เคล็ดลับการนอนฉบับสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งด้านการนอนหลับ

เคล็ดลับการนอน ที่จะมาแนะนำนี้ เป็นการแก้ปัญหาการนอนตามแบบฉบับของสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งของโลกด้านการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นนอนเยอะแต่ง่วง นอนไม่หลับในตอนกลางคืน และปัญหาการนอนในด้านต่างๆ

ลองมาดูกันว่า เคล็ดลับการนอน ที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้ มีอะไรบ้าง

การนอนมาก ไม่ใช่สุดยอดของการนอนหลับ

คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะเครียดจากการนอนหลับ เช่น ง่วงระหว่างวัน สมองตื้อ ตื่นเช้าไม่ไหว และนึกแค่ว่า “ฉันจะต้องนอนให้มากขึ้น” แต่การนอนให้ได้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น มากกว่าที่เป็นอยู่แทบปฏิบัติไม่ได้จริงสำหรับผู้คนในยุคปัจจุบันที่ทุกวันมีแต่ความเร่งรีบ และคนที่สามารถเข้านอนก่อนเที่ยงคืน และหลับสนิทตลอดคืนไม่น่าจะมีมากนัก แค่สารพัดเรื่องที่ต้องทำและเรื่องที่อยากทำ ไม่ว่าจะเป็นงาน งานบ้าน งานอดิเรก ก็แทบไม่มีเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นลืมเรื่องการนอนแบบเต็มที่ไปได้เลย

ต่อให้มีเวลานอนเหลือเฟือ หรืออยากกลิ้งบนเตียงนอนมากแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ต้องเจอปัญหามากมายเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนเท่าไรก็ไม่หายเหนื่อย

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานยืนยันว่า การนอนนานเกินไปส่งผลร้ายต่อร่างกายด้วย สรุปได้ว่า ความกลัดกลุ้ม ความเครียด ล้วนเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มปริมาณการนอน เพราะการนอนมากยังไม่ใช่สุดยอดของการนอนหลับ

 

กฎทอง 90 นาที ที่ค้นพบในสแตนฟอร์ด

คุณภาพการนอนหลับตัดสินกันที่ 90 นาทีแรกนับตั้งแต่เริ่มหลับ หากคุณภาพการนอนหลับใน 90 นาทีแรกดี การนอนหลับช่วงที่เหลือก็จะดีตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าการนอนหลับในช่วงแรกสะดุด ต่อให้พยายามนอนนานเท่าไร ระบบประสาทอัตโนมัติก็ยังคงรวน การหลังฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมระหว่างวันก็เกิดการปั่นป่วน

แม้จะยุ่งจนไม่มีเวลาสักแค่ไหน แค่หลับให้สนิทใน 90 นาที ก็จะพบว่าคุณสามารถนอนหลับได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่นอนเยอะหลายชั่วโมงเสียอีก

 

หนี้สินการนอนทำให้ชีวิตสั้นลง

หนี้สินจากการนอนหรือการอดนอนทบกันหลายๆ คืน ส่งผลเสียต่อสมองและร่างกายอย่างมาก จากการสำรวจคนจำนวน 1,000,000 คน โดยดาเนียล เอฟ. คริปเป้ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่าชาวอเมริกันใช้เวลานอนเฉลี่ย 7.5 ชั่วโมง จากการสำรวจติดตามผลกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิมใน 6 ปีให้หลัง พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตต่ำสุดคือกลุ่มคนที่นอนเฉลี่ยเกือบ 7 ชั่วโมง และหากใช้คนกลุ่มนี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานก็จะสรุปได้ว่า คนที่นอนน้อยกว่าหรือมากกว่านี้มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 1.3 เท่าในอีก 6 ปีให้หลัง

“ฝืนนอนน้อยทั้งที่พันธุกรรมไม่ให้”

“นอนเยอะเกินเพราะคิดว่านอนมากๆ ถึงจะดี”

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้มาโดยตลอด ขอให้ระวังเอาไว้ เพราะนั่นอาจหมายถึงว่าคุณกำลังทำลายสุขภาพของตนเอง!

 

หลับให้ลึกใน 90 นาทีแรก

คนเราไม่ได้นอนหลับสนิทตลอดตั้งแต่หลับจนลืมตาตื่น การนอนหลังแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย หลับฝัน (REM : สมองยังตื่น แต่ร่างกายหลับ) และ หลับธรรมดา (Non-REM : สมองและร่างกายอยู่ในภาวะหลับ) โดยจะหมุนวนสลับกันไปแบบนี้เรื่อยๆ

สิ่งที่มาเยือนก่อนทันทีหลังเข้าสู่ภาวะการนอนหลับคือการหลับธรรมดา และการหลับธรรมดาในช่วง 90 นาทีแรกเป็นการนอนหลับที่ลึกที่สุดของช่วงเวลาทั้งหมด และการปลุกคนที่เข้าสู่การนอนหลับระยะนี้เป็นเรื่องยากมาก หรือต่อให้ตื่นขึ้นมาจริง สมองก็จะงุนงงไม่ปลอดโปร่ง

จากนั้นการหลับฝันชุดแรกจะเริ่มต้นเมื่อผ่านพ้นเวลาประมาณ 90 นาทีหลังเข้านอน ในช่วงนี้จะพบการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ อย่างรวดเร็วของดวงตา หรือดวงตาจะขยับเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็วอยู่ภายใต้เปลือกตา ฝันเห็นเรื่องราวต่างๆ (ค่อนข้างสมจริง) แม้จะอยู่ในช่วงหลังฝันไม่มีสติ แต่กลับปลุกให้ตื่นได้ง่ายกว่าการนอนหลับแบบธรรมดา

การซ่อมบำรุงร่างกายด้วยการนอนหลับจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทำให้หลับธรรมดาช่วงแรกลึกได้มากเพียงใด ขอแค่สามารถหลับสนิทในช่วงเวลาดังกล่าว จังหวะการนอนหลับลำดับถัดมาก็จะเข้ารูปเข้ารอย ระบบประสาทอัตโนมัติและการหลั่งฮอร์โมนก็จะทำงานได้อย่างราบรื่น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ของวันรุ่งขึ้นดีตามไปด้วย

 

ข้อมูลจากหนังสือ หลับดีมีคุณภาพด้วยเคล็ดลับฉบับสแตนฟอร์ด


วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีแก้ง่วงตอนเช้า เข้านอนหัวค่ำแต่ทำไมตอนเช้ายังง่วงอยู่

เคล็ดลับสร้างบรรยากาศในห้องนอน : ถ้าหลับมีคุณภาพก็ลดน้ำหนักได้ผลดี

เคล็ดลับนอนให้ผอม แค่นอนดีก็ลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัมภายใน 1 เดือน

โรคและความผิดปกติที่มาพร้อมกับการนอนดึก นอนไม่พอ อดนอน

นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า