หลักการกินอาหาร

หลักการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี

หลักการกินอาหาร ที่ถูกต้อง เราต้องเข้าใจการทำงานของร่างกาย ก่อนที่จะเลือกอาหารสักชนิดเข้าปาก เพราะสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการกินของเรา

มาดูกันว่า หลักการกินอาหาร ที่เหมาะสมต่อร่างกายมีอะไรบ้าง

 

คาร์โบไฮเดรตคือต้นเหตุของความอ้วน

ถ้าคุณหิวจัดแล้วเลือกกินอาหารได้ 1 อย่าง ระหว่างเสต๊กหมูชิ้นโตกับบะหมี่เย็น คุณคงเลือกบะหมี่เย็นเพราะคิดว่ากินบะหมี่แค่ก้อนเดียวยังดีกว่าต้องกินเสต๊กทั้งถาด

นั่นเป็นความคิดที่ผิด! การกินบะหมี่ก้อนเดียวไม่ได้ทำให้ผอมลง ขณะที่กินเนื้อสัตว์กับผักจนอิ่มพุงกางกลับไม่ทำให้อ้วนขึ้น แถมยังผอมลงด้วยซ้ำ ดูเหมือนย้อนแย้ง แต่มันเป็นความจริง

แค่กินข้าวอย่างเดียวก็ทำให้อ้วนขึ้น แต่กลับไม่มีใครอ้วนจากการกินเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่ทอดด้วยน้ำมันจนท่วม หากลดการกินอาหารจำพวกแป้ง น้ำหวาน และน้ำอัดลมได้ ก็จะหลุดพ้นจากความอ้วนและโรคภัยสารพัดชนิด

 

แคลอรีไม่เกี่ยวข้องกับความอ้วน

ทุกวันนี้คนรูปร่างอวบมักได้รับคำแนะนำจากนักโภชนากรหรือแพทย์ให้จำกัดแคลอรีในการกินอาหาร

เมื่อลองทำตามอย่างเคร่งครัดเพื่อหวังว่าจะผอมลง ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นคนละเรื่อง แถมยังต้องทรมานกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาอีกต่างหาก นักโภชนากรที่หมกมุ่นกับการควบคุมแคลอรี มักบอกว่า “ต้องลดปริมาณแคลอรีของอาหารที่กินในแต่ละวันให้น้อยกว่าปริมาณแคลอรีที่นำไปใช้จึงจะผอมลง” หากเป็นเช่นนี้จริง นักดื่มคงอ้วนทุกคน เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแคลอรีสูง

กลไกของมนุษย์ซับซ้อนยิ่งกว่านั้น นักดื่มบางคนดื่มวิสกี้ครั้งละครึ่งขวดต่อเนื่องทุกวันแต่กลับผอม ทั้งที่วิสกี้ครึ่งขวดให้พลังงานกว่า 800 กิโลแคลอรี ความจริงที่คุณไม่ได้สนใจก็เพราะว่า วิสกี้ไม่มีคาร์โบไฮเดรตแฝงอยู่เลย แต่คนส่วนใหญ่ไม่ดื่มอย่างเดียว แต่กินอาหารอย่างอื่นแกล้มไปด้วย หรือการดื่มเบียร์คู่กับเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตแฝงอยู่ด้วยจึงทำให้น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

กินขนมหวานตอนหมดแรง ยิ่งแย่ลง

หลายคนคิดว่าเวลาเหนื่อยจากการทำงาน หรือหลังจากออกกำลังกาย ต้องกินอะไรหวานๆ ถึงจะรู้สึกดีขึ้น แต่ไม่มีใครรู้เหตุผลว่าเป็นเพราะอะไร บางคนคิดว่ารู้สึกเหนื่อยเพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ พอกินให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นก็คงจะหายอ่อนเพลียได้

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นจะเกิดความรู้สึก “มีความสุข” เพียงระยะเวลาหนึ่ง แต่ระดับน้ำตาลที่พุ่งขึ้นสูงนี้จะตกลงราวกับดื่งลงเหว ซึ่งส่งผลตามมา เช่น หงุดหงิด คลื่นไส้ ง่วงซึม เป็นต้น การกินของหวานเพื่อสลัดอาหารเหนื่อยล้า อาจกลายเป็นว่ายิ่งเพลียหนักกว่าเดิม

การหาของหวานกินอยู่เสมอเมื่อรู้สึกเหนื่อย วงจรความอยากน้ำตาลก็จะวนไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่ภาวะติดหวาน ต้นทางของโรคภัยสารพัดชนิด ก่อนจะกินของหวานครั้งต่อไป จงคิดอย่างถี่ถ้วน

 

สาหร่ายและเห็ด ของกินโลว์คาร์บ ไฮไฟเบอร์

สาหร่ายและเห็ดเป็นอาหารที่เหมาะกับคนควบคุมน้ำหนัก นอกจากอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดแล้ว กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เพราะคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก เช่น สาหร่ายวากาเมะ สาหร่ายคอมบุ และเห็ดหอม

เส้นใยอาหารในเห็ดและสาหร่ายจะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ป้องกันอาหารท้องผูก และยังทำหน้าที่ขับเกลือและสารปนเปื้อนออกจากร่างกาย พร้อมกับรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ให้เป็นปกติ บำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้มีสุขภาพดี

หากลองสังเกตจะพบว่าเวลาที่กินเมนูที่มีเห็ดหรือสาหร่ายเป็นส่วนผสมหลัก กระเพาะจะใช้เวลาย่อยนาน การดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือดจึงช้าตามไปด้วย ในช่วงควบคุมน้ำหนัก หากรู้สึกเบื่อเมนูผักแบบเดิมๆ เช่น ผัดผัก หรือสลัดผัก ลองเปลี่ยนมาเป็นเมนูที่ทำจากสาหร่ายและเห็ดก็ได้ประโยชน์ไม่ต่างกัน

 

ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร

ถ้าอยากผอมลงต้องดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2 ลิตร วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการลด ความเข้มข้นของเลือดและน้ำตาลในกระแสเลือด เพียงเท่านี้ก็สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้ว

เรามักได้ยินผู้ป่วยโรคเบาหวานบ่นบ่อยๆ ว่า “คอแห้ง และรู้สึกหิวน้ำตลอดเวลา” ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลงนั่นเอง นอกจากนี้ การดื่มน้ำมากๆ ยังส่งผลดีต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ที่ต้องอาศัยน้ำปริมาณมาก แถวยังช่วยชำระล้างของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย

 

ข้อมูลจากหนังสือ สุดยอดวิธี กินดีไม่มีป่วย

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

น้ำตาลอันตรายกว่าที่คิด! ผลเสียของการกินรสหวาน มากเกินไป

วิธีป้องกันและควบคุม NCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด เผาผลาญดี ไม่มีอ้วน

วิธีปกป้องตับด้วยการกิน ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นโรคตับได้

อาหารที่ควรกินและหลีกเลี่ยง เมื่อต้องการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาหารเพื่อสุขภาพ :กินแล้วผอมจริงหรือ

อาหารลดคอเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจ ควรกินอะไรและกินอย่างไร

ความเชื่อผิดๆ ที่ทำลายระบบเผาผลาญ : กินแบบนี้ถึงได้อ้วน

1 thoughts on “หลักการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี

  1. Pingback: อาหารลดไขมันในเลือด กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค NCDs

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า