สาเหตุของ PMS อาการหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน และวิธีรักษา

อาการ PMS จะเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงจำนวนหนึ่งจะมีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ง่วงนอน รับประทานอาหารเยอะผิดปกติ ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดหน้าอก และท้องผูก แต่หลังจากมีประจำเดือน ความทรมานทั้งหมดจะหายไป นี่เป็นอาการทั่วไปของ PMS

แต่ก็มีบางคนที่มีอาการทางใจรุนแรงมาก จนถึงขั้นเป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม เช่น คนที่มีอารมณ์พุ่งสูง เหวี่ยงวีนคนในครอบครัวและผู้ร่วมงาน โมโหหรืออยากร้องไห้ต่อหน้าผู้อื่น กินอาหารในตู้เย็นจนหมดเพราะรู้สึกอยากอาหารมากเกินไป อาการเหล่านี้เรียกว่า “กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน หรือ PMDD” จัดเป็นอาการPMS ขั้นรุนแรง

มาดูกันว่า PMS เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีวิธีที่ไหนที่ช่วยรักษาได้บ้าง

 

PMS เกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของการเกิดขึ้นคือ ฮอร์โมนเพศหญิง ที่ทำงานเป็นปกติ และยังเป็นหลักฐานว่าไข่ตกเป็นปกติอีกด้วย หลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์จะมีการตกไข่ หลังจากตกไข่ ถุงไข่ที่ห่อหุ้มไข่เอาไว้จะเปลี่ยนเป็น คอร์ปัสลูเทียม แล้วโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงจะเริ่มหลั่งออกมาในปริมาณมาก

แม้ยังไม่รู้กลไกที่ทำให้เกิด PMS อย่างละเอียด แต่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำหน้าที่กักเก็บน้ำ จึงทำให้มีอาการบวมน้ำ คัดหน้าอก หรือท้องผูก ในทางกลับกัน เมื่อประจำเดือนมา ปริมาณของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงอย่างรวดเร็ว อาการจึงหายไปในพริบตา

 

ทำไมบางคนถึงไม่มีอาการ

สาเหตุที่บางคนไม่มีอาการ บางคนมีอาการมาก และบางคนมีอาการน้อย เป็นไปได้ว่ามาจาก “ความแปรปรวนของฮอร์โมน” ทำให้ผู้ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของฮอร์โมนเกิดอาการไม่สบายได้ง่าย และอาจเป็นเช่นเดียวกันกับอาการในวัยหมดประจำเดือน เพราะในหลายประเทศมีการศึกษาหลายชิ้นยืนยันว่าอาการPMS กับอาการในวัยหมดประจำเดือนนั้นมีความสัมพันธ์กัน และผู้ที่มีอาการPMS มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือน

 

วิธีดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการ

สิ่งที่ทำได้เร็วที่สุดคือ “บันทึกอาการ” จดบันทึกว่ามีอาการแบบใด เกิดขึ้นเมื่อไร รุนแรงแค่ไหน นานเท่าไร เมื่อบันทึกไปประมาณสองเดือน เราจะรู้รูปแบบการเกิดอาการPMS ของตนเอง และหากรู้ว่าอาการจะรุนแรงขึ้นตั้งแต่วันไหนก่อนมีประจำเดือน ก็สามารถรับมือได้ทัน เช่น ไม่นัดงานสำคัญในช่วงนั้น

อาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงไม่ควรรับประมานอาหารเยอะเกินไป เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และตกลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ในเวลานั้นจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด มีความแปรปรวนทางอารมณ์ หรือมีความอยากอาหารมากขึ้น จนทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้นควรลดของหวานแล้วรับประทานอาหารมื้อหลักอย่างเหมาะสมจะดีกว่า

สิ่งที่ควรกินเป็นประจำคือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เพราะมีรายงานว่า การที่ร่างการได้รับไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองจะช่วยบรรเทาอาการPMS เช่น อาการปวดศีรษะ คัดหน้าอก ไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองทำงานคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จะช่วยลดความแปรปวนของฮอร์โมนได้

 

วิธีรักษาอาการ PMS

เราสามารถรักษาอาการของPMS ได้ด้วย 2 วิธีหลัก คือ รักษาด้วยฮอร์โมน และแพทย์แผนจีน

การรักษาด้วยฮอร์โมนคือ การกินยาที่ประด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในระดับต่ำ (ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด เป็นการหยุดการตกไข่ ซึ่งจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยลดความแปรปรวนของฮอร์โมนเพศหญิงลง จึงทำให้อาการสงบลง

ผู้ที่มีความทรมานจากอาการควรปรึกษาแพทย์ที่แผนกสตินรีเวช วิธีรักษาด้วยฮอร์โมนอาจมีผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ เลือดออกผิดปกติ ปวดศีรษะ หรืออาจเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ยาอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์

แพทย์แผนจีนเองก็สามารถรักษาอาการPMS ได้เช่นกัน สมุนไพรจีนที่นิยมใช้คือ ยาเจียเว่ยเชียวหยาวส่าน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบรรเทาความหงุดหงิด กังวล ภาวะปวดประจำเดือน และเป็นยาตัวหลักที่มักใช้กับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังมี ตุงกุยสาวหยาวส่าน ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน และลดอาการบวมน้ำ

แต่ในกรณีที่มีอาการทางใจรุนแรงอย่าง PMDD การใช้ “ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับเซโรโทนิน” ซึ่งเป็นยาต้านโรคซึมเศร้าจะเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง ยานี้มีหน้าที่ในการทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อ เซโรโทนิน ซึ่งทำงานอยู่ในสมองมีประมาณเพิ่มขึ้น แต่เดิมอาการ PMDD อยู่ในการจัดการของแผนกจิตเวช เพราะจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการ PMDD จะต้องกินยาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง หรือกินก่อนมีประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาที่แผนกจิตเวชด้วยก็ได้เช่นกัน

 

ข้อมูลจากหนังสือ รู้จริงเรื่องฮอร์โมน สุขภาพดีจริงตลอดชีวิต

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

เคล็ดลับการเลือกกินที่ทำให้หน้าอ่อนเยาว์ ดูเด็กกว่าอายุจริง

เทโลเมียร์ ยิ่งยาวยิ่งดี! เคล็ดลับความอ่อนเยาว์ที่เราสร้างเองได้

8 ความเข้าใจผิดเรื่องการบำรุงผิว และวิธีบำรุงผิวที่ถูกต้อง

อาการวัยทอง ปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ

เทคนิคง่ายๆ เพิ่มฮอร์โมนชะลอวัย ผิวสวยหน้าใส ห่างไกลความแก่

This entry was posted in Health and tagged .

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า