหนังสือ

5.ต้องอ่านหนังสืออย่างไร -> วิธีอ่านหนังสือ

6.ผลของการอ่านมีอะไรบ้าง -> ประสิทธิภาพของการอ่าน

เหตุผลที่ต้องใช้ตัวเลขมาจัดละดับ เพราะจะช่วยให้รู้ได้ทันทีว่าตอนนี้ถึงคำถามไหนแล้ว เมื่อกำหนดลำดับเสร็จ ลองจัดเรียงโครงเรื่องสำหรับการพูดแบบคร่าวๆ จะช่วยให้พูดลื่นไหลมากขึ้น

 

ทำสารบัญ

ต้องแบ่งสารบัญเป็น “ส่วนนำ เนื้อเรื่อง และส่วนสรุป” และต้องเข้าใจบทบาทของแต่ละส่วนให้ดีเสียก่อน ซึ่งแต่ละส่วนมีเพื่อให้โครงสร้างของการพูดสมบูรณ์แบบ ในแต่ละส่วนมีจุดที่ต้องระมัดระวังดังนี้

ส่วนนำ : ต้องบอกให้รู้ถึงปัญหา และอธิบายจุดประสงค์ของการพูดในครั้งนี้ โดยต้องสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ฟังสนใจให้ได้

เนื้อเรื่อง : เป็นสาระสำคัญในการพูด ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่ต้องสอดคล้องกับหัวข้อ

ส่วนสรุป : เป็นการจัดระเบียบและย่อเนื้อเรื่องเพื่อบอกถึงมุมมองในอนาคต และปิดท้ายด้วยข้อความที่น่าประทับใจ

 

ยกตัวอย่างที่หลากหลาย

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการหาตัวอย่างมาช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้เนื้อหา โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้ออยู่เรื่อยๆ โดยแบ่งแหล่งข้อมูลเป็น 3 แหล่ง แต่ละแหล่งมีจุดเด่นและข้อควรระวังต่างกันไปดังนี้

1.ข้อมูลที่คนอื่นทำไว้

แหล่งข้อมูลที่คนอื่นทำไว้ หลักๆ คือหนังสือ ถ้าเจอหนังสือดีๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่จะพูด คุณจะได้ข้อมูลและความรู้จำนวนมากในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีคอนเทนต์อื่นๆ เช่น ละคร ภาพยนตร์ และคลิปต่างๆ ด้วย

จุดเด่นคือหาง่าย แต่ก็มีความคิดเห็นส่วนบุคคลค่อนข้างมาก จึงต้องแยกความคิดเห็นส่วนบุคคลออกมาให้ได้ และควรบอกที่มาให้ชัดเจนจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์

 

2.ข้อมูลจากสถานที่จริง

ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ “ข้อมูลจากสถานที่จริง” จ้อควรระวังเวลาเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงคือ ต้องยึดมั่นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและชัดเจนในบรรทัดฐาน

 

3.สิ่งที่เรามีอยู่

ข้อมูลที่เราดูมีความเชี่ยวชาญมากที่สุดคือข้อมูลจากสิ่งที่เรามีอยู่ เพราะเป็นข้อมูลที่เราได้มาแล้วนำมารวมกับจินตนาการ ความคิด และประสบการณ์ของตัวเอง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทำเป็นข้อมูลทั่วไปได้ยาก ถ้าต้องการพูดถึง คุณต้องสร้างความรู้สึกร่วมกับผู้ฟังขึ้นมาให้ได้ กลับกัน เวลาฟังประสบการณ์ของคนอื่น เราจะต้องเคารพความเชี่ยวชาญของเขาด้วย

ถ้าจัดโครงสร้างให้มีเหตุผลแล้ว การสร้างบทพูดก็จะเป็นเรื่องง่ายเพราะมีโครงสร้างที่มีเหตุผล เวลาคิดเนื้อหาที่จะพูดต่อก็จะไม่หลงทาง ทำให้การพูดของคุณน่าสนใจ น่าเชื่อถือ และลื่นไหลอย่างแน่นอน

 

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

เทคนิคโน้มน้าวใจคน ด้วยการพูดเพียงครั้งเดียว

เทคนิคการใช้น้ำเสียงให้น่าฟัง และเหมาะสมกับสถานการณ์

4 เทคนิคสร้างสัมพันธ์เมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า

3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

เทคนิคการตั้งคำถาม ที่จะทำให้ได้คำตอบที่ต้องการ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า