หลายคนชอบ นอนดึก เล่นเกม ดูซีรี่ส์ จนดึกดื่น หรือกระทั่งการ อดนอน อยากนอนแต่ยังนอนไม่ได้เพราะมีภารกิจที่ต้องทำอย่าง ทำงานหามรุ่งหามค่ำ อ่านหนังสือสอบ รู้ไหมว่าการนอนดึกเป็นกิจวัตรประจำวันแบบนี้ส่งผลให้เราป่วยเป็นโรคหลายโรคเลยทีเดียว
มาดูกันว่าพฤติกรรมนี้จะส่งผลเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง
ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
การนอนดึกหรืออดนอนทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน สมองจึงหลั่งฮอร์โมนเกรลินที่เกี่ยวกับความหิวและความอยากอาหาร จึงมีผลทำให้คนที่ชอบนอนดึกหรืออดนอน หิวปกติและอยากกินนู่นกินนี่ตลอดเวลา
ปัจจุบันพบว่าความอ้วนที่เกิดจากการนอนดึกพบได้บ่อยขึ้นในคนอายุน้อย หรือวัยกลางคนมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ เพราะการที่ร่างกายอยู่ในสภาวะตื่นเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น เราจึงรู้สึกอยากกินมากขึ้นไปอีก ส่วนปัจจัยเสริมอย่างอื่นเช่น ดูทีวีรอบดึก ก็มีผลอยากให้กินอาหารหรือขนมคบเคี้ยวมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โรคเบาหวาน
การนอนดึกหรือนอนไม่พอทำให้เกิดความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ ทำให้เราต้องกินมากขึ้น และเมื่อผู้เป็นเบาหวานนอนไม่พอ จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 23
ระบบภูมิคุ้นกันต่ำลง
สังเกตได้ว่า หลังจากที่เรานอนดึกติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น อ่านหนังสือสอบ ทำงานจนดึกดื่น ร่างกายจะไม่ค่อยแข็งแรงและป่วยในที่สุด นั่นเป็นเพราะเมื่อร่างกายไม่ได้พักผ่อนฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกายที่จะออกมาช่วงที่เรานอนหลับก็จะออกมาทำงานไม่ได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง จนเป็นหวัดได้ง่าย
ความดันโลหิตสูง
ข้อมูลจากสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยเผยว่า การนอนไม่เพียงพอ นอนดึก โดยเฉพาะการนอนกรนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่วิจัยชั่วโมงการนอนหลับและความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่อายุ 40 ปี จำนวน 578 คนพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงจะมีความเสียงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น เพราะการนอนดึกทำให้ระดับฮอร์โมนเครียด หรือคอร์ติซอลสูงขึ้น จนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย
โรคหัวใจ
ข้อมูลจากสถาบันการนอนหลับแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ซึ่งมีประวัตินอนน้อยกว่าหกชั่วโมงมีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันสูงกว่าคนที่นอนมากกว่าหกชั่วโมงถึงสองเท่า
สาเหตุเกิดจากเมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีปัญหาด้านการเผาผลาญพลังงานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมักตื่นกลางดึกและนอนไม่พอ มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนทั่วไป
ผิวหนังมีปัญหา
เมื่อเราเข้านอนดึกซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายไม่หลั่งโกร๊ธฮอร์โมนหรือหลั่งน้อยลง ร่างกายจะไม่ได้รับฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายและทำให้ดูเด็ก และยังไม่ได้รับเมลาโทนินที่สร้างมากที่สุดในช่วงเวลากลางคืนขณะที่เรานอนหลับ ถ้าอดนอนหรือนอนน้อยก็จะทำให้การสร้างเมลาโทนินลดลง ทำให้เกิดการอักเสบหรือภูมิแพ้ของผิวหนังได้ง่ายขึ้น
บทความใกล้เคียง
นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า
ข้อมูลจากหนังสือ นอนถูกวิธี สุขภาพดีตลอดชีวิต
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
Pingback: ผู้ป่วย โรคเบาหวาน “ดูแลตัวเองอย่างไร" "กินอะไรได้บ้าง” โดยนักโภชนบำบัด
Pingback: ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาหารเพื่อสุขภาพ :กินแล้วผอมจริงหรือ
Pingback: 5 สูตร วิตามินบำรุงสายตา จากน้ำผักผลไม้ เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี
Pingback: ทำไม ออกกำลังกายลดน้ำหนัก แล้วยังไม่ผอม :ความเข้าใจผิดเรื่องการลดน้ำหนัก
Pingback: ดีท็อกซ์ล้างพิษ เพิ่มวิตามิน ด้วย สมูทตี้เพื่อสุขภาพ จากผักและผลไม้
Pingback: วิธีบริหารดวงตา ด้วยปากกา 14 วันฟื้นฟูสายตาได้จริง : สายตาดีด้วยวิธีมหัศจรรย์
Pingback: ท่าบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการ ข้อเข่าเสื่อม : แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Pingback: ห้ามกินยากับอะไร อาหารที่ห้ามกินพร้อมยา กินยากับนมไม่ได้จริงหรือ?
Pingback: 6 สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณอาจจะเป็น โรคไต โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต
Pingback: วิธีปกป้องตับด้วยการกิน ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็น โรคตับ ได้
Pingback: เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการพักผ่อนอย่างถูกวิธี
Pingback: เทคนิคการหยุดพัก เรื่องที่ต้องทำ เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น